ข้ามไปเนื้อหา

ซัลซา (ซอส)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัลซา
ซัลซาหลายชนิด ตามเข็มนาฬิกาจากบน: อาบาเนโร ชิโปตเล และชิมิชูร์ริ
ประเภทซอส
ภูมิภาคเม็กซิโก
ส่วนผสมหลักหลากหลาย

ซัลซา เป็นอาหารประเภทซอสชนิดหนึ่งในอาหารยุโรปและลาตินอเมริกา คำว่าซัลซาเองนั้นหมายถึงซอสในภาษาสเปน ภาษาอิตาลี ภาษากรีก และภาษาตุรกี (salça) ส่วนในภาษาอังกฤษ ซัลซาหมายถึงซอสชนิดหนึ่งในอาหารเม็กซิโก (salsas picantes) ซึ่งใช้เป็นเครื่องจิ้ม ลักษณะของซัลซาเป็นซอสที่ทำจากผักและผลไม้หั่นเป็นชิ้น เช่น มะเขือเทศ แตงกวา มะม่วง ใส่พริก หอมแดง ถั่ว ข้าวโพด และเครื่องเทศอื่น ๆ คลุกกับน้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชู กินกับอาหารทะเล รสชาติมีตั้งแต่ปานกลางจนถึงเผ็ด

การออกเสียงและที่มาของคำ

[แก้]

คำว่าซัลซาในภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำยืมมาจากภาษาสเปน หมายถึงซอส รากศัพท์ดั้งเดิมมาจากภาษาละติน salsvs ("เค็ม") ผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาแม่ออกเสียงว่า [ˈsalsa] ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันออกเสียงว่า /ˈsɑːlsə/ ส่วนภาษาอังกฤษแบบบริติชออกเสียงว่า /ˈsælsə/

ซัลซามะม่วงและสับปะรด ใส่พริกคาลาเปโญ หอมแดง และผักชี

ความสำคัญของการเก็บรักษา

[แก้]

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าจำเป็นต้องระมัดระวังในการเตรียมและการเก็บรักษาซัลซาเช่นเดียวกับซอสอื่น ๆ เพราะส่วนผสมที่เป็นของดิบสามารถเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อไม่แช่เย็น[1] ดังที่มีรายงานการพบการปนเปื้อน E. coli ในซอสของภัตตาคาร[2] และโรคที่เกิดจากอาหาร 1 ใน 25 ระหว่าง พ.ศ. 2541 - 2551 สามารถติดตามได้ว่ามีที่มาจากซอสในภัตตาคาร ทั้งการเตรียมและการเก็บรักษา[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Larry R. Beuchat. "Surface decontamination of fruits and vegetables eaten raw: a review" (PDF). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.
  2. Javier A. Adachi, John J. Mathewson, Zhi-Dong Jiang, Charles D. Ericsson, and Herbert L. DuPont. Annals of Internal Medicine, June 2002, Vol. 136, pp. 884–887.
  3. "Salsa and Guacamole Increasingly Important Causes of Foodborne Disease". สืบค้นเมื่อ July 23, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]