ซูส
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ซูส | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า สายฟ้า ฟ้าผ่า กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม | |
Jupiter de Smyrne ค้นพบในสเมอร์นาในปี 1680 | |
ที่ประทับ | ยอดเขาโอลิมปัส |
สัญลักษณ์ | สายฟ้า นกอินทรี กระทิงและโอ๊ก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ฮีรา ฯลฯ |
บุตร - ธิดา | แอรีส อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอโฟรไดที ไดอะไนซัส ฮีบี เฮอร์มีส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย ฮิฟีสตัส เพอร์ซิอัส ไมนอส มิวส์ คาริทีส เคทอร์ส |
บิดา-มารดา | โครนัสและรีอา |
พี่น้อง | เฮสเตีย เฮดีส ฮีรา โพไซดอน ดีมิเทอร์ |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | จูปิเตอร์[1] |
ตามคติศาสนากรีกโบราณ ซูส หรือ ซิวส์ (อังกฤษ: Zeus; กรีกโบราณ: Ζεύς, อักษรโรมัน: Zeús [zdeǔ̯s] ซฺเดอุส) เป็นบิดาแห่งเทพและมนุษย์ (กรีกโบราณ: πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) เป็นเทวราชผู้ปกครองเทพเจ้าแห่งโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัว พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก
ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส[2]
วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์"[3] ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ"[4] เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ
สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta)[5] ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก์
ตำนานของเทพซูส
[แก้]กำเนิดของซูส
[แก้]ตำนานการถือกำเนิดของเทพซูสมีอยู่ว่า เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อ ๆ มาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่าง ๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่เคยทำไว้กับบิดา
เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซูส ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้ จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 5 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส
ซูสวัยเยาว์
[แก้]รีอาได้ซ่อนซูสไว้ถ้ำตั้งอยู่ที่เทือกเขาไอด้าในกรีก ตามเทพปกรณัมเล่าขานกันไว้หลายเรื่องราว ดังนี้:
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของไกอา
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของแซเทอร์ นามว่าอมัลธีอา โดยมีกลุ่มของคูรีเตส— เหล่าทหาร หรือเหล่าเทพเจ้าตัวเล็ก ๆ ที่ใช้หอกและโล่ห์มากระทบกันเกิดเสียงดังจนโครนัสไม่ได้ยินเสียงเด็กร้อง(ดู โครนูโคเปีย)
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของนางไม้นามว่า อดาแมนธีอา โครนัสได้ตั้งกฏเพื่อปกครอง ผืนดิน, ท้องฟ้า และท้องทะเล นางจึงซ่อนพระองค์ โดยการห้อยองค์หลวม ๆ ด้วยเชือกที่ผูกไว้กับต้นไม้ ทำให้พระองค์ไม่อยู่ในผืนดิน ท้องฟ้า และท้องทะเล ด้วยประการนี้ โครนัส ผู้เป็นบิดาจึงมองไม่เห็น
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของนางไม้ นามว่า ไซโนซูรา และด้วยความกตัญญู ภายหลังซูสโปรดให้นางสถิตย์ท่ามกลางดวงดาว
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของเมลิสซา ผู้ถนอมเลี้ยงดูซูสด้วยนมแพะและน้ำผึ้ง
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของครอบครัวเลี้ยงแกะ ภายใต้คำสัญญาที่ว่า แกะของพวกเขาจะปลอดภัยจากหมาป่า
