ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย
ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย, ค.ศ. | |
เกิด | 13 เมษายน ค.ศ. 1940 นิส, ฝรั่งเศส |
สัญชาติ | ชาวฝรั่งเศส, ชาวมอริเชียส |
ชื่ออื่น | J. M. G. Le Clézio |
อาชีพ | นักเขียน |
ผลงานเด่น | Le Procès-Verbal, Désert |
แบบแผนการกล่าวถึง | นวนิยาย, เรื่องสั้น, ความเรียง, งานแปล การพลัดถิ่น, การโยกย้าย, ชีวิตวัยเด็ก, สิ่งแวดล้อม |
ตำแหน่ง | นักเขียน |
รางวัล | รางวัลโนเบล ค.ศ. 2008 |
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม |
ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย หรือเรียกสั้นว่า ฌี.แอม.เฌ. เลอ เกลซีโย (ฝรั่งเศส: Jean-Marie Gustave Le Clézio หรือ J. M. G. Le Clézio, ออกเสียง) (13 เมษายน ค.ศ. 1940 - ปัจจุบัน) ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโยเป็นนักเขียนนักเดินทางรอบโลกและศาสตราจารย์คนสำคัญชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 2008[1] นอกจากนั้น เลอ เกลซีโยผู้มีงานเขียนกว่าสี่สิบชิ้นก็ยังได้รับรางวัลเรอโนโด (Prix Renaudot) สำหรับนวนิยายเรื่อง “Le Procès-Verbal”
ประวัติ
[แก้]มารดาของเลอ เกลซีโยเกิดที่เมืองนิสในริเวียราฝรั่งเศส บิดาบนหมู่เกาะมอริเชียส (ซึ่งเป็นดินแดนของอังกฤษแต่บิดามีเชื้อชาติฝรั่งเศส) บรรพบุรุษของทั้งบิดาและมารดาเดิมมาจากจังหวัดมอร์บีอ็องทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของบริตานี[2] บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดา ฟร็องซัว อาเล็กซิส เลอ เกลซีโย หนีจากฝรั่งเศสพร้อมกับภรรยาและบุตรีในปี ค.ศ. 1798 ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มอริเชียสที่ขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ต่อมาตกไปเป็นของอังกฤษ แต่ชาวอาณานิคมฝรั่งเศสได้รับอนุญาตให้ยังคงรักษาขนบประเพณีและใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ แม้ว่าเลอ เกลซีโยจะไม่เคยไปพำนักอาศัยอยู่ที่มอริเชียสมากไปกว่าครั้งละสองสามเดือน แต่นอกจากเป็นชาวฝรั่งเศสแล้วเลอ เกลซีโยก็ยังดำรงรักษาความเป็นชาวมอริเชียสอยู่[3][4] ฉะนั้นเลอ เกลซีโยจึงเป็นบุคคลสองสัญชาติ--ชาวฝรั่งเศสและชาวมอริเชียส (มอริเชียสได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1968) และเรียกมอริเชียสว่าเป็น “ปิตุภูมิน้อย” (little fatherland)[5][6]
เลอ เกลซีโยเองเกิดที่นิสซึ่งเป็นเมืองเกิดของมารดาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อบิดาไปรับราชการอยู่กับกองทัพบริติชในไนจีเรีย[7] เลอ เกลซีโยเติบโตขึ้นที่รอเกอบีลีแยร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ไม่ไกลจากนิสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1948 เมื่อมารดาและน้องชายย้ายไปสมทบกับบิดาในอาณานิคมไนจีเรีย นวนิยาย “Onitsha” ที่เขียนปี ค.ศ. 1991 เป็นนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ ในปี ค.ศ. 2004 บทความ “The African” บรรยายถึงชีวิตวัยเด็กในไนจีเรียและความสัมพันธ์กับบิดามารดา
หลังจากที่เข้าศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริสตอลในอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1959[8] เลอ เกลซีโยก็ไปได้รับปริญญาตรีที่นิสจากสถาบันวรรณกรรมศึกษา เก็บถาวร 2009-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Institut d’études littéraires) ในปี ปี ค.ศ. 1964 เลอ เกลซีโยได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยพรอว็องส์ โดยการเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกวีและนักเขียนชาวเบลเยียม อองรี มีโช[9]
หลังจากที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนและบริสตอลอยู่หลายปี เลอ เกลซีโยก็ย้ายไปไปเป็นอาจารย์ที่สหรัฐ ระหว่างปี ค.ศ. 1967 ก็ได้เข้ารับราชการในกองทหารฝรั่งเศสในประเทศไทย แต่ไม่นานก็ถูกย้ายไปยังประเทศเม็กซิโกเพราะไปทำการประท้วงต่อต้านการค้าประเวณีเด็ก ระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึงปี ค.ศ. 1974 เลอ เกลซีโยไปใช้ชีวิตอยู่กับชนเผ่า Embera-Wounaan ในปานามา เลอ เกลซีโยสมรสกับเฌเมีย ชาวโมร็อกโก ในปี ค.ศ. 1975 และมีลูกสาวด้วยกันสองคน (เลอ เกลซีโยมีลูกสาวอีกคนหนึ่งจากการสมรสครั้งแรก) ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เลอ เกลซีโยก็แบ่งเวลาระหว่างอัลเบอเคอร์คี (นิวเม็กซิโก), มอริเชียส และ นิส[10]
