ณีนา รุจิราภรณ์ ล่ำซำ ลิเกิล
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ณีนา รุจิราภรณ์ ล่ำซำ ลิเกิล หรือ ณีนา ลีเกิล (อังกฤษ: Nina Ligon; เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2533) เป็นนักกีฬาขี่ม้าหญิงทีมชาติไทยเชื้อสายอเมริกัน และเป็นนักกีฬาขี่ม้าหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของทวีปเอเชียที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก[1] ปัจจุบัน ได้รับการอันดับเป็นอันดับที่ 56 ของโลกในกีฬาขี่ม้าในปี ค.ศ. 2011[2]
ประวัติ
[แก้]ณีนาเกิดวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นบุตรสาวของออสติน ลีเกิล นักธุรกิจชาวอเมริกัน กับสมรมิตต์ ล่ำซำ มีพี่ชาย 2 คน ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[ต้องการอ้างอิง] เธอย้ายตามครอบครัวไปอาศัยที่สหรัฐอเมริกาเมื่ออายุได้เพียง 17 วัน เริ่มขี่ม้าจากความที่รักสัตว์มาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
ณีนามีผลงานการแข่งขันขี่ม้ามาแล้วมากมายในระดับนานาชาติ ทั้งเหรียญเงินประเภททีม และที่ 4 ประเภทบุคคล เอเชียนเกมส์ 2010 ที่เมืองกวางโจว ประเทศจีน, 2 เหรียญทอง อีเวนติ้งประเภทบุคคล และประเภททีม ซีเกมส์ 2007 ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี และได้รับรางวัลประเภทนักกีฬาดาวรุ่งอีกมากมาย เช่น สยามกีฬาอวอร์ด, Young Rider of the Year ปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2011 เป็นต้น
ในกีฬาโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็น 1 ในนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ โดยถือเป็นนักกีฬาขี่ม้าเพียงคนเดียว และเป็น 1 ใน 47 นักกีฬาที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมแข่งขันในรายการ Greenwich Olympic Test Event เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 เพื่อทดสอบสนามที่ใช้แข่งขันจริง ที่กรุงลอนดอน
โดยในการแข่งขันโอลิมปิก ณีนาได้ขี่ม้าชื่อ "บัตส์ ลีออน" จบด้วยอันดับ 41 จากนักกีฬาทั้งหมด 74 คน ไม่ได้รับเหรียญรางวัลใด ๆ ในการขี่ม้าประเภทอีเวนติ้ง บุคคล จากการแข่งขันทั้งหมด 3 วัน รวมคะแนนเสียทั้งหมด 91.90 แต้ม[3][4] แม้ว่าเธอจะไม่ได้รับเหรียญรางวัลในครั้งดังกล่าว แต่เธอก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักกีฬาระดับเยาวชนในการตั้งความฝันสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกหลายราย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเสียงซอ เลิศรัตนชัย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "37 ขุนพลเมืองสยามลุยลอนดอนเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ ""ณีนา ล่ำซำ ลิเกิ้น" สุดยอดนักขี่ม้าระดับโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-25. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.
- ↑ [ลิงก์เสีย] "0-2-1"รหัสไทย จบโอลิมปิกไม่หรู (ไม่ได้ใบ้หวย) จากมติชน
- ↑ ""ณีนา" จบอันดับ 41 ขี่ม้าอีเวนท์ติง จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-15.
- ↑ นุเทพ สารภิรมย์. ข่าวสดเยาวชน. ข่าวสด. ปีที่ 22 ฉบับที่ 7,952. วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8218. หน้า 24
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๘, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