จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ
จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ | |
---|---|
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2487 |
คู่สมรส | ศันสนีย์ ปิ่นสุวรรณ |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง |
จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2487) เป็นนักร้องและนักแสดงอาวุโสชาวไทย อดีตนักร้องวงดนตรีซิลเวอร์แซนด์ เจ้าของฉายา เอลวิส เมืองไทย
ประวัติและการศึกษา
[แก้]จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ มีชื่อเล่นว่า ตี๋ เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร พ่อกับแม่แยกทางกัน ซึ่งพ่อเป็นพ่อค้าแต่เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2500 ขณะที่เขาอายุเพียง 13 ปี ส่วนแม่ไปทำการค้าไม้สักอยู่ที่เชียงใหม่ เขาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จากโรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อพ่อเสียชีวิต น้าชายจึงรับไปอยู่ที่ลำปาง และเรียนจบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่โรงเรียนเคนเนทแมคเคนซี จากนั้นจึงกลับลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ กับ พลอากาศโทละเอิบ ปิ่นสุวรรณ ผู้เป็นลุง[1]
เข้าสู่วงการ
[แก้]วงการเพลง
[แก้]ก่อนเข้าสู่วงการเพลงจิระศักดิ์เป็นคนที่ชอบเพลงสากลและร้องได้ทุกเพลงโดยเฉพาะเพลงของเอลวิส เพรสลีย์ โดยเขาเข้าสู่วงการเพลงจากการไปชมคอนเสิร์ตของวงซิลเวอร์แซนด์ วงดนตรีชื่อดังในยุคนั้นที่มี ณรงค์ ปานเจริญ เป็นหัวหน้าวงที่หอประชุมกองทัพอากาศ ปรากฏว่านักร้องของวงที่ร้องในสไตล์เอลวิสไม่มาทำให้เพื่อน ๆ ช่วยกันผลักดันให้เขาขึ้นไปร้องเพลง 2 เพลง ทำให้ณรงค์ ปานเจริญ ชอบใจมากจึงได้ชักชวนให้เขาเข้ามาเป็นนักร้องของวงและได้ร้องเพลงตามบาร์ ไนท์คลับ และสถานที่ต่าง ๆ จากนั้นจึงได้ออกทีวีบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่อง 4 บางขุนพรหม ทำให้ไปเข้าตาของสอาด เปี่ยมพงษ์สานต์[2][1]
วงการภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
[แก้]จิระศักดิ์เข้าสู่วงการจากการชักชวนของ สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ซึ่งทำงานอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ให้มาแสดงละครเรื่องแรกคือเรื่อง ล่าเสือ คู่กับ ฉันทนา จันทร์เรือง ปรากฏว่าการแสดงของเขาในเรื่องนี้ไปสะดุดตาของครูมารุต หรือทวี ณ บางช้าง ผู้กำกับชื่อดังในสมัยนั้น ที่กำลังจะสร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่อง พลับพลึงแดง จึงได้ชักชวนให้เขามาแสดงเป็นลูกชายของพระนางในเรื่องคือมิตร ชัยบัญชา และพิศมัย วิไลศักดิ์ พร้อมกับตั้งชื่อในวงการว่า จิระศักดิ์ รุ่งระพี[1] จากนั้นจึงได้เป็นพระเอกเต็มตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่องที่ 2 คือเรื่อง ขวัญใจวัยรุ่น แต่ปรากฏว่าฟิล์มหายสาบสูญระหว่างไปล้างที่ฮ่องกงเลยไม่ได้ออกฉาย ก่อนจะได้เป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง ดอกฟ้าเวียงพิงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2516[2] จากนั้นจึงมีผลงานแสดงและร้องเพลงเรื่อยมา