ในปี ค.ศ. 1983 เลอ เกลซีโยเขียนดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเป็นอาณานิคมของเม็กซิโกแก่ มหาวิทยาลัยแปร์ปีญ็องในหัวเรื่องการพิชิตชาวพูเรเปชา (ที่เดิมเรียกว่า “ทาราสคัน” (“Tarascans”)) ผู้ที่ในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐมิโชอากัน (Michoacán) ดุษฎีนิพนธ์ได้รับการนำไปพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษาสเปนในปี ค.ศ. 1985[11]
เลอ เกลซีโยเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก และมักจะเดินทางไปเยือนประเทศเกาหลีใต้ เลอ เกลซีโยสอนภาษาฝรั่งเศสและวรรณคดีที่ Ewha Womans University ในโซล ระหว่างปีการศึกษา 2007[12][13]
งานเขียน
[แก้]นวนิยาย
[แก้]- Le Procès-Verbal (The Interrogation)
- Le Jour où Beaumont fit connaissance avec sa douleur
- Le Livre des fuites (The Book of Flights: An Adventure Story)
- Le déluge (The Flood)
- Terra amata (Terra amata)
- La Guerre (War)
- Voyages de l'autre côté
- Désert (Desert)
- Le Chercheur d'or (The prospector)
- Étoile errante (Wandering Star : a Novel)
- Onitsha (Onitsha)
- La Quarantaine
- Poisson d'or
- Hasard suivi de Angoli Mala
- Fantômes dans la rue
- Révolutions
- Ourania
- Ritournelle de la faim
บทความ
[แก้]- Le Rêve mexicain ou la pensée interrompue (The Mexican Dream, Or, The Interrupted Thought of Amerindian Civilizations)
- Conversations avec J.M.G. Le Clézio
- Haï
- Mydriase
- Vers les icebergs (Essai sur Henri Michaux)
- L'Inconnu sur la Terre
- Trois Villes saintes
- Dans la maison d'Edith
- Sur Lautréamont
- Diego et Frida
- Ailleurs
- Enfances
- Le Llano en flammes
- L'Extase matérielle
- L’Africain
- Une lettre de J.M.G. Le Clezio
- Ballaciner
- La liberté pour Rêver (Freedom to Dream)
and - La liberté pour parler (Freedom to Speak)
- Sur la lecture comme le vrai voyage (On reading as true travel)
อนุทินบันทึกการเดินทาง
[แก้]งานแปล
[แก้]หนังสือสำหรับเยาวชน
[แก้]- Celui qui n'avait jamais vu la mer (The Boy Who Had Never Seen the Sea)
- Lullaby
- Les Géants (The Giants)
- Voyage au pays des arbres
- Villa Aurore ; suivi de, Orlamonde
- Villa Aurore
- L'enfant de sous le pont
- La Grande Vie suivi de Peuple du ciel
- Peuple du ciel, suivi de 'Les Bergers
- Balaabilou
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]รางวัล
[แก้]Year | Prize | Work |
1963 | prix Théophraste-Renaudot | Le Procès-Verbal (The Interrogation) |
1972 | prix littéraire Valery-Larbaud | For his complete works[14] |
1980 | grand prix de littérature Paul-Morand, awarded by the Académie française | |
1997 | Mécénat des prix Jean Giono[15] | Poisson d'or |
1998 | prix Prince-de-Monaco | For his complete works and upon publication of Poisson d'or [16] |
2008 | Stig Dagermanpriset | for his complete works and upon publication of Swedish translation of a travelogue Raga. Approche du continent invisible[17] |
2008 | Nobel Prize in Literature |
เกียรติยศ
[แก้]- He was made Chevalier (Knight) of the Légion d'honneur on 25 October 1991[18] and was promoted to Officier (Officer) in 2009 [19]
- In 1996, he was made Officier (Officer) of the Ordre national du Mérite.[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ nobelprize.org: The Nobel Prize in Literature 2008
- ↑ "A Frenchman and a geographer". 5th paragraph. London: review is taken from the TLS. April 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-04. สืบค้นเมื่อ 9 December 2008.