มหาเทพ
[แก้]เมื่อซูสเติบโตถึงวัยหนุ่ม พระองค์ได้บังคับให้โครนัสสำรอกหินออกมา (หินตั้งอยู่ ณ ไฟโต ใต้หุบเขา ปาร์นาซัส เป็นสัญลักษณ์ของเหล่ามนุษย์, ออมฟาลอส) ตามมาด้วยเหล่าพี่น้องของพระองค์ บางตำนานกล่าวถึง มีทิส ว่าเป็นผู้ปรุงยาให้โครนัสสำรอกลูก ๆ ออกมา บ้างก็ว่า ซูสเป็นผู้ผ่าท้องของโครนัส แล้วพาพี่น้องออกมา รวมถึงปลดปล่อย ไจแอนเตส, ฮีคาโตนไคเรส และ ไซคลอปส์ จาก ขุมนรกทาร์ทารัส และสังหารผู้คุม แคมเป้
ด้วยความขอบคุณ เหล่าไซคลอปส์มอบ อัสนีบาต และ สายฟ้า หรือฟ้าผ่า ให้แก่ซูส ซึ่งก่อนหน้านี้ไกอานำไปซ่อนไว้ ซูสและพี่น้องทั้งหมด รวมถึงพวกไจแอนเตส ฮีคาโตนไคเรส และไซคลอปส์ได้ร่วมกันโค่นโครนัสและยักษ์ตนอื่น ๆ ในมหาสงคราม ไททันโนมาชี เหล่ายักษ์ที่พ่ายแพ้โดนส่งไปยังขุมนรกทาร์ทารัส แอตลาส ผู้นำของกลุ่มยักษ์ที่ต่อต้านซูส โดนโทษให้แบกท้องฟ้าไว้ตลอดเวลา
หลังเสร็จสิ้นสงครามครั้งนั้น ซูสได้ร่วมกันปกครองโลกกับพี่น้อง ซึ่งก็คือ โพไซดอน และ ฮาเดส ดังนี้: ซูสปกครองสวรรค์ โพไซดอนปกครองท้องทะเล และฮาเดสปกครองโลกหลังความตาย มารดาแห่งผืนดิน ไกอา ยอมรับไม่ได้ที่เป็นเช่นนั้น พระนางได้บันดาลให้ส่วนของโพไซดอนมีเหตุแผ่นดินไหว (โพไซดอน - เทพเจ้าแห่งแผ่นดินไหว) และทำให้ฮาเดสถูกกล่าวหาว่าทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย (อ่านได้ที่ เพนธัส)
ไกอาโกรธแค้นซูสที่สังหารเหล่ายักษ์ซึ่งเป็นลูกของนาง หลังจากซูสขึ้นปกครองเหล่าเทพ พระนางได้ปล่อยสัตว์ร้าย ไทฟอน และ เอไคนา แต่ซูสปราบไทฟอนและขังเขาไว้ใต้หุบเขาเอตน่า ส่วนเอไคนา พระองค์ปล่อยให้นางและลูกๆได้มีชีวิตอยู่ต่อไป
ซูสกับฮีรา
[แก้]ซูสเป็นทั้งน้องชายและคู่ครองของเฮรา บุตรของทั้งคู่คือ แอรีส, ฮีบี และ ฮีฟีสตัส, แต่ในบางตำนานเล่าว่า เทพเจ้าเหล่านี้เป็นบุตรของเฮราแต่ผู้เดียว บ้างก็กล่าวว่ามีบุตรสาวนามว่า อีไลธียา และ อีรีส เรื่องราวของซูสและนางไม้ รวมถึงการกำเนิดตระกูล เฮลเลนิค เป็นที่โด่งดังมาก ตำนานโอลิมเปียมีอ้างถึงการสมรสของซูสกับลีโต, ดีมีเตอร์, ไดโอนี และไมอา รวมถึงมนุษย์นาม ซีมีลี, ไอโอ, ยูโรปา และลีดา และแกนีมีด (ถึงแม้ว่าจะเป็นมนุษย์ ซูสก็ได้ประทานความอมตะให้แก่เขา)
ในหลายตำนานมักกล่าวถึงฮีราในเรื่องของความหึงหวงและแค้นเคืองต่อซูส เหล่าภรรยาลับและลูก ๆ ของพวกเขา ครั้งหนึ่งนางไม้ เอคโค ชวนพระนางคุยจนกระทั่งพระนางไล่ตามซูสไม่ทัน เมื่อพระนางทราบความจริงได้สาปเอคโคให้พูดได้แต่เพียงเสียงตามผู้อื่นเท่านั้น
การโค่นอำนาจไททันโครนอส
[แก้]ความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซูสถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเทพีไกอาผู้เป็นย่าได้นำทารกซีอุสไปซ่อนไว้ในหุบเขาดิกเทอ ในเกาะครีต ซีอุสกินอาหารคือน้ำผึ้งและน้ำนมจากนิมฟ์ครึ่งแพะที่ชื่อว่า อะมาลไธอา ซึ่งในภายหลังซีอุสได้ได้สร้างนางให้เป็นกลุ่มดาวแพะ หรือกลุ่มดาวมกรในจักรราศีและมีครึ่งเทพครึ่งแพะแห่งป่าที่เล่นฟลุทอยู่ตลอดเวลาชื่อแพนเป็นผู้ให้การศึกษา เมื่อซีอุสเติบใหญ่แข็งแรงจึงหวนกลับไปแก้แค้นโครนอสผู้เป็นเทพบิดาตามคำร้องขอของเทพีมารดา
