ธงไพรด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รวมธงไพรด์ที่แขวนอยู่ในตลาดลีดเดนฮอลล์ ในกรุงลอนดอน

ธงไพรด์ (อังกฤษ: pride flag) คือธงใด ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มหรือส่วนหนึ่งของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คำว่าไพรด์ (pride) หรือความภาคภูมิใจในกรณีนี้หมายถึงแนวคิดเรื่องความภาคภูมิใจของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คำว่า ธงแอลจีบีที (LGBT flag) และธงเควียร์ (queer flag) มักนำใช้แทนกันได้[1]

ธงไพรด์สามารถแสดงออกถึงรสนิยมทางเพศ รสนิยมทางโรแมนติก อัตลักษณ์ของสภาวะเพศ วัฒนธรรมย่อย และความมุ่งประสงค์ระดับภูมิภาคที่หลากหลาย ตลอดจนชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยรวม นอกจากนี้ยังมีธงไพรด์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะ เช่น ธงสำหรับวัฒนธรรมย่อยเครื่องหนัง ธงสีรุ้งซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งหมด เป็นธงไพรด์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างที่โดดเด่น[แก้]

ธงสีรุ้ง[แก้]

กิลเบิร์ต เบเกอร์ออกแบบธงไพรด์สีรุ้งสำหรับงานเฉลิมวันเสรีภาพเกย์แห่งซานฟรานซิสโก ในปี พ.ศ. 2521[2] ธงนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเป็น "สัญลักษณ์แห่งความหวัง" และการหลุดพ้น และใช้เป็นทางเลือกแทนสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีชมพู[3] ธงไม่ได้แสดงสีของรุ้งกินน้ำจริง สีของธงแสดงในรูปแถบแนวนอนโดยมีสีแดงอยู่ด้านบนและสีม่วงอยู่ด้านล่าง แสดงถึงความหลากหลายของเกย์และเลสเบียนทั่วโลก ในรูปแบบ 8 สีดั้งเดิม สีชมพูมีความหมายถึงเพศวิถี สีแดงมีความหมายถึงชีวิต สีส้มมีความหมายถึงการเยียวยา สีเหลืองมีความหมายถึงดวงอาทิตย์ สีเขียวมีความหมายถึงธรรมชาติ สีเทอร์ควอยซ์มีความหมายถึงศิลปะ สีครามมีความหมายถึงความสามัคคี และสีม่วงมีความหมายถึงจิตวิญญาณ[4] สำเนาของธง 8 สีต้นฉบับขนาด 20 x 30 ฟุตทำขึ้นโดยเบเกอร์ในปี พ.ศ. 2543 และติดตั้งในเขตคาสโทรในซานฟรานซิสโก ธงสีรุ้งมีหลายรูปแบบ รวมถึงแบบที่รวมสัญลักษณ์กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ เช่น สามเหลี่ยมหรือแลมบ์ดา[5]

เอโรแมนติก[แก้]

ธงเอโรแมนติก

ธงไพรด์ของเอโรแมนติกประกอบด้วยแถบแนวนอน 5 แถบ ได้แก่ (จากบนลงล่าง) สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาว สีเทา และสีดำ ธงนี้สร้างโดยคาเมรอน วิมซี (ชื่อผู้ใช้ทัมเบลอร์ cameronwhimsy[6] ) ในปี พ.ศ. 25557[7] แถบสีเขียวและสีเขียวอ่อนแสดงถึงเอโรแมนติกและเอโร-สเปกตรัม แถบสีขาวแสดงถึงความสำคัญและความมีเหตุผลของรูปแบบความรักที่ไม่ใช่ความโรแมนติก ซึ่งรวมถึงมิตรภาพ รักบริสุทธิ์และแรงดึงดูดแบบสุนทรียภาพ ความสัมพันธ์แบบเควียร์พลาโตนิก และครอบครัว แถบสีดำและสีเทาแสดงถึงสเปกตรัมของเพศวิถี ซึ่งมีตั้งแต่ เอโร-เอซ (เอโรแมนติกเอเซ็กชวล) ไปจนถึงเอโรแมนติกอัลโลเซ็กชวล[6][7]

เอเซ็กชวล[แก้]

Black, gray, white, purple stripes
ธงเอเซ็กชวล

ธงไพรด์ของเอเซ็กชวล ประกอบด้วยแถบแนวนอน 4 สี ได้แก่สีดำ สีเทา สีขาว และสีม่วงจากบนลงล่าง[8][9] ธงนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ของเอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของชุมชนในการสร้างและเลือกธง[10][11] แถบสีดำมีความหมายถึงเอเซ็กชวล แถบสีเทามีความหมายถึงเกรย์เอเซ็กชวลและเดมิเซ็กชวล แถบสีขาวมีความหมายถึงพันธมิตร และแถบสีม่วงมีความหมายถึงชุมชน[12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sobel, Ariel (June 13, 2018). "The Complete Guide to Queer Pride Flags". The Advocate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  2. "Original 1978 rainbow flag designed by Gilbert Baker acquired by San Francisco's GLBT Historical Society". The Art Newspaper - International art news and events. 2021-06-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
  3. "Rainbow Flag: Origin Story". Gilbert Baker Foundation. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2018.
  4. "Symbols of Pride of the LGBTQ Community". Carleton College. April 26, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2012. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  5. Riffenburg, Charles Edward IV (2004). "Symbols of the Gay, Lesbian, Bisexual, and Transgender Movements". Queer Resources Directory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
  6. 6.0 6.1 Gillespie, Claire. "22 Different Pride Flags and What They Represent in the LGBTQ+ Community". Health.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 July 2020.
  7. 7.0 7.1 "Queer Community Flags". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  8. Bilić, Bojan; Kajinić, Sanja (2016). Intersectionality and LGBT Activist Politics: Multiple Others in Croatia and Serbia. Springer. pp. 95–96.
  9. Decker, Julie. The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality. Skyhorse.
  10. "The Asexuality Flag". Asexuality Archive. 20 February 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2021. สืบค้นเมื่อ 26 September 2021.
  11. The Ace and Aro Advocacy Project (2023). Ace and Aro Journeys. Jessica Kingsley Publishers. pp. 44–45.
  12. Petronzio, Matt (June 13, 2014). "A Storied Glossary of Iconic LGBT Flags and Symbols (Gallery)". Mashable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  13. Sobel, Ariel (June 13, 2018). "The Complete Guide to Queer Pride Flags". The Advocate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2018. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.