"Le Clézio's family were originally from Morbihan on the west coast of Brittany. At the time of the Revolution, one of his ancestors, who had refused to enlist in the Revolutionary Army because they had insisted he cut his long hair, fled France with the intention of reaching India, but disembarked on Mauritius, and stayed there
- ↑ "Internet might have stopped Hitler". comcast.net. 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 12 December 2008.
Though he was born in France, Le Clézio's father is British and he holds dual nationality with Mauritius, where his family has roots
- ↑ "A Frenchman and a geographer". Adrian Tahourdin. London: The Times Literary Supplement. 2006-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-04. สืบค้นเมื่อ 11 December 2008.
"Le Clezio regards himself as Franco-Mauritian
- ↑ Angelique Chrisafis (2008-10-10). "Nobel award restores French literary pride". The Guardian.
He has joint Mauritian citizenship and calls the island his "little fatherland
- ↑ "Jean-Marie Gustave Le Clezio wins the 2008 Nobel Literature Prize". London: Times Online. 2008-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
Le Clézio, who was born in Nice and has lived in England, New Mexico and South Korea, said that he was touched by the honour. He mentioned his British father, a surgeon, and his childhood in Mauritius and Nigeria. “I was born of a mix, like many people currently in Europe,” he said.
- ↑ della Fazia Amoia, Alba; Alba Amoia; Bettina Liebowitz (2009). Multicultural Writers Since 1945. Westport,Connecticut: Greenwood Publishing Group. ISBN 9780313306884.
- ↑ "Jean-Marie Gustave Le Clézio wins Nobel Prize". University of Bristol. 2008-10-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
- ↑ Marshall, Bill; Cristina Johnston. France and the Americas. ABC-CLIO, 2005. ISBN 1851094113. p.697
- ↑ Pollard, Niklas; Estelle Shirbon (2008-10-09). ""Nomadic" writer wins Nobel prize". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
- ↑ Le Clézio, La Conquista divina de Michoacán. Fondo de Cultura Económica
- ↑ Lee Esther (2008-01-02). "Acclaimed French author praises Korean literature". JoongAng Daily.
- ↑ Yonhap News (2008-10-09). "한국과 각별한 인연 가진 르클레지오" (ภาษาเกาหลี). Dong-a Ilbo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
- ↑ "Prix Valery Larbaud". Prix littéraires. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
Pour l'ensemble de son oeuvre
- ↑ "Prix Jean Giono" (ภาษาฝรั่งเศส). Fondation Pierre Bergé - Yves Saint Laurent. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16."Grand Prix Jean Giono". Prix littéraires. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
- ↑ pour l'ensemble de son œuvre, à l'occasion de la sortie de Poisson d'or 2008
- ↑ "Ritournelle de la faim - Jean-Marie-Gustave Le Clézio". Ses Prix et Récompenses (ภาษาฝรั่งเศส). ciao.fr. 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
pour l'ensemble de son œuvre, à l'occasion de la sortie suédoise de Raga. Approche du continent invisible
- ↑ "Décret du 31 décembre 2008 portant promotion et nomination". JORF. 2009 (1): 15. 2009-01-01. PREX0828237D. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
- ↑ "Simone Veil, Zidane et Lagardère décorés". C.M. (lefigaro.fr) avec AFP (ภาษาฝรั่งเศส). lefigaro.fr. 2009-01-01. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
Le Clézio est pour sa part élevé au grade d'officier
- ↑ "ORDRE NATIONAL DU MERITE Décret du 14 novembre 1996 portant promotion et". JORF. 1996 (266): 16667. 1996-11-15. PREX9612403D. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย
- งานโดยหรือเกี่ยวกับ ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต
- J.M.G. Le Clézio (1940-) เก็บถาวร 2008-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Biography, from `Books and Writers`.
- Interview with Jean-Marie Gustave Le Clézio เก็บถาวร 2008-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Label France No. 45 (English)
- J.M.G Le Clézio เก็บถาวร 2010-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน -- Photos by Mathieu Bourgois.
- J.M.G. Le Clézio, about his Breton origins.
- "Nobel Goes Global With Literary Prize", by Bob Thompson, Washington Post, October 10, 2008
- "A Nobel Undertaking: Getting to Know Le Clézio ", by Richard Woodward, Wall Street Journal, Oct. 30, 2008
- "J. M. G. Le Clézio, Nobel laureate" เก็บถาวร 2011-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: a collection of pieces on Clézio, from TLS, October 9, 2008
- Artelittera Many chapters of studies about Le Clezio to upload
- J.M.G. Le Clézio: A French NovelistWins 2008 Nobel Prize for Literature เก็บถาวร 2011-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเขียนนวนิยายชาวฝรั่งเศส
- นักเขียนเรื่องท่องเที่ยว
- นักเขียนบทความ
- นักเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน
- บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 21
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
- ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- บุคคลจากนิส
- ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายมอริเชียส
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยบริสตอล
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพรอว็องส์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์