ซัมซัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ่อซัมซัม
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
อาหรับ: زَمْزَمُ
บ่อซัมซัมในนิทรรศการสถาปัตยกรรมมัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองของพิพิธภัณฑ์[1]
ที่ตั้งมัสยิดอัลฮะรอม มักกะฮ์
พิกัด21°25′19.2″N 39°49′33.6″E / 21.422000°N 39.826000°E / 21.422000; 39.826000พิกัดภูมิศาสตร์: 21°25′19.2″N 39°49′33.6″E / 21.422000°N 39.826000°E / 21.422000; 39.826000
พื้นที่ลึกประมาณ 30 เมตร (98 ฟุต) และ 1.08 ถึง 2.66 เมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว ถึง 8 ฟุต 9 นิ้ว)
ก่อตั้งตามธรรมเนียม ประมาณ 2400 ปีก่อนคริสตกาล
ผู้ดูแลรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย
ซัมซัมตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย
ซัมซัม
ที่ตั้งของบ่อซัมซัมในมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

บ่อซัมซัม (อาหรับ: بِئْرُ زَمْزَمَ) เป็นชื่อบ่อน้ำที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกะอ์บะฮ์ราว 20 เมตร[2] ตั้งอยู่ ณ ใจกลางมัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ มีมาก่อนท่านนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อบ่อน้ำมาจากประโยค Zomë Zomë หมายถึง "หยุดไหล" ซึ่งเป็นคำสั่งของฮาญัรในตอนที่เธอพยายามกันน้ำพุ[2][ไม่แน่ใจ ]

ประวัติ[แก้]

เมื่อนางฮาญัร ภรรยาคนที่สองของท่านนบีอิบรอฮีม[3] และมารดาของอิสมาอีล[4] ถูกทอดทิ้งที่กลางทะเลทราย ท่ามกลางที่ราบต่ำแห่งมักกะฮ์ ซึ่งไม่มีต้นไม้และน้ำ นางจึงทิ้งบุตรชาย (ท่านนบีอิสมาอีล) ที่กำลังกระหายน้ำบนพื้นดิน และวิ่งเสาะหาน้ำระหว่างเนินเขาเศาะฟากับมัรวะฮ์ เมื่อท่านนบีอิสมาอีลที่กำลังกระหายน้ำอย่างจัดนั้นก็ร้องไห้ เท้าก็ดันพื้นจนเป็นร่อง สักครู่ก็มีตาน้ำไหลออกมา บางรายงานกล่าวว่า อัลลอฮ์ส่งเทวทูตญิบรีลตีพื้นดินด้วยส้นเท้า (หรือปีก) และน้ำก็พุ่งออกมา[5] เมื่อนางฮาญัรกลับมาดูลูก ก็เห็นว่าบุตรชายตัวน้อย ๆ ของตนกำลังก่อทรายกั้นน้ำไม่ให้ไหลไปทางอื่น ปากก็กล่าวว่า ซัมซัม ซัมซัม แปลว่า ล้อม ๆ ล้อม ๆ ตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวอาหรับทราบข่าวของตาน้ำ ที่กลายเป็นบ่อน้ำที่มีน้ำมหาศาล ก็พาปักหลักที่นั่นจนแผ่นดินแห่งบักกะหฺ (ชื่อเดิมของมักกะหฺ)ได้กลายเป็นเมือง และเป็นศูนย์กลางของอารเบีย

ต่อมาตระกูลญุรฮุมแห่งเผ่าเกาะฮ์ฏอนถูกเผ่าคุซาอะฮ์ขับไล่ออกจากมักกะฮ์ พวกเขาจึงเก็บทรัพย์สิน อีกทั้งยังทำลายบ่อน้ำซัมซัมด้วยการเอาดินถมปิดบ่อ ก่อนที่จะอพยพออกจากเมืองมักกะฮ์ เมื่อบ่อน้ำถูกดินกลบมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ผู้คนก็ไม่รู้สถานที่อันเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำซัมซัมอีกต่อไป ครั้งหนึ่งอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของท่านนบีมุฮัมมัด ฝันเห็นตำแหน่งของบ่อน้ำซัมซัม จึงชวนลูกชายชื่อฮาริษไปขุด ก็พบกับตาน้ำซัมซัม อับดุลมุฏฏอลิบจึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าของบ่อน้ำซัมซัมตั้งแต่นั้นมา

รายงานจากธรรมเนียมอิสลาม อิบรอฮีมสร้างบัยตุลลอฮ์ ("บ้านของอัลลอฮ์") ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเคยถูกสร้างโดยอาดัม ใกล้ ๆ บ่อ โดยตัวบ่ออยู่ทางทิศตะวันออกของกะอ์บะฮ์ประมาณ 20 เมตร (66 ฟุต)[2] ส่วนอีกธรรมเนียมหนึ่งกล่าวว่า มีการควักหัวใจจของมุฮัมมัดออกจากร่างกายแล้วล้างมันด้วยน้ำซัมซัม และนำไปใส่ใหม่อีกครั้ง[6]

ข้อมูลทางเทคนิค[แก้]

