นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ

พิกัด: 40°00′32″N 126°13′41″E / 40.008828°N 126.227975°E / 40.008828; 126.227975
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ
ชื่อเกาหลี
โชซ็อนกึล
국제친선전람관
ฮันจา
อาร์อาร์Gukje Chinseon Jeollamgwan
เอ็มอาร์Kukche Ch'insŏn Chŏllamgwan

นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ (เกาหลี: 국제친선전람관; International Friendship Exhibition) เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มโยฮยังซัน จังหวัดพย็องอันเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ นิทรรศการเป็นโถงจัดแสดงของขวัญที่ได้รับมอบจากผู้แทนการทูตจากต่างชาติแก่อดีตผู้นำ คิม อิล-ซ็อง และคิม จ็อง-อิล ธรรมเนียมการให้ของขวัญแก่กันและกันนั้นเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฒนธรรมเกาหลี[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อาคารโถงจัดแสดงสร้างขึ้นด้วยรูปแบบเกาหลีพื้นถิ่น และเปิดให้เข้าชมครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1978[2] ภายในประกอบไปด้วยมากกว่า 150 ห้อง กินพื้นที่รวม 28,000[3] ถึง 70,000 ตารางเมตร[1] แม้ภายนอกจะดูเหมือนว่าอาคารนี้มีหน้าต่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มี[4] ตามตำนานพื้นถิ่น ว่ากันว่าคิม จ็อง-อิล สร้างอาคารนิทรรศการนี้ขึ้นเสร็จภายในเวลาสามวัน กระนั้นในความเป็นจริงอาคารสร้างเสร็จในเวลาหนึ่งปี[5] ปัจจุบัน มีการคาดการณ์จำนวนสิ่งของจัดแสดงภายในนิทรรศการอยู่ที่ประมาณ 60,000[6] ถึง 220,000 ชิ้น ทั้งหมดเป็นของขวัญที่อดีตผู้นำเกาหลีเหนือได้รับ[7] ผู้เข้าชมจะต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าชมนิทรรศการ และจะถูกร้องขอให้โค้งคำนับต่อภาพของคิม อิล-ซ็อง และ คิม จ็อง-อิล[8] ภาพถ่ายทางดาวเทียมเมื่อปี 2017 แสดงให้เห็นว่ามีกิจกรรมใต้ดินเกิดขึ้นในบริเวณ ซึ่งเสนอว่าอาจมีการขยับขยายพื้นที่ของโถงนิทรรศการ[9]

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ท่ามกลางเขาเมียวฮยัง (Myohyang mountains) ไม่ไกลนักจากวัดโพฮย็อนซา รวมถึงถูกใช้เป็นประเด็นในบทกวีของคิม อิล-ซ็อง บทกวีดังกล่าวเขาได้กล่าวจากระเบียงของอาคารพิพิธภัณฑ์นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1979 บทกวีดังกล่าวระบุว่า:[10]

"บนระเบียงนี้ข้าแลเห็น
ทิวอันตระการตาหาที่ใดเปรียบในโลก
ชายคาเขียวโค้งงอขึ้น เพื่อสรรเสริญ
เกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติ
และยอดเขาพีโร ยังคงแลดูสูงขึ้น

ว่ากันว่าพิพิธภัณฑ์นี้ใช้งานเพื่อเป็นโฆษณาชวนเชื่อซึ่งให้ความรู้สึกว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือได้รับความยอมรับและการสนับสนุนจากนานาชาติ[11] ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะได้รับข้อมูลว่าของขวัญจำนวนมหาศาลนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "การยืนยันถึงความรักและความเคารพอันประมาณมิได้ ต่อท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ (คิม อิล-ซ็อง)"[12] อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าชมที่เป็นชาวเกาหลีเหนือไม่ได้ทราบว่าในโลกความเป็นจริงนั้นมีธรรมเนียมทางการทูตสำหรับการแลกเปลี่ยนของขวัญ เฮเลน ลุยส์ ฮันเตอร์ (Helen-Louise Hunter) บรรยายถึงผู้เข้าชมชาวเกาหลีเหนือว่า "ประทับใจจากคำอธิบายที่บรรยายตัวเอง" (impressed by the self-serving explanations)[13] บย็องโล ฟีโล คิม (Byoung-lo Philo Kim) ระบุว่านิทรรศการทั้งหมดนี้มีเป้าหมายคือเพื่อ "ยืนยันแก่ชาวเกาหลีเหนือที่มาเข้าชมว่าผู้นำของพวกเขาได้รับการชื่นชมในสากลโลก"[14]

