ตงเฟิง-41

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตงเฟิง-41
东风-41, DF-41
ขีปนาวุธ 东风-41 บนพาหนะเคลื่อนที่ทางถนน
ชนิดICBM
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
บทบาท
ประจำการพ.ศ. 2560
ผู้ใช้งาน กองกำลังจรวดของกองทัพปลดแอกประชาชน
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตสถาบันเทคโนโลยียานขนส่งจีน (CALT)
ข้อมูลจำเพาะ
มวล≈ 80,000 กิโลกรัม (160,000 斤)[1]
ความยาว≈ 21 เมตร (63 尺)[1]
เส้นผ่าศูนย์กลาง≈ 2.25 เมตร (67.5 寸)[1]
หัวรบอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์, 10–12 MIRV (หัวรบเดียว 1 เมกะตัน หรือหลายหัวรบแบบแยกเป้าโจมตีได้ขนาด 20, 90, 150 กิโลตัน)[1]

เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็งสามตอน N-15
พิสัยปฏิบัติการ
≈12,000–15,000 กิโลเมตร (7,500–9,300 ไมล์)[1]
ความเร็วมัค 25 (30,626 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 19,030 ไมล์ต่อชั่วโมง; 8.5073 กิโลเมตรต่อวินาที)[2]
ระบบนำวิถี
ใช้แรงเฉื่อย, อาจประกอบด้วยดาวเทียมนำร่องและระบบดาวเทียมเป๋ย์โต่ว[3]
ความแม่นยำ100 เมตร CEP[3]
ฐานยิง
ไซโล, แท่นยิงอาวุธปล่อยอัตตาจรเคลื่อนที่ทางถนน, เคลื่อนที่ทางราง

ตงเฟิง-41 (DF-41, CSS-20) (จีนตัวย่อ: 东风-41; จีนตัวเต็ม: 東風-41; แปลตรงตัว: "สายลมตะวันออก-41") เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นที่สี่ชนิดเชื้อเพลิงแข็งที่ติดตั้งบนพาหนะเคลื่อนที่ทางถนนของประเทศจีน ที่ดำเนินการโดยกองกำลังจรวดของกองทัพปลดแอกประชาชน (เดิมคือกองพลปืนใหญ่ที่สอง) ตงเฟิง-41 เป็นขีปนาวุธทางยุทธวิธีรุ่นที่สี่และล่าสุดของชุดการพัฒนาขีปนาวุธตงเฟิง[4] ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการในขบวนสวนสนามทางทหารเนื่องในวันชาติจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การออกแบบ[แก้]

มีรายงานว่าตงเฟิง-41 มีพิสัยปฏิบัติการระหว่าง 12,000 ถึง 15,000 กิโลเมตร (7,500 ถึง 9,300 ไมล์)[1] คาดว่ามีความเร็วสูงสุดที่ 25 มัค[2] และสามารถบรรทุกหลายหัวรบแบบแยกเป้าโจมตี (MIRV) ได้ (สูงสุด 10 หัวรบ)[5] มีรายงานว่าการพัฒนาเทคโนโลยี MIRV นั้นเพื่อตอบสนองต่อการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธแห่งชาติของสหรัฐ (NMD) ซึ่งทำให้ความสามารถในการป้องปรามนิวเคลียร์ของจีนลดลง[6] โครงการนี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2529[5] และปัจจุบันอาจพัฒนาควบคู่ไปกับโครงการจฺวี้ล่าง-2 (巨浪-2, JL-2)

แม้ว่าจะมีรายงานว่าตงเฟิง-41 สามารถบรรทุกหัวรบได้ 6 ถึง 10 หัวรบ นักวิเคราะห์คาดว่าน่าจะบรรทุกได้เพียงสามหัวรบ โดยน้ำหนักบรรทุกเพิ่มเติมใช้สำหรับอุปกรณ์ช่วยเจาะเกราะจำนวนมาก[7]

ริชาร์ด ฟิชเชอร์ (Richard Fisher) ผู้เชี่ยวชาญกิจการทหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าโดยปกติหน่วยของกองกำลังจรวดของกองทัพปลดแอกประชาชน มีฐานยิงขีปนาวุธ 6–12 แท่น และอาจมี "ขีปนาวุธบรรจุใหม่" อีก 6–12 ลูกซึ่งจะถูกปล่อยหลังจากขีปนาวุธลูกแรกที่ติดตั้งปล่อยออกไปแล้ว ทำให้แต่ละหน่วยที่ติดตั้งฐานยิงตงเฟิง-41 มีขีปนาวุธ 12–24 ลูก หากขีปนาวุธมีหัวรบ 10 หัว นั่นจะทำให้หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศหน่วยเดียวมีความสามารถในการกำหนดเป้าหมายประชิดสหรัฐอเมริกาด้วยหัวรบนิวเคลียร์ 120–240 ลูก[8]

การพัฒนา[แก้]

