น้ำเกรปฟรูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเกรปฟรูตขาว
เกรฟฟรูตชมพูหั่น

น้ำเกรปฟรูต (อังกฤษ: grapefruit juice) คือน้ำผลไม้ที่ทำจากเกรปฟรูต อุดมไปด้วยวิตามินซี มีรสชาติตั้งแต่รสเปรี้ยวไปจนถึงรสเปรี้ยวจัด น้ำเกรปฟรูตมีหลากหลายแบบ ได้แก่ น้ำเกรปฟรูตขาว น้ำเกรปฟรูตชมพู และน้ำเกรปฟรูตแดงทับทิม[1]

น้ำเกรปฟรูตมีความสำคัญในทางการแพทย์เนื่องจากมีอันตรกิริยากับยาทั่วไปหลายชนิด เช่น กาเฟอีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะในร่างกายได้

น้ำเกรปฟรูตเป็นเครื่องดื่มอาหารเช้าทั่วไปในสหรัฐ[2]

อันตรกิริยาระหว่างยา[แก้]

ผลเกรปฟรูตและน้ำเกรปฟรูตพบว่ามีอันตรกิริยากับยาหลายชนิด ในหลายกรณีทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์[3] เกิดอันตรกิริยาได้สองทาง ทางหนึ่งคือเกรปฟรูตสามารถยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการเมแทบอลิซึมของยาได้[4] หากยาไม่ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม ระดับของยาในเลือดจะสูงเกินไปซึ่งทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์[4] อีกทางหนึ่งคือเกรปฟรูตสามารถขัดขวางการดูดซึมยาในลำไส้[4] หากยาไม่ถูกดูดซึม ก็จะมีปริมาณในเลือดไม่เพียงพอที่จะส่งผลรักษา[4]

น้ำเกรปฟรูตที่ทำจากเกรปฟรูตหนึ่งผลหรือน้ำเกรปฟรูตหนึ่งแก้วขนาด 200 มิลลิตร (6.8 ออนซ์สหรัฐ) อาจก่อให้เกิดพิษจากการใช้ยาเกินขนาด[3] ยาที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้กับเกรปฟรูตมักระบุบนฉลากของภาชนะบรรจุหรือเอกสารกำกับยา[4] ผู้ที่รับประทานยาสามารถสอบถามผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือเภสัชกรเกี่ยวกับอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรูตกับยาได้[4]

ใช้ในค็อกเทล[แก้]

น้ำเกรปฟรูตใช้ในค็อกเทลหลายชนิด เช่น ซีบรีซ (ประกอบด้วยน้ำเกรปฟรูต วอดก้า และน้ำแครนเบอร์รี)[5] ซอลตีด็อก[6] มิโมซาเกรปฟรูต[6] และแรดเลอร์แกรปฟรูต[7]

ข้อบังคับของแคนาดา[แก้]

ข้อบังคับของแคนาดาเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายน้ำเกรปฟรูตในเชิงพาณิชย์คือต้องทำจากเกรปฟรูตสุกที่สะอาด และอาจมีน้ำตาล น้ำตาลอินเวิร์ต เดกซ์โทรส กลูโคส และสารกันบูดประเภท 2[8] เช่น กรดเบนโซอิก อะไมเลส เซลลูเลส และเพกติเนส[9] ตามมาตรฐานของแคนาดา น้ำเกรปฟรูตควรมีกรดอะมิโนอิสระมากกว่า 1.15 มิลลิสมมูลต่อ 100 มิลลิลิตร (3.5 ออนซ์อังกฤษ; 3.4 ออนซ์สหรัฐ) โพแทสเซียมมากกว่า 70 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร และมีค่าการดูดกลืนแสงของสารโพลีฟีนอล ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 0.310[9] ในระหว่างกระบวนการผลิต ปริมาณน้ำตาลในน้ำผลไม้ ก่อนการเติมน้ำตาล น้ำตาลอินเวิร์ต เดกซ์โทรส หรือกลูโคส ควรมีค่าบริกซ์ที่อ่านได้ไม่น้อยกว่า 9.3 ต้องมีกรดซิตริกปราศจากน้ำ ร้อยละ 0.7 ถึง 2.1 โดยน้ำหนัก[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Fellers PJ, Nikdel S, Lee HS (August 1990). "Nutrient content and nutrition labeling of several processed Florida citrus juice products". Journal of the American Dietetic Association. 90 (8): 1079–1084. doi:10.1016/S0002-8223(21)01704-1. PMID 2380455.
  2. Anderson, H.A. (2013). Breakfast: A History. The Meals Series. AltaMira Press. p. 90. ISBN 978-0-7591-2165-2. สืบค้นเมื่อ July 25, 2018.
  3. 3.0 3.1 Bailey DG, Dresser G, Arnold JM (March 2013). "Grapefruit-medication interactions: forbidden fruit or avoidable consequences?". CMAJ. 185 (4): 309–316. doi:10.1503/cmaj.120951. PMC 3589309. PMID 23184849.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Mitchell, Steve (19 February 2016). "Why Grapefruit and Medication Can Be a Dangerous Mix". Consumer Reports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  5. Salvatore Calabrese, Classic Cocktails (Sterling Publishing, 1997), p. 158.
  6. 6.0 6.1 David Tanis, Heart of the Artichoke and Other Kitchen Journeys (Workman: 2010), p. 320.
  7. "Radler".
  8. class II preservative
  9. 9.0 9.1 9.2 Minister of Justice, Food and Drug Regulations, สืบค้นเมื่อ 25 November 2019

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Grapefruit juice