ฉบับร่าง:แผนยุทธการใต้ร่มเย็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ยุทธการใต้ร่มเย็น

แผนยุทธการใต้ร่มเย็น หรือยุทธการ "ใต้ร่มเย็น" เป็นมาตรการที่รัฐบาลและกองทัพภาคที่ 4 ในยุคนั้น นำมาใช้สำหรับแก้ปัญหาความไม่สงบ และปราบปรามกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจรัฐและเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ในนามผู้ก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน (ขจก.) โจรคอมมิวนิสต์มาลายา และกลุ่มโจรต่างๆ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ ช่วงปี 2524 ถึง 2527[1][2]

นโยบาย[แก้]

นโยบาย "ใต้ร่มเย็น" เป็นส่วนหนึ่งของ "นโยบาย 66/2523" (เรียกกันติดปากว่า 66/23) เรื่อง นโยบายการต่อสู่เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ "รุกทางการเมือง" โดยให้งานการทหารสนับสนุนและส่งเสริมให้บรรลุภารกิจงานการเมือง (พูดง่ายๆ คือให้เลิกการปราบปราม แต่เปลี่ยนมาใช้แนวทางสันติวิธี สร้างความเข้าใจ และเปิดช่องทางนิรโทษกรรมให้ผู้หลงผิด) จนกลายเป็น "จุดเปลี่ยนสำคัญ" ที่ทำให้ประเทศไทยเอาชนะภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ได้อย่างเด็ดขาด

         นโยบาย "ใต้ร่มเย็น" มีสาระสำคัญเป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ ทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร 4 เรื่อง คือ

  1. สร้างความปลอดภัยให้เกิดแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา ไม่ว่าพี่น้องไทยพุทธหรือมุสลิมจะต้องได้รับการคุ้มครองจากกำลังของรัฐบาลให้ปลอดภัยจากการคุกคามของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ขบวนการโจรก่อการร้าย โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายาและกลุ่มโจรต่างๆ
  2. ทำพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสถาปนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดตามแนวชายแดนให้ดีขึ้น และยกระดับความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างไทย-มาเลเซียให้สูงขึ้น
  3. กำจัดอำนาจเผด็จการ อิทธิพล และอำนาจมืดที่ครอบงำบรรยากาศอยู่ทั่วไปหมดสิ้น โดยสันติวิธี เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  4. สร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ปกครองกับราษฎรผู้ถูกปกครอง และขจัดความแตกแยกระหว่างเจ้าหน้าที่กับราษฎรให้หมดสิ้นไป ขณะเดียวกัน การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายใต้ร่มเย็น กองทัพภาคที่ 4 และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาคใน ภาค 4 (กอ.รมน. ภาค 4) ได้ดำเนินการต่างๆ เป็นต้นว่า การสร้างสภาพความชอบธรรม การสร้างความกดดันทางสังคม การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง การระดมพลังประชาชน และการขยายพิสัยแห่งอำนาจ[3]

แผนปฎิบัติการทางทหาร[แก้]

แผนยุทธการใต้ร่มเย็น 9 หรือที่เรียกกันว่า “ยุทธการช่องช้าง” หรือ “แผนยุทธการค่าย 508” เพื่อดำเนินงานปราบปรามและทำลายฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์สาขาภาคใต้ ในเขต 508 หรือ เขตงานช่องช้าง

แผนยุทธการใต้ร่มเย็น 11 การดำเนินการปราบปรามเพื่อทำลายฐานที่มั่นและกองกำลังของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยในเขตงานตรัง พัทลุง สตูล ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์ มลายาและขบวนการโจรแบ่งแยกดินแดนซึ่งปฏิบัติการและเคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย[4]

แผนยุทธการใต้ร่มเย็น 13 ซึ่งเป็นยุทธการต่อเนื่องจากยุทธการใต้ร่มเย็น 9 เพื่อการดำเนินการปราบปรามและทำลายฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์ที่หลบหนีการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ไปเขตรอยต่อของ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช

แผนยุทธการใต้ร่มเย็น 15 เป็นยุทธการเพื่อการดำเนินการปราบปรามและทำลายฐานที่มั่นของผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจรัฐและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศในเขตพื้นที่ภาคใต้ทั้งตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ทั้งกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ขบวนการโจรก่อการร้ายและโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา ตลอดจนกลุ่มโจรต่างๆ

เเหล่งข้อมูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สิ้นนักรบ วีรกรรมช่องช้าง ยุทธการใต้ร่มเย็น". สยามรัฐ. 2019-06-11.
  2. "ย้อนรอยประวัติศาสตร์ "อุโมงค์เขาน้ำค้าง" ฐานที่มั่น พ.ค.ม." mgronline.com. 2012-05-20.
  3. ศูนย์ข่าวภาคใต้ (2018-02-13). "อาลัยเจ้าของนโยบาย "ใต้ร่มเย็น" พล.อ.หาญ ผู้คัดค้านเรือเหาะ-เรือเหี่ยว!". สำนักข่าวอิศรา.
  4. "ปิยะมิตร หมู่บ้านอดีต โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา : เบตง". อีจัน. 2023-07-12.