องค์กร Air Power Australia รายงานว่าโครงการตงเฟิง-41 ได้ถูกระงับก่อนปี พ.ศ. 2543 โดยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นถูกนำไปใช้กับโครงการตงเฟิง-31A[5][9] มีการคาดการณ์ที่ไม่ถูกต้องว่าตงเฟิง-41 จะถูกส่งมอบให้กับกองพลปืนใหญ่ที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2553[5][10] ผู้เชี่ยวชาญทางการทหารบางคนคาดว่าขีปนาวุธจะถูกเปิดเผยในขบวนสวนสนามแห่งชาติในปี พ.ศ. 2552[11] อย่างไรก็ตาม การซ้อมขบวนสวนสนามไม่ได้แสดงขีปนาวุธชนิดนี้

เว็บไซต์ฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา The Washington Free Beacon รายงานในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ว่าตงเฟิง-41 มีการทดสอบการปฏิบัติการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[12]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 หัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติไต้หวันรายงานต่อสภานิติบัญญัติว่าตงเฟิง-41 ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและยังไม่ได้นำไปใช้[13]

ในรายงานประจำปี พ.ศ. 2556 ต่อรัฐสภาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐเรื่องการพัฒนาทางทหารของจีน ไม่ได้กล่าวถึงตงเฟิง-41 อย่างชัดเจน แต่ระบุว่า "จีนอาจกำลังพัฒนา ICBM อัตตาจรทางถนนแบบใหม่ ซึ่งมีความสามารถในการบรรทุกหัวรบแบบแยกเป้าโจมตีได้หลายจุดอย่างอิสระ (MIRV)" ซึ่งอาจหมายถึงตงเฟิง-41[14] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 The Free Beacon รายงานว่าการทดสอบการยิงครั้งที่สองตามรายงานรายละเอียดการทดสอบของเจ้าหน้าที่ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมไท่หยวน (太原卫星发射中心) ในมณฑลชานซีและตกกระทบในพื้นที่ทางตะวันตกของจีน[15]

The Free Beacon รายงานเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ว่าเจ้าหน้าที่ของสหรัฐ ได้กล่าวในขณะนั้นว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ตงเฟิง-41 ถูกยิงทดสอบแล้วสองครั้ง[16]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เว็บไซต์ศูนย์ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมมณฑลฉ่านซีของจีนบังเอิญทำรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์การตั้งสถานีฐานเพื่อตรวจสอบสิ่งแวดล้อมสำหรับฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีปตงเฟิง-41 รายงานข่าว (และทั้งเว็บไซต์) ถูกลบหลังจากได้รับความสนใจจากสาธารณชนไม่นาน[17]

The Free Beacon อ้างว่าจีนได้ทดสอบการยิงตงเฟิง-41 ซึ่งติดหัวรบกลับสู่ชั้นบรรยากาศหลายหัวรบเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557[18] ปลายเดือนนั้น จีนยืนยันว่าการปล่อยขีปนาวุธดังกล่าวเกิดขึ้น โดยอ้างว่ามีสิทธิ์โดยชอบธรรมในการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ภายในเขตแดนของตน ซึ่งไม่ได้กำหนดเป้าหมายไปยังประเทศใด ๆ และการพัฒนาขีปนาวุธดังกล่าวไม่กระทบต่อนโยบายของจีนที่เมื่อเกิดความขัดแย้งจะไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีก่อน[19]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ขีปนาวุธได้รับการทดสอบการปฏิบัติการบินเป็นครั้งที่สี่[3] และในเดือนธันวาคม ได้รับการทดสอบเป็นครั้งที่ห้า การทดสอบการบินทั้งสองครั้งกระทำเพื่อทดลองการใช้หัวรบกลับสู่ชั้นบรรยากาศแบบแยกเป้าโจมตี โดยการยิงขีปนาวุธและหัวรบจำลองถูกติดตามโดยดาวเทียมไปยังพิสัยการปะทะทางตะวันตกของจีน[20]

เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 จีนประสบความสำเร็จในการทดสอบครั้งที่ 7 ด้วยหัวรบจำลองสองหัวใกล้กับทะเลจีนใต้ ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งเกี่ยวกับพื้นที่นั้น[21]

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 มีรายงานว่าจีนได้ส่งกองพลน้อยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ไปยังมณฑลเฮย์หลงเจียง ซึ่งมีพรมแดนติดกับรัสเซีย และอีกหนึ่งหน่วยไปยังซินเจียง[22] ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เพียงสองวันก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเยือนจีน ได้มีการทดสอบตงเฟิง-41 ในบริเวณทะเลทรายโกบี[23][24]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ในวันครบรอบ 70 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการแสดงขีปนาวุธในขบวนสวนสนามทางทหารขนาดใหญ่[25]

รุ่นเคลื่อนที่ทางราง[แก้]

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จีนได้ดำเนินการทดสอบฐานยิงอาวุธปล่อยรุ่นเคลื่อนที่ทางรางใหม่สำหรับตงเฟิง-41 ซึ่งคล้ายกับฐานของขีปนาวุธ RT-23 โมโลเดซ (รัสเซีย: РТ-23 УТТХ «Мо́лодец») ของรัสเซีย[26][27]

รุ่นติดตั้งในไซโล[แก้]

สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน (FAS) กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2564 จีนกำลังสร้างไซโลขีปนาวุธ 120 หลังสำหรับขีปนาวุธตงเฟิง-41 ใกล้กับเมืองอวี้เหมิน (玉门市) ในมณฑลกานซู่ และไซโลขีปนาวุธอีก 110 หลังใกล้เมืองฮามี่ (哈密市) ในซินเจียง[28]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 พื้นที่ที่สามถูกค้นพบว่ากำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างใกล้กับเมืองออร์ดอส (鄂尔多斯市) ในมองโกเลียใน โดยพื้นที่ใหม่จะบรรจุ ICBM มากกว่า 100 ลูก[29] เจ้าหน้าที่สหรัฐ ระบุว่าฐานขีปนาวุธใหม่ทั้ง 3 ฐานจะติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยไกลใหม่รวม 350 ถึง 400 ลูก[30][31]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "DF-41 (Dong Feng-41 / CSS-X-20)". Center for Strategic and International Studies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Paul Fiddian (สิงหาคม 2012). "China Reports DF-41 ICBM Test-Launch". Armed Forces International News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 "DF-41 (Dong Feng-41 / CSS-X-20)". Missile Threat. Center for Strategic and International Studies. 31 กรกฎาคม 2021.
  4. "China's strategic deterrents on display". China Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "DF-41 (CSS-X-10) (China) - Jane's Strategic Weapon Systems". Janes.com. 1 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  6. Arjun Subramanian P (12 พฤศจิกายน 2012). "DF-41: China's answer to the US BMD efforts". Institute for Defence Studies and Analyses. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2014.
  7. Kristensen, Hans M.; Norris, Robert S. (2018). "Chinese nuclear forces, 2018". Bulletin of the Atomic Scientists. 74 (4): 289–295. Bibcode:2018BuAtS..74d.289K. doi:10.1080/00963402.2018.1486620.
  8. "Chinese Government Website Confirms New Multi-Warhead ICBM". Washington Free Beacon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2019.
  9. Sean O'Connor (April 2012). "PLA Ballistic Missiles". Air Power Australia. p. 1. APA-TR-2010-0802. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  10. John Pike. "DF-41 - China Nuclear Forces". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2010.
  11. "Five types of missiles to debut on National Day_English_Xinhua". News.xinhuanet.com. 2 กันยายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2010.
  12. Gertz, Bill (15 สิงหาคม 2012). "China test fires new long-range missile". Washington Free Beacon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2019.
  13. Rogge Chen and Sofia Wu (15 เมษายน 2013). "China yet to deploy 094 sub, JL-2 & DF-41 missiles: security head". Focus Taiwan. Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2013.
  14. Military and Security Developments Involving the People's Republic of China 2013 (PDF). Office of the Secretary of Defense (Report). U.S. Department of Defense. 2013. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2014.
  15. "China Conducts Second Flight Test of New Long-Range Missile". freebeacon.com. 17 ธันวาคม 2013.
  16. Gertz, Bill (6 มิถุนายน 2014). "Pentagon Confirms New Chinese Long-Range ICBM Development". Washington Free Beacon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2019.
  17. "China 'confirms new generation long range missiles'". Daily Telegraph. AFP. 1 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2014.
  18. Gertz, Bill (18 ธันวาคม 2014). "China Tests ICBM With Multiple Warheads". Washington Free Beacon.
  19. "Chinese Military Confirms DF-41 Flight Test". Washington Free Beacon. 26 ธันวาคม 2014.
  20. "China Missile Test | Multi-Warhead Missile". Washington Free Beacon. 11 ธันวาคม 2015.
  21. "China Confirms Multiple-Warhead Missile Test in South China Sea". Washington Free Beacon. 21 เมษายน 2016.
  22. "Say Hello to China's ICBMs". SpaceDaily.com. 30 มกราคม 2017.
  23. "Did China test a missile that could strike US ahead of Trump's visit?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 9 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2019.
  24. Bora, Kukil (10 พฤศจิกายน 2017). "Ahead of Trump visit, China likely tested 12,000-km-range missile that could strike anywhere in US". International Business Times, India Edition.
  25. "China displays new hypersonic nuclear missile on 70th anniversary". www.aljazeera.com. 1 ตุลาคม 2019.
  26. Fisher Jr, Richard (23 ธันวาคม 2015). "China developing new rail-mobile ICBM, say US officials". Jane's 360. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2019.
  27. "Chinese Defense Ministry Confirms Rail-Mobile ICBM Test". Washington Free Beacon. 31 ธันวาคม 2015.
  28. "China Is Building A Second Nuclear Missile Silo Field". Federation Of American Scientists (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2021.
  29. "EXCLUSIVE: China building third missile field for hundreds of new ICBMs". Washington Times. 12 สิงหาคม 2021.
  30. "The Chinese Nuclear Breakout and the Biden Administration's Nuclear Posture Review | RealClearDefense". RealClearDefense.com. 28 สิงหาคม 2021.
  31. "China's nuclear missile silo expansion: From minimum deterrence to medium deterrence". Bulletin of the Atomic Scientists (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]