บ่อซัมซัมถูกขุดด้วยมือ และมีความลึกประมาณ 30 เมตร (100 ฟุต) กับเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.08 ถึง 2.66 เมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว ถึง 8 ฟุต 9 นิ้ว) เดิมมีการนำน้ำเหล่านี้มาผ่านการดึงเชือกและตะกร้า แต่ปัจจุบันตัวบ่ออยู่ที่ชั้นใต้ดินหลังกระจกแก้ว (ไม่อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเข้าไป) และใช้เครื่องสูบน้ำไปทั่วมัสยิดอัลฮะรอมผ่านแหล่งน้ำและตู้จ่ายน้ำใกล้เขตเฏาะวาฟ[2]

น้ำซัมซัมไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติที่โดดเด่น ด้วยค่า pH ที่ 7.9– 8 และมีแอลคาไลน์นิดหน่อย[7]

ความเข้มข้นของแร่ธาตุ
จากรายงานโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด[8]
แร่ธาตุ ความหนาแน่น
มิลลิกรัม/ลิตร ออนซ์/ลูกบาศก์นิ้ว
โซเดียม 133 7.7×10−5
แคลเซียม 96 5.5×10−5
แมกนีเซียม 38.88 2.247×10−5
โพแทสเซียม 43.3 2.50×10−5
ไบคาร์โบเนต 195.4 0.0001129
คลอไรด์ 163.3 9.44×10−5
ฟลูออไรด์ 0.72 4.2×10−7
ไนเตรต 124.8 7.21×10−5
ซัลเฟต 124.0 7.17×10−5
ของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 835 0.000483

ความปลอดภัย[แก้]

มีการดื่มน้ำจากบ่อซัมซัมทุกวัน ด้วยกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างสามตัวอย่างจากบ่อน้ำ และตัวอย่างเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบในศูนย์กระจายน้ำซัมซัมสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูดที่เมืองเมกกะ ซึ่งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกขั้นสูง[9]

ฝ่ายบริหารซาอุได้ปรับปรุงบ่อซัมซัมใหม่ใน ค.ศ. 2018 โดยการทำให้พื้นที่รอบซัมซัมปราศจากเชื้อผ่านการกำจักเศษคอนกรีตและเหล็กใต้เพดานเก่าของมัสยิดใหญ่[10][11][12][13] ในเดือนเราะมะฎอน จะมีการชืมตัวอย่าง 100 อันเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำยังคงมีคุณภาพดี[14]

ความสำคัญของน้ำซัมซัมในอิสลาม[แก้]

น้ำซัมซัมนอกจากจะมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังถือว่าเป็นน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคล ผู้คนจากทุกสารทิศจะบรรจุน้ำซัมซัมเพื่อพากลับไปยังประเทศของตน เพื่อเป็นของขวัญแก่ญาติพี่น้อง มีรายงานจากนบีมุฮัมมัดว่า น้ำซัมซัมเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

อ้างอิง[แก้]

  1. "Exhibition of the Two Holy Mosques' Architecture". Madain Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Zamzam Studies and Research Centre". Saudi Geological Survey (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2013. สืบค้นเมื่อ June 2, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  3. Bible. Genesis 16:3 A Hebrew – English Bible, Retrieved July 13, 2011
  4. Kazmi, Aftab (May 4, 2011). "UAE residents told to avoid buying Zam Zam water". Gulf News gulfnews.com. Gulf News Broadcasting. สืบค้นเมื่อ May 5, 2011.
  5. Mahmoud Isma'il Shil and 'Abdur-Rahman 'Abdul-Wahid. "Historic Places: The Well of Zamzam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2008. สืบค้นเมื่อ August 6, 2008.
  6. "Sahih Muslim Book 001, Hadith Number 0314". Hadith Collection.
  7. Alfadul, Sulaiman M.; Khan, Mujahid A. (October 12, 2011). "Water quality of bottled water in the kingdom of Saudi Arabia: A comparative study with Riyadh municipal and Zamzam water". Journal of Environmental Science and Health, Part A. Taylor & Francis. 46 (13): 1519–1528. doi:10.1080/10934529.2011.609109. PMID 21992118. S2CID 21396145.
  8. Nour Al Zuhair, et al. A comparative study between the chemical composition of potable water and Zamzam water in Saudi Arabia. KSU Faculty Sites, Retrieved August 15, 2010
  9. Badea Abu Al-Naja (May 7, 2011). Kingdom rejects BBC claim of Zamzam water contamination. Arab News, retrieved June 2, 2014
  10. "Sacred Zamzam well to go under renovation". Dhaka Tribune. 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  11. "Zamzam project to be ready before Ramadan". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  12. "Zamzam well to be renovated before Ramadan". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  13. "100 samples of Zamzam water tested everyday". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  14. "100 samples of Zamzam water tested everyday". Saudi Gazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  • Hawting, G. R. (1980). "The Disappearance and Rediscovery of Zamzam and the 'Well of the Ka'ba'". Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London. 43 (1): 44–54. doi:10.1017/s0041977x00110523. JSTOR 616125.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Careem, S. H. A. "The Miracle of Zamzam". Sunday Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2005. สืบค้นเมื่อ June 5, 2005. Provides a brief history of the well and some information on the claimed health benefits of Zamzam water.