บอมบาร์ดิเอร์ โมเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลสตอม โมเวีย
A Delhi Metro MOVIA train
Interior of MOVIA 456 for Shenzhen Metro Line 1
ประจำการพ.ศ. 2541–ปัจจุบัน
ผู้ผลิตBombardier Transportation, Alstom (2021–)[1]
ตระกูลMovia
สายการผลิตพ.ศ. 2540–ปัจจุบัน
คุณลักษณะ
ระบบส่งกำลังIGBT– or SiCVVVF
ระบบจ่ายไฟฟ้า
ตัวรับกระแสไฟ
แคร่ล้อ
  • FLEXX Metro 1000[a]
  • FLEXX Metro 2000[b]
  • FLEXX Metro 3000[c]
  • FLEXX Eco[d]
[2]
มาตรฐานทางกว้าง
รถโมเวียที่ใช้งานในรถไฟใต้ดินเดลี
รถโมเวียที่ใช้งานในรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยประกอบที่โรงงานซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์เวฮิเคิลส์ ประเทศจีน

บอมบาร์ดิเอร์ / อัลสตอม โมเวีย (อังกฤษ: Bombardier / Alstom Movia) เป็นตระกูลของรถไฟใต้ดินสร้างโดยบอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์ตเทชัน, อัลสตอม. โดยโครงสร้างและตัวถังปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละระบบที่สั่งซื้อ ไม่เหมือนกับรถไฟใต้ดินแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่พวกเขามักจะมีทางเดินที่มีความกว้างระหว่างตู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินได้ตลอดความยาวของรถไฟ การออกแบบพัฒนาโดย Adtranz ซึ่งซื้อโดยบอมบาร์ดิเอร์ในปี 2001

การใช้งาน[แก้]

ประเทศไทย

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส มีรถไฟฟ้า 41 ขบวน โดยแบ่งออกเป็นรุ่นดังนี้
    • "EMU-B1" จำนวน 12 ขบวน และ "EMU-B2" จำนวน 5 ขบวน รวมทั้งหมด 17 ขบวน ซึ่งลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างอยู่เล็กน้อย ประกอบด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ ส่วน M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3 ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้ารุ่นนี้ให้บริการทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม
    • "EMU-B3" จำนวน 24 ขบวน ออกให้บริการแล้ว 10 ขบวน [หมายเลข 75-84] โดยลักษณะภาพรวมได้ออกแบบให้เหมือนกับรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์ เพียงแต่ไฟ LED บอกสถานีปลายทางของตู้ Tc-Car จะเป็นแบบเดียวกับ EMU-B1 และ EMU-B2 โดยขบวนรถไฟฟ้าทั้ง 3 รุ่น ถูกประกอบที่โรงงานซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์เวฮิเคิลส์ ประเทศจีน ปัจจุบันรถไฟฟ้ารุ่นนี้ให้บริการทั้งสายสีลม และสายสุขุมวิท

ต่างประเทศ

หมายเหตุ[แก้]

  1. London Underground, New York City Subway
  2. Bucharest Metro, Stockholm Metro C20, Toronto subway
  3. Most trains
  4. Stockholm Metro C30

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kanpur
  2. "FLEXX Metro Bogies - The pulse of cities" (PDF). Bombardier Transportation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-19.