บริษัทอินเดียตะวันออก
ตราอาร์ม (1698) คำขวัญ: Auspicio Regis et Senatus Angliae ("ในกำกับของพระเจ้าแผ่นดินแลรัฐสภาอังกฤษ") | |
ประเภท | บริษัทมหาชน รัฐวิสาหกิจบางส่วน[1] |
---|---|
อุตสาหกรรม | การค้าระหว่างประเทศ |
ก่อตั้ง | 31 ธันวาคม 1600 |
ผู้ก่อตั้ง | โทมัส สไมธ์ |
เลิกกิจการ | 1 มิถุนายน 1874 |
สาเหตุ | การค้าระหว่างประเทศ:
|
สำนักงานใหญ่ | อีสต์อินเดียเฮาส์, , บริเตนใหญ่ |
ผลิตภัณฑ์ | ฝ้าย ผ้าไหม สีย้อมคราม เกลือ เครื่องเทศ ดินประสิว ชาและฝิ่น |
บริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ (อังกฤษ: Honourable East India Company) [2] หรือในเวลาต่อมาคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน (British East India Company)[3] เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน และยังมีหน้าที่ปกครองอาณานิคมในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ
เมื่อแรกก่อตั้ง บริษัทได้รับพระราชทานตราตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ให้เป็น "ข้าหลวงแลบริษัทพาณิชย์แห่งลอนดอนซึ่งจักทำการค้าไปยังอินเดียตะวันออก" เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1600[4] บริษัทนี้เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่างพ่อค้าและชนชั้นสูงในอังกฤษ รัฐบาลมิได้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทแต่ก็มีการอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่บริษัท เช่น สนับสนุนกำลังทหารและกองเรือปืน การดำเนินงานของบริษัทมีส่วนแบ่งถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก สร้างรายได้ในรูปแบบภาษีให้แก่รัฐบาลอังกฤษมหาศาล บริษัทเป็นผู้จัดหาสินค้าสำคัญคือ ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, สีย้อมผ้า, เกลือ, ดินประสิว, ใบชา และฝิ่น
ในอินเดียเอง ก็มีนิคมของชาติยุโรปอื่นๆตั้งอยู่เช่นกัน เช่นของประเทศปรัสเซีย(เยอรมัน), เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส แต่ในปี 1740 อังกฤษได้ขัดแย้งกับประเทศปรัสเซียและฝรั่งเศสจากผลของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย การต่อสู้นั้นเกิดขึ้นทั้งในยุโรปและบางส่วนของอินเดีย จักรวรรดิโมกุลเลือกที่จะยืนอยู่ข้างฝรั่งเศสและทำสงครามกับบริษัท อย่างไรก็ตาม กองเรือของบริษัทซึ่งนำโดยพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ สามารถมีชัยเหนือกองทัพราชวงศ์โมกุลและฝรั่งเศส บริษัทจึงเข้าปกครองภาคเบงกอล ต่อมาหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามเจ็ดปี ฝรั่งเศสก็เสียดินแดนพิหารในอินเดียให้แก่อังกฤษ และจำยอมถอนอิทธิพลออกจากอนุทวีปอินเดีย
เดิมที บริษัทมีอำนาจสิทธิขาดในการปกครองอินเดียทั้งหมด แต่เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 บริษัทก็ถูกลดบทบาท กฎหมายฉบับนี้ทำให้อำนาจการปกครองในอินเดียขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
กองเรือ
[แก้]เรือเดินสมุทรของบริษัทอินเดียตะวันออก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อีสต์อินเดียแมน (East Indiamen) หรือเรียกว่า "อินเดียแมน" (Indiamen).[5] มีรายนามเรือต่อไปนี้:
- Red Dragon (ค.ศ. 1595)
- Doddington (East Indiaman) สูญหาย ค.ศ. 1755
- Royal Captain (ก่อน ค.ศ. 1773)
- Grosvenor (สูญหาย ค.ศ. 1782)
- General Goddard (ค.ศ. 1782)
- Earl of Abergavenny (ค.ศ. 1797)
- Earl of Mornington (ค.ศ. 1799); packet ship
- Lord Nelson (ค.ศ. 1799)
- Kent (1820): สูญหายระหว่างการเดินทางครั้งที่ 3
- Nemesis (ค.ศ. 1839): first British-built ocean-going iron warship
- Agamemnon (ค.ศ. 1855)
สัญลักษณ์
[แก้]ธงแสดงสัญชาติ
[แก้]-
ค.ศ. 1600–1858
-
ค.ศ. 1707–1800
-
ค.ศ. 1801–1858
ตราอาร์ม
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
[แก้]- ปรีดี หงษ์สต้น. (2562). บริษัทอินเดียตะวันออกอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
- รัชตพงศ์ มะลิทอง. (2566). “สมาคมพ่อค้าอันยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งจักรวาล”: จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ. วารสารประวัติศาสตร์. 48. 351-78.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "East India Company | Definition, History, & Facts | Britannica".
- ↑ Encyclopaedia Britannica 2008, "East India Company"
- ↑ 1. Columbia Encyclopedia 2007, "East India Company, British" เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2. Marx, Karl (June 25, 1853), "The British rule in India", New York Daily Tribune republished in Carter, Mia; Harlow (editors), Barbara (2003), Archives of Empire, Raleigh: Duke University Press. Pp. 802, ISBN 0822331640
{{citation}}
:|last2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help). Quote (p. 118): "I do not allude to European despotism, planted upon Asiatic despotism, by the British East India Company, forming a more monstrous combination than any of the divine monsters startling us in the temple of Salsette." - ↑ The Register of Letters &c. of the Governor and Company of Merchants of London trading into the East Indies, 1600–1619. On page 3, a letter written by Elizabeth I on January 23, 1601 ("Witnes or selfe at Westminster the xxiiijth of Ianuarie in the xliijth yeare of or Reigne.") states, "Haue been pleased to giue lysence vnto or said Subjects to proceed in the said voiadgs, & for the better inabling them to establish a trade into & from the said East Indies Haue by or tres Pattents vnder or great seale of England beareing date at Westminster the last daie of december last past incorporated or said Subjecte by the name of the Gournor & Companie of the merchaunts of London trading into the East Indies, & in the same tres Pattents haue geven them the sole trade of theast Indies for the terme of XVteen yeares ..."
- ↑ Sutton, Jean (1981) Lords of the East: The East India Company and Its Ships. London: Conway Maritime
- บริษัทข้ามชาติ
- บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน
- บริติชอินเดีย
- บริษัทที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 16
- บริติชสิงคโปร์
- บริติชมาลายา
- ประวัติศาสตร์กัลกัตตา
- ประวัติศาสตร์เบงกอล
- ประวัติศาสตร์เบงกอลตะวันตก
- ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
- ประวัติศาสตร์อินเดีย
- ประวัติศาสตร์อังกฤษ
- ลัทธิล่าอาณานิคม
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19
- บทความเกี่ยวกับ หน่วยงาน ที่ยังไม่สมบูรณ์