ข้ามไปเนื้อหา

ดาวโจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดาวซีรีอุส)
Sirius A / B

ตำแหน่งของดาวซิริอุส ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว สุนัขใหญ่
ไรต์แอสเซนชัน 06h 45m 08.9173s[1][2]
เดคลิเนชัน −16° 42′ 58.017″[1][2]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) −1.47 (A)[1] / 8.30 (B)[3]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมA1V (A)[1] / DA2 (B)[3]
ดัชนีสี U-B−0.05 (A)[4] / −1.04 (B)[3]
ดัชนีสี B-V0.01 (A)[1] / −0.03 (B)[3]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)−7.6[1] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: −546.05[1][2] mas/yr
Dec.: −1223.14[1][2] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)379.21 ± 1.58[1] mas
ระยะทาง8.60 ± 0.04 ly
(2.64 ± 0.01 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)1.42 (A)[5] / 11.18 (B)[3]
วงโคจร[6]
ดาวสมาชิกα CMa B
คาบการโคจร (P)50.09 ปี
ค่ากึ่งแกนเอก (a)7.56"
ความเยื้องศูนย์กลาง (e)0.592
ความเอียง (i)136.5°
ลองจิจูดของจุดโหนด (Ω)44.6°
ต้นยุคอ้างอิงจุดใกล้ที่สุด (T)1894.13
มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω)
(secondary)
147.3°
รายละเอียด
มวล2.02[7] (A) /
0.978[7] (B) M
รัศมี1.711[7] (A) /
0.0084 ± 3%[8] (B) R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.33[9] (A)/8.57[8] (B)
กำลังส่องสว่าง25.4[7] (A) /
0.026[10] (B) L
อุณหภูมิ9,940[9] (A) /
25,200[7] (B) K
ค่าความเป็นโลหะ[Fe/H] =0.50[11] (A)
การหมุนตัว16 km/s[12] (A)
อายุ2-3 × 108[7] ปี
ชื่ออื่น
System: α Canis Majoris, α CMa, 9 Canis Majoris, 9 CMa, HD 48915, HR 2491, BD -16°1591, GCTP 1577.00 A/B, GJ 244 A/B, LHS 219, ADS 5423, LTT 2638, HIP 32349.
B: EGGR 49, WD 0642-166.[1][13][14]

ดาวซิริอุส (อังกฤษ: Sirius) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวโจร[15] เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่างอยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ซิริอุส มาจากภาษากรีกโบราณว่า "เซริออส" (Σείριος) มีชื่อตามระบบไบเยอร์ว่า อัลฟา คานิส เมเจอริส (α Canis Majoris หรือ α CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็นระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า ซิริอุส เอ (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า ซิริอุส บี (Sirius B)

การที่ดาวซิริอุสเป็นดาวที่สว่างที่สุด นอกจากความสามารถในการส่องสว่างของมันเองแล้ว มันยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามาก คือห่างไปเพียง 2.6 พาร์เซก (ประมาณ 8.6 ปีแสง) ระบบดาวซิริอุสถือว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ดาวซิริอุสเอมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีค่าความสว่างสัมบูรณ์ เท่ากับ 1.42 หรือคิดเป็น 25 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์[16] แต่มันก็ยังมีความสว่างต่ำกว่าดาวฤกษ์สว่างดวงอื่น เช่น คาโนปุส หรือ ไรเจล ระบบดาวซิริอุสมีอายุเก่าแก่ราว 200-300 ล้านปี[16] แต่เดิมประกอบด้วยดาวสีน้ำเงินสว่างสองดวง ดวงที่มีมวลมากกว่าคือ ซิริอุสบี เผาผลาญเชื้อเพลิงจนหมดและกลายเป็นดาวยักษ์แดง ก่อนจะหดตัวลงและกลายเป็นดาวแคระขาวเช่นในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อ 120 ล้านปีที่แล้ว[16]

ดาวซิริอุสเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวสุนัขใหญ่ สื่อถึงชื่อกลุ่มดาวที่มันสังกัดอยู่ คือ Canis Major (ภาษาละติน แปลว่า สุนัขใหญ่)[17] เป็นดาวที่มีเรื่องเล่าตำนานและนิทานพื้นบ้านเกี่ยวข้องมากมายยิ่งกว่าดาวฤกษ์อื่นๆ นอกเหนือจากดวงอาทิตย์ การปรากฏของดาวซิริอุสที่ขอบฟ้ายามรุ่งสาง เป็นสัญลักษณ์บอกฤดูน้ำหลากของแม่น้ำไนล์ในอียิปต์โบราณ และเป็นวันสำคัญคือ "วันสุนัข" ในฤดูร้อนของกรีซโบราณ ส่วนชาวอาหรับเผ่าคุซาอะหฺก่อนอิสลามกาลก็ได้สักการบูชาดาวดวงนี้ โดยเรียกว่า อัชชิอฺรอ ส่วนชาวโพลินีเชียนใช้ในการระบุการเข้าสู่ฤดูหนาว ทั้งยังเป็นดาวสำคัญที่ใช้นำทางสำหรับการเดินทางในมหาสมุทรแปซิฟิก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Sirius A". SIMBAD Astronomical Database. Centre de Données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 20 October 2007.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Astrometric data, mirrored by SIMBAD from the Hipparcos catalogue, pertains to the center of mass of the Sirius system. See §2.3.4, Volume 1, The Hipparcos and Tycho Catalogues, European Space Agency, 1997, and the entry for Sirius in the Hipparcos catalogue (CDS ID I/239.)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 McCook, G. P.; Sion, E. M. (2014). "Entry for WD 0642-166". VizieR Online Data Catalog. CDS. Bibcode:2016yCat....102035M.
  4. Entry for HR 2491, Bright Star Catalogue, 5th Revised Ed. (Preliminary Version), D. Hoffleit and W. H. Warren, Jr., 1991. (CDS ID V/50.)
  5. For apparent magnitude m and parallax π, the absolute magnitude Mv of Sirius A is given by:
    See: Tayler, Roger John (1994). The Stars: Their Structure and Evolution. Cambridge University Press. p. 16. ISBN 0521458854.
  6. Gatewood, G. D.; Gatewood, C. V. (1978). "A study of Sirius". The Astrophysical Journal. 225: 191–197. doi:10.1086/156480. (p. 195.)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Liebert, James; Young, P. A.; Arnett, David; Holberg, J. B.; Williams, Kurtis A. (2005). "The Age and Progenitor Mass of Sirius B". The Astrophysical Journal. 630 (1): L69–L72. arXiv:astro-ph/0507523. Bibcode:2005ApJ...630L..69L. doi:10.1086/462419. S2CID 8792889.
  8. 8.0 8.1 Holberg, J. B.; Barstow, M. A.; Bruhweiler, F. C.; Cruise, A. M.; Penny, A. J. (1998). "Sirius B: A New, More Accurate View". The Astrophysical Journal. 497 (2): 935–942. Bibcode:1998ApJ...497..935H. doi:10.1086/305489.
  9. 9.0 9.1 Adelman, Saul J. (July 8–13, 2004). "The Physical Properties of normal A stars". Proceedings of the International Astronomical Union. Poprad, Slovakia: Cambridge University Press. pp. 1–11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-03.
  10. From L=4πR2σTeff4. See: Tayler, Roger John (1994). The Stars: Their Structure and Evolution. Cambridge University Press. p. 16. ISBN 0521458854.
  11. Qiu, H. M.; Zhao, G.; Chen, Y. Q.; Li, Z. W. (2001). "The Abundance Patterns of Sirius and Vega". The Astrophysical Journal. 548 (2): 953–965. Bibcode:2001ApJ...548..953Q. doi:10.1086/319000.
  12. Kervella, P.; Thevenin, F.; Morel, P.; Borde, P.; Di Folco, E. (2003). "The interferometric diameter and internal structure of Sirius A". Astronomy and Astrophysics. 407 (2): 681–688. arXiv:astro-ph/0306604. Bibcode:2003A&A...408..681K. doi:10.1051/0004-6361:20030994. S2CID 16678626.
  13. "Sirius B". SIMBAD Astronomical Database. Centre de Données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 23 October 2007.
  14. General Catalogue of Trigonometric Stellar Parallaxes, Fourth Edition, W. F. van Altena, J. T. Lee, and E. D. Hoffleit, Yale University Observatory, 1995. (CDS ID I/238A.)
  15. วิภู รุโจปการ. (2547). เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล. บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 233
  16. 16.0 16.1 16.2 Liebert, J.; Young, P. A.; Arnett, D.; Holberg, J. B.; Williams, K. A. (2005). "The Age and Progenitor Mass of Sirius B". The Astrophysical Journal 630 (1): L69-L72.
  17. Richard Hinckley Allen (1899). Star-names and Their Meanings. New York: G. E. Stechert, 117.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

พิกัด: Sky map 06h 45m 08.9173s, −16° 42′ 58.017″