รีอาได้หลอกให้โครนอสกินยาที่จะทำให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพีเฮสเตีย เทพีแห่งไฟและเทพีผู้คุ้มครองครอบครัว เป็นเทพีครองพรหมจรรย์ 2.เทพี ดิมีเตอร์ เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซูสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน หรือ โพรเซอพิน่าผู้เป็นชายาของฮาเดส 3.เทพี ฮีรา เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซูส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซูส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส 4.เทพเฮดีส เจ้าแห่งโลกบาดาล ปกครองยมโลก มีเทพีเพอร์เซฟะนีเป็นมเหสี 5.เทพโพไซดอน เจ้าแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทรท์ หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
เมื่อเทพทั้งห้าได้ออกมาจากท้องของโครนัสแล้วจึงร่วมกับซูสปราบโครนัสและส่งโครนัสไปขังไว้ที่ทาร์ทะรัส ซูสได้รับตำแหน่งเทพผู้นำของเหล่าเทพ เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส แม้ว่าเหล่าเทพทุกองค์จะยอมยกตำแหน่งผู้นำให้กับซูสในทีแรก แต่ในตอนหลังเหล่าเทพต่าง ๆ ก็ต่างพากันหาหนทางในการยึดอำนาจมาเป็นของตนเองอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮราผู้เป็นชายาของซูส ได้พยายามที่จะรวบรวมเหล่าเทพเพื่อก่อการกบฏอยู่เสมอ แต่ในท้ายที่สุดซูสก็สามารถที่แก้ไขปัญหา และจับตัวนางมาลงโทษได้อยู่เสมอ
ชายาและบุตรของซูส
[แก้]ชายาที่เป็นเทพ
ชายา | บุตร/ธิดา |
---|---|
อาอิกซ์ | อาจิพาน |
อานานกี | มอยรี หรือ เฟต |
ไดโอนี | แอโฟรไดที |
ไกอา | 1. โอริออน
2. มาเนส บิดาแห่งอาทีส |
ดิมีเทอร์ | 1. เพอร์เซฟะนี
|
ฮีรา | 1. อาเรส
2. ไอไลธีเอีย 3. ฮีบี 4. ฮิฟีสตัส |
อีออส | 1. เออร์ซา
2. คาเรอี |
เอริส | ไลมอส |
ลีโต | 1. อพอลโล
2. อาร์ทิมิส |
ไมอา | เฮอร์มีส |
เมทิส | อะธีนา |
นีโมซีเน่ | มิวส์
1. คัลลิโอพี 2. คลิโอ 3. เอราโต 4. ยูเทอเพ 5. เมลโพมีนี 6. โพลิฮิมเนีย 7. เทอร์พซิคอเร 8. ธาเลีย 9. ยูเรเนีย |
เพอร์ซิโฟเน | 1. ซากริอุส
2. เมลิโนอี |
ซีลีนี | 1. เออร์ซา
3. แพนเดีย |
ธีมิส | 1. อัสทราเอีย
2. เนเมซิส 3. โฮรี |
ชายาที่เป็นมนุษย์/นิมฟ์/และอื่นๆ
แอจิน่า | แออาคัส |
อัลค์เมนา | เฮราคลีส |
อันติโอพี | 1. อัมฟีออน
2. ซีธุส |
คาลิสโต | อาร์คัส |
คาร์มี | ไบรโตมาทิส |
ดานาอี | เพอร์ซิอุส |
เอลารา | ทีทีอัส |
อีเล็กตรา | 1. ดาร์ดานัส
2. อิอาซิออน |
ยูโรปา | 1. ไมนอส
2. ราดามันธิส 3. ซาเพดอน |
ยูริโนมี | คาริเทส หรือ เกรซ
1. อากลาเอีย 2. ยูโฟรซินี 3. ธาเลีย |
ฮิมาเลีย | 1. โครนิออส
2. สปาร์ไทออส 3. ไคทอส |
ไอโอดามี | ธีบี |
ไอโอ | 1. เอพาฟุส
2. เคโรเอสซ่า |
ลามิอา | |
ลาโอดาเมีย | ซาร์เพดอน |
ลีดา | 1. โพลีดิวซีส (พอลลักซ์)
2. แคสเตอร์ |
แมรา | โลครุส |
ไนโอบี | 1. อาร์กัส
2. เพลาสกัส |
โอเธรอิส | เมไลเธอุส |
โพลอูโต | แทนทาลัส |
พดากี | 1. บาลิอุส
2. แซนทัส |
เฟียรฮ์รา | เฮลเลน |
ซีมีลี | ไดโอไนซูส |
ทาอีกีที | ลาซีดาอีมอน |
มารดาที่ไม่รู้จัก | ลิทาอี |
มารดาที่ไม่รู้จัก | ทีเช่ |
มารดาที่ไม่รู้จัก | อาที |
| บาส เซอร์รี่ | 1. บาซีส | [[ปอนด์ ลิลลี่] | 1. ลิตสติก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
- ↑ Hamilton, Edith (1942). Mythology (1998 ed.). New York: Back Bay Books. p. 467. ISBN 978-0-316-34114-1.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Iliad, หนงสือ 1.503; 533
- ↑ พอซาเนียส, 2. 24.2.
- ↑ Νεφεληγερέτα. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project.
- ↑ Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.; Johannes Hahn: Gewalt und religiöser Konflikt; The Holy Land and the Bible เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .