ชโยติ (เทวีในศาสนาฮินดู)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชโยติเทวี
เทพีแห่งแสงสว่าง ยัญโหมะ
บุคลาธิษฐานของหอกศากตยุทธ
ส่วนหนึ่งของ เทวีในศาสนาฮินดู
เทวรูปชโยติเทวีศิลปะแบบประเพณีอินเดียปัจจุบันแบบท้องถิ่น
ชื่ออื่นชโยศนะ (ज्योत्सना)
กัลยาณี (कल्याणी)
ยัญเญศวรี (यज्ञेश्वरी)
เคารีนันทินี (गौरीनंदिनी)
ศิวะสุดา (शिवसुता)
ส่วนเกี่ยวข้องหอกศากตยุทธ
ที่ประทับสกันทโลก
เขาไกรลาส
มนุษย์โลก
มนตร์เทพีชโยติมันตระ
พาหนะนกยูง
ข้อมูลส่วนบุคคล
บุตร - ธิดาसत्यवीर

ชโยติเทวี (สันสกฤต: देवी ज्योति) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นเทพีแห่งเวลและยัญบูชา, พิธีโหมะและแสงสว่าง รวมถึงความรู้แจ้ง[1] พระนางได้รับการยกย่องในหมู่ชนชาวทราวิฑที่นับถือไศวนิกายและในเชิงบุคลาธิษฐานพระนางเป็นพลังอำนาจแห่งเวลของพระขันธกุมาร[2]

เทพปกรณัม[แก้]

ตามเทพปกรณัมการปรากฏองค์ของเทพีองค์นีันั้นที่ได้รับความนิยมมีอยู่สองปกรณัม ในปกรณัมแรก พระนางปรากฏจากฉัพพรรณรังสีของพระศิวะรวมถึงเป็นการสำแดงเดชของเทพบิดรของพระนาง[3]

ในปกรณัมที่สองนั้น พระนางปรากฏจากแสงเพลิงของพระนลาฎพระปารวตีเสมือนเช่นเดียวกับการสมภพพระขันธกุมารจากของพระศิวะเช่นเดียวกัน และนางนั้นสถิตย์ในหอกศากตยุทธของพระขันทกุมารอันใช้รณรงค์พิชัยยุทธ์กับอสูรสุระปัทม[4]

โดยทั่วไปนั้นมักถือว่านางปรากฏทิพยรูปในสถานะไร้รูปร่าง(อรูป)ในเทวสถานของพระขันธกุมารอันมีสถานะเป็ยพระเชษฐาของพระนาง และพระนางนั้นสถิตย์และปรากฏทิพยรูปเป็นไฟในหัตถ์หนึ่งของพระศิวนาฏราชอันมีสถานะเป็นเทพบิดรของนาง[4]

การบวงสรวงเซ่นวักบัตรพลี[แก้]

พระนางนั้นถึงขนานนามไวพจน์อีกนามว่า ศราวัณภไว เนื่องจากมีสถานะเสมือนขนิษฐาของพระขันทกุมารและนางนั้นได้รับการบวงสรวงเซ่นวักบัตรพลีในรูปแบบหอกศากตยุทธของเทวสถานพระขันทกุมาร ในบางส่วนของอินเดียนับถือกันว่านางนั้นคือเทพีองค์เดียวกับเจ้าแม่รายกีเทวี (goddess Rayaki) ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระเวทย์ (Vedic Raka) ในภูมิภาคอินเดียเหนือนั้นนับถือกันว่านางนั้นคือเทพีองค์เดียวกับเจ้าแม่ชวาลามุขี (goddess Jwalaimukhi)

อ้างอิง[แก้]

  1. https://vedicgoddess.weebly.com/goddess-vidya-blog/goddess-jyoti-jyotir-vidya-the-goddess-of-jyotish-one-must-have-her-inner-light-before-one-is-a-vedic-astrologer-or-what-is-known-as-a-jyotishi-happy-diwali-all-this-wonderful-mediation-by-yogi-ananda-saraswathi
  2. Waghorne, Joanne Punzo (2004-09-16). Diaspora of the Gods: Modern Hindu Temples in an Urban Middle-Class World (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press, USA. p. 190. ISBN 978-0-19-515663-8.
  3. "Daughters of Shiva". 9 December 2012.
  4. 4.0 4.1 "Skanda's Sister Jyoti". murugan.org.

ดูเพิ่ม[แก้]