ชิริโตริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การต่อคำในเกมชิริโตริ

ชิริโตริ (ญี่ปุ่น: しりとりโรมาจิShiritori) เป็นเกมคำภาษาญี่ปุ่นที่ผู้เล่นจะต้องพูดคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยคานะตัวสุดท้ายของคำที่ผู้เล่นคนก่อนหน้าพูดออกมา คำศัพท์ดังกล่าวจะสะกดด้วยฮิรางานะ คาตากานะ หรือคันจิก็ได้ ชื่อเกม "ชิริโตริ" มีความหมายตรงตัวว่า "เอาส่วนท้าย"[1]

กติกา[แก้]

กติกาเกมชิริโตริอาจจะดัดแปลงได้ตามแต่ผู้เล่นจะตกลงกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะอนุญาตให้ใช้คำนามเท่านั้น ห้ามใช้คำที่เคยใช้ไปแล้วจนกว่าจะจบเกม ผู้เล่นที่พูดคำที่ลงท้ายด้วยตัวอึง (ฮิรางานะ ん หรือคาตากานะ ン) จะถูกปรับแพ้เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวนี้ คำนามประสมที่เกิดจากคำสองคำที่เชื่อมกันด้วยคำช่วย の สามารถใช้ได้ถ้าคำนั้นเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น 男の子 (เด็กผู้ชาย) ซึ่งมาจาก 男 (เพศชาย) ประสมกับ 子 (เด็ก)[2]

ตัวอย่าง:

sakura (さく) → rajio (ラジ) → onigiri (おにぎ) → risu () → sumou (すも) → udon (うどん).

ผู้เล่นที่ใช้คำว่า udon แพ้เกมนี้ เพราะเป็นคำที่ลงท้ายด้วย N ()

กฎทางเลือก[แก้]

บางกติกาจะกำหนดให้ต้องเริ่มเกมด้วยคำว่า "ชิริโตริ"[1] แต่ไม่จำเป็นเสมอไป เช่นเกมในภาพที่แสดงซึ่งเริ่มเกมด้วยคำว่า おにぎり หรือข้าวปั้นโอนิงิริ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นมีการควบเสียงตัวอักษรยะ ยุ และโยะรวมกับตัวอักษรที่ประสมเสียงอิ โดยตัวอักษรยะ ยุ หรือโยะดังกล่าวจะถูกย่อลงเป็นตัวเล็กที่เรียกว่าโยอง มีการใช้เครื่องหมายดากูเต็งหรือฮันดากูเต็งเพื่อเปลี่ยนเสียงตัวพยัญชนะ และมีการใช้เครื่องหมายโชอมปุเพื่อยืดเสียงสระเป็นเสียงยาวในคำยืมจากภาษาอื่น การตีความ "ตัวสุดท้าย" หรือ "พยางค์สุดท้าย" ในกรณีดังกล่าวอาจจะกำกวมและทำให้สับสน บางครั้งจึงต้องตกลงกันว่าจะอนุโลมแบบใดได้บ้าง[1]

  • โยอง - ดังแสดงในแผนภาพ คำว่า うんてんしゃ (คนขับรถ, อุ-อึง-เทะ-อึง-ชิ-ยะย่อ) ลงท้ายด้วยตัวยะที่ถูกย่อให้เป็นตัวเล็ก เนื่องจากควบกับตัวชิให้ออกเสียงว่า "ชะ" บางกรณีอาจจะให้คนต่อไปใช้ตัวยะ (ตามเส้นประ) แต่ในบางกรณีอาจจะให้คนต่อไปใช้ตัวชิที่ควบกับตัวยะเป็น "ชะ" (ตามเส้นทึบ) ก็ได้
  • ดากูเต็งและฮันดากูเต็ง - ตัวอักษรที่มีหรือไม่มีเครื่องหมายดังกล่าวอาจจะถือว่าเป็นตัวเดียวกันใช้แทนกันได้ หรือถือว่าเป็นคนละตัวกัน เช่น ことば (คำ, โคะ-โทะ-บะ) ซึ่งลงท้ายด้วยตัวฮะและเติมเครื่องหมายดากูเต็งทำให้ออกเสียงเป็น "บะ" ผู้เล่นคนถัดไปสามารถใช้คำที่ขึ้นต้นด้วยตัว "บะ" เช่น ばしょ (สถานที่, บะ-ชิ-โยะย่อ) ได้ แต่คำว่า はし (สะพาน, ฮะ-ชิ) ซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวฮะ หรือคำว่า パイ (พาย, พะ-อิ) ซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวฮะที่เติมเครื่องหมายฮันดากูเต็งและออกเสียงเป็น "พะ" อาจจะใช้ได้หรือไม่ได้ตามแต่ตกลงกัน
  • โชอมปุ - โดยทั่วไปแล้วโชอมปุไม่ถือว่าเป็นตัวคานะ ถ้าผู้เล่นใช้คำที่ลงท้ายด้วยโชอมปุ ถือเป็นที่ยอมรับว่าให้ใช้ตัวอักษรคานะที่อยู่ก่อนหน้าโชอมปุ (ซึ่งเป็นตัวรองสุดท้าย) เช่น タクシー (แท็กซี่, ทะ-คุ-ชิ-โชอมปุ) ให้ใช้ตัวชิเป็นตัวขึ้นต้นคำถัดไป

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Backhaus, Peter (16 January 2017). "Shiritori: a simple game that's great for practicing your Japanese vocab". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). Japan: Yukiko Ogasawara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2017. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017. しりとり (shiritori) is the name of the game, derived from the phrase 尻を取る (shiri o toru). It literally means “take the rear” — and that is basically what you do.
  2. Koichi (4 October 2008). "Shiritori, the Japanese Game That Will Improve Your Japanese". tofugu.com (ภาษาอังกฤษ). Tofugu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.