ธงสีรุ้ง (กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงสีรุ้ง
ธงสีรุ้งรูปแบบปัจจุบัน (รูปแบบปี พ.ศ. 2522)
ชื่ออื่น ธงแอลจีบีจีไพรด์
การใช้ สัญลักษณ์ของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ประกาศใช้ พ.ศ. 2521
ลักษณะ ธงลายทาง โดยทั่วไปประกอบด้วยแถบหกสี (จากบนลงล่าง) ได้แก่ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง
ออกแบบโดย กิลเบิร์ต เบเกอร์
โรงแรมสโตนวอลล์ในหมู่บ้านกรีนวิช แมนฮัตตัน ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุจลาจลสโตนวอลล์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2512 ได้รับการประดับประดาด้วยธงไพรด์สีรุ้ง ในปี พ.ศ. 2559[1][2][3]

ธงสีรุ้ง (อังกฤษ: rainbow flag) หรือที่เรียกว่า ธงเกย์ไพรด์ (อังกฤษ: gay pride flag) หรือ ธงไพรด์ (อังกฤษ: pride flag) เป็นสัญลักษณ์ของความภาคภูมิใจของเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ (แอลจีบีที) และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ละสีสะท้อนถึงความหลากหลายของชุมชนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และสเปกตรัมของเพศวิถีและสถานะเพศของมนุษย์ การใช้ธงสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งเกย์ไพรด์ เริ่มต้นขึ้นในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในที่สุดก็กลายเป็นสิ่งที่มีทั่วไปในงานสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก

ธงสีรุ้งสร้างสรรค์โดยศิลปินกิลเบิร์ต เบเกอร์, ลินน์ เซเกอร์บลอม, เจมส์ แม็กนามารา และนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ[4][5][6][7] การออกแบบผ่านการแก้ไขหลายครั้งหลังจากเปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 และสานต่อแรงบันดาลใจให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ กัน แม้ว่าธงสีรุ้งดั้งเดิมของเบเกอร์จะมี 8 สี[8] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน ธงสีรุ้งรูปแบบทั่วไปประกอบด้วยแถบ 6 สีได้แก่ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง โดยทั่วไปธงจะแสดงในแนวนอนโดยมีแถบสีแดงอยู่ด้านบนสุด เพื่อเลียนแบบสีของรุ้งกินน้ำตามธรรมชาติ

ปัจจุบันกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและกลุ่มพันธมิตรใช้ธงสีรุ้งและสิ่งของต่าง ๆ ที่มีธีมสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอัตลักษณ์หรือหรือการสนับสนุนของพวกตน มีธงสีรุ้งหลากหลายแบบที่ใช้เพื่อมุ่งความสนใจไปที่เหตุหรือกลุ่มเฉพาะในชุมชน (เช่น คนข้ามเพศ การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ รวมไปถึงกลุ่มคนผิวสีที่มีความหลากหลายทางเพศ) นอกจากสีรุ้งแล้ว ยังมีการใช้ธงและสัญลักษณ์ อื่น ๆ เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์เฉพาะภายในชุมชนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

อ้างอิง[แก้]

  1. Goicichea, Julia (August 16, 2017). "Why New York City Is a Major Destination for LGBT Travelers". The Culture Trip. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
  2. Rosenberg, Eli (June 24, 2016). "Stonewall Inn Named National Monument, a First for the Gay Rights Movement". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 25, 2016.
  3. "Workforce Diversity The Stonewall Inn, National Historic Landmark National Register Number: 99000562". National Park Service, U.S. Department of the Interior. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  4. "Long-Lost Fragment of First Rainbow Pride Flag Resurfaces After Four Decades".
  5. "The Rainbow Flag: Lynn Segerblom & Lee Mentley".
  6. "The woman behind the Rainbow Flag". March 3, 2018.
  7. "HERSTORY – Meet Lynn Segerblom, One of the Creators of the Original 1978 Rainbow Flag - WeHo Times West Hollywood Daily News, Nightlife and Events". July 18, 2018.
  8. "The Rainbow Flag". สืบค้นเมื่อ May 29, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]