สามเหลี่ยมชมพู
ในนาซีเยอรมนีสามเหลี่ยมชมพู (เยอรมัน: Rosa Winkel)[2]ถูกใช้ในค่ายกักกันของนาซีเพื่อเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงความผิดของนักโทษที่เป็นพวกรักร่วมเพศ[3][4] นักโทษทุกคนต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมกลับหัวบนเสื้อแจ็กเกตและมีสีต่างๆ ในการจัดกลุ่มตามความผิด ชาวยิวต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีเหลืองซ้อนกันเป็นดาราแห่งดาวิด สามเหลี่ยมสีชมพูและเหลืองอาจใช้ร่วมกันหากนักโทษเป็นทั้งเกย์และชาวยิว[5]
แต่เดิมตั้งใจให้เป็นตราแห่งความอัปยศตามการใช้ของนาซี แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) และการเคลื่อนไหวของสิทธิเกย์ (gay rights) และเป็นเครื่องหมายที่ได้รับความนิยมมากรองมาจากธงสายรุ้ง[6]
ประวัติ
[แก้]ในนาซีเยอรมนีนักโทษทุกคนต้องใส่เสื้อแจ็คเกตที่มีสัญลักษณ์ของค่ายกักกันโดยจะแบ่งกันเป็นกลุ่มตามสี ชายรักร่วมเพศต้องใส่สามเหลี่ยมชมพู แม้ว่าจะเป็รการยากที่จะคาดคะเนจำนวนเกย์ในค่ายกักกันของเยอรมัน ริชาร์ด แพลนท์ได้คาดเดาไว้ว่าระหว่างปีค.ศ. 1933 และ 1944 น่าจะมีประมาณ 50,000 ถึง 60,000 คน[4]
ในช่วงปลายของยุค 70 สามเหลี่ยนชมพูถูกนำมาใช้แทนสัญลักษณ์ในการประท้วงสิทธิชาวเกย์[7][8]
กลุ่มผู้สนันสนุนผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ The AIDS Coalition To Unleash Power (ACT UP) ได้นำสามเหลี่ยมชมพูไปใช้พร้อมกับสโลแกน ความเงียบ = ตาย ("SILENCE = DEATH") ไปใช้เป็นโลโก้โดยนักเคลื่อนไหวเกย์ที่นครนิวยอร์กในปี 1987[9][10]
สามเหลี่ยชมพูเป็นพื้นฐานของการออกแบบอนุเสาวรีย์โฮโม (Homomonument ) ในอัมสเตอร์ดัม อนุสรณ์ฮอโลคอสต์เกย์และเลสเบี้ยนในซิดนีย์ (Gay and Lesbian Holocaust Memorial) และสวนสามเหลี่ยมชมพู (Pink Triangle Park) ในซานฟรานซิสโก[11]
ตัวอย่าง
[แก้]-
สามเหลี่ยมชมพู (Rosa Winkel ในภาษาเยอรมัน) เพื่อระลึกถึงชายเกย์ที่ถูกฆ่าในค่ายกักกันบูเคนวัลด์
-
สามเหลี่ยมชมพู ณ สถานีรถไฟในกรุงเบอร์ลิน เพื่อเคารพเกย์ชายที่ เสียชีวิต
-
อนุเสาวรีย์โฮโม (Homomonument ) ในอัมสเตอร์ดัมใช้สามเหลี่ยมชมพูเพื่อระลึกถึงชายเกย์ที่เสียชีวิตจากฮอโลคอสต์ และร่วมไปถึงผู้เสียชีวิตจากต่อต้ายชาวเกย์
-
อนุสรณ์ฮอโลคอสต์เกย์และเลสเบี้ยนในซิดนีย์ (Sydney Gay and Lesbian Holocaust Memorial)
-
สวนสามเหลี่ยมชมพูในซานฟรานซิสโก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Plant, The Pink Triangle
- ↑ "English-German Dictionary". dict.cc. สืบค้นเมื่อ November 16, 2013.
- ↑ Plant, The Pink Triangle.
- ↑ 4.0 4.1 Plant, Richard (1988). The pink triangle: the Nazi war against homosexuals (revised ed.). H. Holt. p. 175. ISBN 978-0-8050-0600-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ See Nazi concentration camp table of inmate markings
- ↑ "San Francisco Neighborhoods: The Castro" KQED documentary.
- ↑ Gianoulis, Tina (2004). Claude J. Summers (บ.ก.). "Pink Triangle". glbtq: An Encyclopedia of Gay, Lesbian, Bisexual, Transgender, and Queer Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-09-26.
In the early 1970s, gay rights organizations in Germany and the United States launched campaigns to reclaim the pink triangle. In 1973 the German gay liberation group Homosexuelle Aktion Westberlin (HAW) called upon gay men to wear the pink triangle as a memorial.
- ↑ "Symbols of the Gay, Lesbian, Bisexual, and Transgender Movements". lambda.org. Lambda GLBT Community Services. 2004. สืบค้นเมื่อ 2014-09-26.
- ↑ Feldman, Douglas A. and Judith Wang Miller (1998). The AIDS Crisis: A Documentary History. Greenwood Publishing Group. ISBN 0-313-28715-5. p. 176
- ↑ http://www.actupny.org/reports/silencedeath.html
- ↑ "The Pink Triangle, displayed annually on Twin Peaks in San Francisco during Pride weekend". Thepinktriangle.com. 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2013-02-12.
ดูเพิ่ม
[แก้]- An Underground Life: Memoirs of a Gay Jew in Nazi Berlin (1999) by Gad Beck (University of Wisconsin Press). ISBN 0-299-16500-0.
- The Iron Words (2014) by Michael Fridgen (Dreamlly Publishing). ISBN 978-0-615-99269-3.
- Liberation Was for Others: Memoirs of a Gay Survivor of the Nazi Holocaust (1997) by Pierre Seel (Perseus Book Group). ISBN 0-306-80756-4.
- I, Pierre Seel, Deported Homosexual: A Memoir of Nazi Terror (1995) by Pierre Seel. ISBN 0-465-04500-6.
- Heinz Heger (1994). Men With the Pink Triangle: The True, Life-And-Death Story of Homosexuals in the Nazi Death Camps. Alyson Books. ISBN 1-55583-006-4.