จ๊กยี่
จ๊กยี่ (ชฺวี อี้) | |
---|---|
麴義 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ระหว่างปี ค.ศ. 196-199 |
จ๊กยี่ (ชฺวี อี้) | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 麴義 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 麴义 | ||||||
|
จ๊กยี่ (เสียชีวิตระหว่าง ค.ศ. 196-199[1]) หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า ชฺวี อี้ (จีนตัวย่อ: 麴义; จีนตัวเต็ม: 麴義; พินอิน: Qū Yì) เป็นขุนพลใต้บังคับบัญชาของขุนศึกอ้วนเสี้ยวในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน
ประวัติ
[แก้]จ๊กยี่เป็นชาวมณฑลเลียงจิ๋ว มีความเชี่ยวชาญกลยุทธ์ทางการทหารของชนเผ่าซฺยงหนูและชนเผ่าเกี๋ยง เดิมจ๊กยี่รับราชการกับฮันฮก ในช่วงเวลานั้นอ้วนเสี้ยวกำลังขยายอิทธิพลในหมู่ชนชั้นสูงของกองทัพราชวงศ์ฮั่น ฮันฮกรู้สึกอิจฉาอ้วนเสี้ยวอย่างมากจึงลดเสบียงของกองทัพอ้วนเสี้ยวลง เรื่องนี้ทำให้จ๊กยี่ก่อกบฏและเอาชนะกองกำลังที่ฮันฮกส่งมาได้ ในเวลาเดียวกันจ๊กยี่ได้เข้ารับใช้อ้วนเสี้ยว[2]
ในยุทธการที่เจี้ยเฉียวจ๊กยี่ได้รับตำแหน่งระดับสูงในการบัญชาการกองทัพกลาง ในระหว่างการศึก จ๊กยี่สังหารยำก๋ง (嚴綱 เหยียน กาง) และชิงสินศึกเข้าทัพอ้วนเสี้ยวได้เป็นอันมาก แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็เป็นจุดจบของจ๊กยี่เช่นกัน กล่าวกันว่าจ๊กยี่มีความยโสโอหัง จึงถูกอ้วนเสี้ยวกำจัดในที่สุด[3]
การศึกครั้งสุดท้ายที่มีการบันทึกไว้ที่จ๊กยี่มีส่วนร่วมเกิดขึ้นในปี ค.ศง 195 ซึ่งเป็นศึกที่จ๊กยี่เอาชนะกองซุนจ้านได้ที่เป้าชิว (鲍丘) และสังหารทหารของกองซุนจ้านได้มากกว่า 20,000 นาย หลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้กองซุนจ้านก็ถอยไปตั้งมั่นที่อึ้จิง (易京) และเสริมความแข็งแกร่งให้กับป้อมปราการ ทำให้จ๊กยี่ไม่สามารถตีอี้จิงได้แตกเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี กระทั่งเสบียงในกองทัพของจ๊กยี่หมดลง ทหารจำนวนหลายพันนายหิวโหย กองซุนจ้านฉวยโอกาสนี้โต้กลับจนได้รับชัยชนะครั้งใหญ่[4]
ในนิยาย สามก๊ก
[แก้]ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก จ๊กยี่ถูกจูล่งสังหารในยุทธการที่เจี้ยเฉียว ระหว่างการรบตอบโต้โดยกองทัพของกองซุนจ้าน ตามประวัติศาสตร์จริงไม่ทราบแน่ชัดว่าจูล่งเคยพบกับจ๊กยี่หรือไม่ เนื่องจากไม่ทราบแน่ชัดว่าจูล่งเข้าร่วมกับกองซุนจ้านก่อนหรือหลังยุทธการที่เจี้ยเฉียว ความสำคัญของจ๊กยี่ในประวัติศาสตร์ถูกลดทอนในนิยายเพื่อเพิ่มความสำคัญให้กับตัวละครอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ในชีวประวัติกองซุนจ้านในพงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (โฮฺ่วฮั่นชู) ระบุว่าจ๊กยี่เอาชนะกองซุนจ้านที่เป้าชิวในศักราชซิงผิงปีที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ เทียบได้กับปี ค.ศ. 195 ในปฏิทินจูเลียน หลังยุทธการครั้งนี้ กองซุนจ้านและจ๊กยี่อยู่ในภาวะคุมเชิงกันเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี ในขณะที่ปีที่จ๊กยี่เสียชีวิตไม่มีการบันทึกไว้ จ๊กยี่น่าจะเสียชีวิตก่อนปี ค.ศ. 199 ซึ่งเป็นปีที่อ้วนเสี้ยวกำจัดกองซุนจ้านลงได้ เพราะไม่มีการบันทึกว่าจ๊กยี่มีส่วนร่วมในยุทธการที่นำไปสู่การเสียชีวิตของกองซุนจ้าน (兴平二年,破瓒于鲍丘...。相持岁余...) พงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง เล่มที่ 73
- ↑ (韓馥以豪傑多歸心袁紹,忌之;陰貶節其軍糧,欲使其眾離散。會馥將麴義叛,馥與戰而敗,紹因與義相結。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 60
- ↑ (麹义自恃有功,骄纵不轨,绍召杀之...) พงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง, เล่มที่ 74 บรรพ 1
- ↑ (兴平二年,破瓒于鲍丘,斩首二万余级。瓒遂保易京,开置屯田,稍得自支.相持岁余,麹义军粮尽,士卒饥困,余众数千人退走。瓒徼破之,尽得其车重。) พงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง, เล่มที่ 73
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).