ดาวเทียมธีออส-2
หน้าตา
ดาวเทียมธีออส-2 | |
---|---|
ประเภทภารกิจ | ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก |
ผู้ดำเนินการ | สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) |
COSPAR ID | 2023-155A[1] |
SATCAT no. | 58016[1] |
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ผู้ผลิต | แอร์บัสกลาโหมและอวกาศ |
มวลขณะส่งยาน | 425 กิโลกรัม[2] |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
จรวดนำส่ง | เวกา |
ฐานส่ง | ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา |
ผู้ดำเนินงาน | เอเรียนสเปซ |
ลักษณะวงโคจร | |
ระบบอ้างอิง | รอบโลก |
ระบบวงโคจร | สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์, ระดับต่ำของโลก |
ความเยื้อง | 0.00014[3] |
ความเอียง | 97.909°[3] |
คาบการโคจร | 97.193 นาที[3] |
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น | 23.894 ชม.[3] |
มุมของจุดใกล้ที่สุด | 86.992°[3] |
มุมกวาดเฉลี่ย | 273.146°[3] |
การเคลื่อนไหวเฉลี่ย | 14.8159 รอบ/วัน[3] |
วันที่ใช้อ้างอิง | 16 ตุลาคม 2023, 11:36:40 (UTC)[3] |
ดาวเทียมธีออส-2 (THEOS-2; Thailand Earth Observation Satellite-2) เป็นดาวเทียมสำรวจโลกของไทย สามารถสำรวจพื้นผิวโลกด้วยความละเอียดสูงสุด 50 เซนติเมตร[4] เดิมมีกำหนดส่งดาวเทียมธีออส-2 ขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเวกาในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 แต่ถูกระงับอย่างกะทันหัน เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าในระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของจรวดเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด[5] จึงเลื่อนมานำส่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 8:36 น.[6]
ดาวเทียมธีออส-2 รวมถึงดาวเทียมเล็ก ธีออส-2เอ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบดาวเทียมสำรวจการพัฒนา ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)[7][8] โดยถัดจากดาวเทียมธีออส-2 ประเทศไทยตั้งใจที่จะสร้างดาวเทียมธีออส-3 ภายในประเทศโดยสมบูรณ์[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Dominic Ford. "THEOS-2". In-The-Sky.org. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2023.
- ↑ "ดาวเทียม THEOS-2 คืออะไร ขึ้นไปทำอะไรบนอวกาศ". MCOT.net. 6 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2023.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Dominic Ford. "Orbital elements of THEOS-2". In-The-Sky.org. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Thailand to launch its second Earth satellite next week" [ไทยเตรียมส่งดาวเทียมโลกดวงที่สองในสัปดาห์หน้า]. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ภาษาอังกฤษ). 28 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
- ↑ "เปิดสาเหตุ ดาวเทียม THEOS-2 เลื่อนนำส่งสู่อวกาศ "กระแสไฟเกินขณะนับถอยหลัง"". SPRiNG News. 7 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2023.
- ↑ "ปล่อยแล้ว 'ดาวเทียมธีออส 2' ขึ้นสู่วงโคจร ชมสด ภารกิจครั้งประวัติศาสตร์". คมชัดลึก. 9 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2023.
- ↑ "อัพเดทดาวเทียมสำรวจโลก 2565". สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
- ↑ "ไทยส่ง 'THEOS-2' ไปอวกาศ7ต.ค.นี้-เป็นดาวเทียมสำรวจโลกรายละเอียดสูง". องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน. 27 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
- ↑ "2 satellites under Thailand's Theos-2 project ready to take off" [ดาวเทียม 2 ดวงในโครงการธีออส-2 ของไทยพร้อมบินขึ้นแล้ว]. เดอะ เนชั่น (ภาษาอังกฤษ). 13 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.