ข้ามไปเนื้อหา

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย
แหลมงอบ ตราด
แผนที่
พิกัด12°10′55″N 102°19′27″E / 12.181973°N 102.324267°E / 12.181973; 102.324267
ประเภทฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
ควบคุมโดยทัพเรือภาคที่ 1
ประวัติศาสตร์
สร้าง31 ตุลาคม พ.ศ. 2513; 53 ปีก่อน (2513-10-31)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองรักษาความปลอดภัย ฐานทัพเรือสัตหีบ

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด (อังกฤษ: Trat Logistics Naval Base ย่อว่า: ฐตร.)[1] หรือ ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 (ย่อว่า: ฐตร.ทรภ.1) เป็นฐานของกองทัพเรือไทยในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ขึ้นตรงต่อทัพเรือภาคที่ 1 ตั้งอยู่ในบ้านอ่าวธรรมชาติ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

ประวัติ

[แก้]

กองทัพเรือ โดยคณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดินกองทัพเรือ ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินจากเอกชนเพื่อใช้สร้างเป็นฐานส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือในช่วงปี พ.ศ. 2505–2513 และได้ดำเนินการรังวัดออกมาเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) เป็นเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 912 ไร่ 1 งาน 55.69 ตารางวา และกองทัพเรือได้ปรับโครงสร้างฐานส่งกำลังบำรุงใหม่เป็นฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ฐานทัพเรือสัตหีบเป็นผู้ใช้ประโยชน์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2513[2]

ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 กองทัพเรือได้อนุมัติในการปรับโครงสร้างของฐานส่งกำลังบำรุง จากเดิมสังกัดฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นทัพเรือภาคที่ 1 เป็นหน่วยขึ้นตรงสังกัดต่อทัพเรือภาคที่ 1[2]

โครงสร้าง

[แก้]

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน[2] ดังนี้

  • กองบังคับการ
  • กองพลาธิการ
    • แผนกตรวจสอบ
    • แผนกควบคุม
    • แผนกคลัง
      • คลังเชื้อเพลิง
      • คลังสรรพาวุธ
      • หมวดบริการ
  • กองโรงงาน
    • แผนกโรงงาน
    • แผนกโรงไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • แผนกโยธา
      • หมวดโยธา
      • หมวดไฟฟ้า
      • หมวดประปา
  • แผนกแพทย์
  • แผนกธุรการ
  • แผนกขนส่ง
  • สถานีสื่อสาร

สายการขึ้นสมทบ

[แก้]

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด มีสายการขึ้นสมทบ ดังนี้

หน่วยประจำการ

[แก้]

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการประจำการ ดังนี้

ทัพเรือภาคที่ 1

[แก้]

กองพลนาวิกโยธิน

[แก้]

ภารกิจ

[แก้]

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด มีภารกิจในการส่งกำลังบำรุง ซ่อมบำรุง ให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ ทางเรือ รวมไปถึงเป็นฐานปฏิบัติการสำหรับเฮลิคอปเตอร์ให้กับกำลังทางบกของกองทัพเรือที่ปฏิบัติการในพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และทำหน้าที่เป็นฐานปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์กองทัพเรือในพื้นที่[2] ในการปฏิบัติการในพื้นที่ชายแดนทางทะเลกับประเทศกัมพูชา[8] รวมถึงเป็นที่ตั้งของกองบังคับการหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน[9]

นอกจากนี้ ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราดยังเป็นหน่วยสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือในการค้นหาและกู้ภัยทางทะเลในพื้นที่จัดหวัดตราด[10][5] ขึ้นความรับผิดชอบกับ หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (นบภ.ฉก.นย.ตราด) รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเกาะกูด[11]

พื้นที่รับผิดชอบ

[แก้]
เกาะช้างและเกาะกูด เป็นพื้นที่รับผิดชอบของฐาน

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบ 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  • พื้นที่ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด
  • พื้นที่เกาะช้าง[12]
  • พื้นที่เกาะกูด

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ตั้งอยู่ที่บ้านธรรมชาติล่าง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด มีเนื้อที่ประมาณ 912 ไร่ ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกใน 3 พื้นที่[2] ดังนี้

พื้นที่ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด

[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ประกอบไปด้วย[2]

  • ท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด
  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
  • ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดดีเซล
  • อ่างเก็บน้ำจืด
  • โรงแปลงความถี่ไฟฟ้าสำหรับสนับสนุนให้กับเรือ ขนาด 250 kVA[13]

ท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด

[แก้]