ของขวัญ[แก้]

ของขวัญส่วนใหญ่ที่ได้รับนั้นมาจากรัฐคอมมิวนิสต์ ตัวอย่างเช่น:

ของขวัญชิ้นอื่น ๆ ยังรวมถึง รูปปั้นสิงโตทำจากงาช้าง จากแทนซาเนีย, กล่องบุหรี่หุ้มทอง จากยูโกสะลาเวีย, โมเดลรถถังโซเวียตทำจากทองแดง จากเยอรมนีตะวันออก และ ตะเกียบเงินคู่หนึ่งจากมองโกเลีย[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Martin, Bradley, K. (May 16, 2007). "Kim Jong Il Gets the Gifts, and All North Korea Ends Up Paying". Bloomberg L.P.
  2. "Anniversary of International Friendship Exhibition marked". Korean Central News Agency. August 26, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2012. สืบค้นเมื่อ December 3, 2009.
  3. Pang, Hwan Ju (1987). Korean Review (3 ed.). Foreign Languages Pub. House. p. 212.
  4. "International Friendship Exhibition, treasure-house of Korea". Korean Central News Agency. June 5, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2013. สืบค้นเมื่อ December 4, 2009.
  5. Lim, Jae-Cheon (2009). Kim Jong Il's Leadership of North Korea. Taylor & Francis. p. 162. ISBN 978-0-415-48195-3.
  6. Houtryve, Tomas Van (August 20, 2009). "Journey to North Korea, Part II: The Pack-Rat Dictatorship". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2012.
  7. 7.0 7.1 "North Korean museum shows off leaders' gifts". The Age. Reuters. December 21, 2006.
  8. Vines, Stephen (August 14, 1997). "The Great Leader rules from beyond the grave". The Independent.
  9. "International Friendship Exhibition Expands". MyNorthKorea-AccessDPRK. July 7, 2017. สืบค้นเมื่อ July 29, 2017.
  10. Deane, Hugh (1999). The Korean War 1945-1953. China Books. p. 210. ISBN 978-0-8351-2644-1. เนื้อความคำแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "On the balcony I see the most glorious scene in the world... The Exhibition stands here, its green eaves upturned, to exalt The dignity of the nation, and Piro Peak looks higher still."
  11. Portal, Jane; British Museum (2005). Art under control in North Korea. Reaktion Books. p. 95. ISBN 978-1-86189-236-2.
  12. Hunter, Helen-Louise (1999). Kim Il-sŏng's North Korea. Greenwood Publishing Group. p. 22. ISBN 978-0-275-96296-8.
  13. Hunter, 1999, p. 213.
  14. Kim, Byoung-lo Philo (1992). Two Koreas in development: a comparative study of principles and strategies of capitalist and communist Third World development. Transaction Publishers. p. 102. ISBN 978-0-88738-437-0.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Gluckman, Ron (1990s). "90,000 ways to Love a Leader".
  16. Wire News Services (November 15, 2009). "Kim Jong-il's North Korea welcomes legal U.S. tourists". Herald de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2010. สืบค้นเมื่อ December 3, 2009.
  17. "North Korea's International Friendship Exhibition Hall". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

40°00′32″N 126°13′41″E / 40.008828°N 126.227975°E / 40.008828; 126.227975