ท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด มีด้วยกัน 2 สะพานคือ สะพานท่าเทียบเรือเก่า และสะพานท่าเทียบเรือแห่งใหม่ โดยสะพานท่าเทียบเรือแห่งใหม่ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558[14] แล้วเสร็จและทำพิธีเปิดใช้งานไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560 โดย พลเรือโท สุรศักดิ์ เมธยาภา ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1[15] ซึ่งสะพานแห่งใหม่มีความกว้าง 5.8 เมตร มีความยาว 412 เมตร พื้นที่ท่าเรือความกว้าง 15 เมตร ความยาว 75 เมตร สามารถรองรับเรือขนาด 700 ตันกรอส ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดย บริษัท ไอเอสอีที (ประเทศไทย) จำกัด[16] และดำเนินการก่อสร้างโดย บริษัท โปทีม บิลเดอร์ จำกัด ภายใต้วงเงินงบประมาณ 103,006,987 บาท[17]

พื้นที่เกาะช้าง

[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เกาะช้างของฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด อยู่ในพื้นที่สวนหลวง บ้านด่านเก่า มีพื้นที่รวม 2,381 ไร่ ประกอบไปด้วย[2]

  • ท่าเทียบเรือสวนหลวง ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด[18]
  • ถังกักเก็บน้ำจืด
  • โรงแปลงความถี่ไฟฟ้าสำหรับสนับสนุนให้กับเรือ

ท่าเทียบเรือสวนหลวง ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด

[แก้]

ท่าเทียบเรือสวนหลวง ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด เป็นสะพานท่าเทียบเรือบนเกาะช้างของฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด มีความยาวสะพานประมาณ 285 เมตร ด้านปลายมีพื้นที่หลักยึดเรือจำนวน 4 หลัก ความยาวจากหลักที่ 1 ถึงหลักที่ 4 ประมาณ 85 เมตร[a]

พื้นที่เกาะกูด

[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เกาะกูดของฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด อยู่ในพื้นที่ท่าเทียบเรืออ่าวใหญ่ ดูแลในส่วนของอ่างเก็บน้ำและท่าเทียบเรือบนเกาะกูด[2]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จากการวัดความยาวบนภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล แผนที่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Englisn-Naval Organization Name List (PDF). fcsorm.dyndns.org. p. 24.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพเรือ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. pp. 188–192.
  3. "ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๑ พร้อมด้วยคณะ ตรวจเยี่ยมฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  4. "ศรชล.-กปช.จต. ส่งเรือต.รับลูกเรือ น้ำมันหมดกลางทะเลต้องลอยเรือห่างฝั่งกว่า 108 ไมล์ทะเล". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "พบแล้ว! ศพ แหม่มเดนมาร์ก พลัดตกเรือเฟอร์รี่สูญหาย ที่เกาะช้าง". www.thairath.co.th. 2016-01-29.
  6. ":: รายละเอียด ข่าวประกาศประกวดราคา - สอบราคา ::". www.npdwebsite.net.
  7. "Royal Thai Navy - Detail History". marines.navy.mi.th.
  8. admin3 (2024-07-15). "เสธ.ทร.เยี่ยมฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด เน้นย้ำสนับสนุนภารกิจกองทัพเรือและช่วยเหลือปชช". 7-11 STARnews1.
  9. ThaiLand, Kwanjai (2021-05-01). "ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 สั่งการหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ผนึกกำลังทุกหน่วยงานมั่นคงทางทะเล ค้นหาไอซ์ทุกซอกมุมทะเลตราด". เดอะ พัทยานิวส์ The Pattaya News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ทัพเรือภาคที่ ๑ โดยหมวดเรือลาดตระเวนชายแดนส่วนที่ ๑ ส่งเรือช่วยเหลือผู้ป่วยจากเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  11. คำสั่งกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (เฉพาะ) ที่ 654/2561 เรื่อง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (PDF). กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด. 2561.
  12. "ทร.ส่งเรือรบฝ่ามรสุมช่วยนักท่องเที่ยวติดเกาะช้าง". thansettakij. 2019-09-18.
  13. ":: รายละเอียด ข่าวประกาศประกวดราคา - สอบราคา ::". www.npdwebsite.net.
  14. "Poteam Builder | สะพานท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1".
  15. "ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๑ เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานท่าเทียบเรือ ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ ๑ (แห่งใหม่) สำหรับส่งกำลังบำรุง ให้แก่กำลังพลทางเรือของกองทัพเรือ". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  16. "กองทัพเรือ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือ". mgronline.com. 2014-12-18.
  17. "Poteam Builder | สะพานท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1".
  18. ""เฟอร์รี่ดับ" ระทึกกลางทะเลตราด 6 ชม.เหตุใบพัดติดอวนขยะทะเล". Thai PBS.