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ด้านชีวิตครอบครัว จิระศักดิ์สมรสกับ แดง-ศันสนีย์ ปิ่นสุวรรณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 โดยมีบุตรทั้งสิ้น 2 คน[3]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- 2514 จงอางผยอง รับบท เสือ
- 2514 ไอ้หนุ่มบ้านนา
- 2514 วิมานสีทอง
- 2514 ไก่นา รับบท ทิวา
- 2514 ดวง รับบท คำ
- 2515 หัวใจมีตีน
- 2516 สายฝน รับบท สัตยา
- 2516 ความรักมักเป็นอย่างนี้
- 2516 ดอกฟ้าเวียงพิงค์
- 2517 อาถรรพ์สวาท
- 2517 คุณครูที่รัก
- 2517 ทองประกายแสด
- 2518 วัยไฟ
- 2518 ทะเลทอง
- 2518 ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ
- 2518 เผ็ด
- 2518 เทพบุตร
- 2518 7 ดอกจิก
- 2519 ขุนศึก รับบท หมู่สิน
- 2519 อ้อมอกพ่อ รับบท เทพ
- 2519 17 ทหารกล้า
- 2519 ไอ้แมงดา
- 2519 เหมือนฝัน
- 2519 แม่ยอดกะล่อน
- 2519 ปูลม
- 2519 ชาติอาชาไนย
- 2520 ตาปีอีปัน
- 2520 ดับเครื่องชน
- 2520 กูซิใหญ่ รับบท เกลือ
- 2520 เด็ดสะระตี่ รับบท เมธ
- 2521 เพชรมหากาฬ
- 2521 4 อันตราย รับบท ศักดิ์
- 2521 กาม รับบท จีรศักดิ์ (รับเชิญ)
- 2521 ขุนดอน รับบท ตื๊อ
- 2521 เขาใหญ่
- 2521 ขโมยที่รัก
- 2521 มือปืนนมสด รับบท พราน
- 2522 หักเหลี่ยมคนดัง รับบท เชิต
- 2522 ไอ้ฟ้าผ่า รับบท องอาจ
- 2522 ชาติหินดินระเบิด รับบท ไผ่
- 2522 เลือดทมิฬ
- 2522 นักรักรุ่นกะเตาะ
- 2522 อยู่อย่างเสือ รับบท เปรียว
- 2522 มนุษย์ 100 คุก
- 2522 รักนอกตำรา
- 2523 2 พยัคฆ์ รับบท สาง
- 2523 พ่อจ๋า รับบท มจ อดุลย์ศักดิ์ มหิทธิ์
- 2523 จอมราวี รับบท สมิง
- 2523 มันมือเสือ
- 2523 แผ่นดินแห่งความรัก
- 2524 สายใจ รับบท เด่นพงษ์
- 2524 ไอ้แก่น
- 2524 สกาวเดือน รับบท เจษฎา
- 2524 ไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง รับบท ชิต
- 2525 รักจั๊กจี้
- 2525 นางแมวป่า
- 2525 แสนซน
- 2525 หัวใจดื้อรัก
- 2525 นักฆ่าขนตางอน
- 2526 ลูกสาวกำนัน ภาค 2
- 2526 พญายมพนมรุ้ง
- 2526 เลขาคนใหม่
- 2526 สาวแดดเดียว รับบท สารวัตร
- 2527 ลูกสาวคนใหม่
- 2527 รักที่ถูกลืม
- 2527 สาวบัวตอง
- 2527 เหล็กเพชร
- 2528 ผู้ใหญ่ลีกับนางมา รับบท สามีนางพิณ
- 2528 ลูกหลง รับบท จิระศักดิ์
- 2528 นักเลงสิบล้อ
- 2530 มือปราบภูธร
- 2530 รอยเสือ รับบท เสือวัง
- 2530 ล่าสุดโหด
- 2531 กองร้อยสอยรัก
- 2533 หนุก รับบท นายศักดิ์
- 2533 บ้านผีเฮี้ยน รับบท พงศ์
- 2541 จูบแล้วตบ รับบท อันธพาล
- 2544 Goal Club เกมล้มโต๊ะ รับบท เฮีย
- 2546 แฟนฉันต้องหาร 2 รับบท ลมกรด
- 2546 คนปีมะ รับบท เสี่ย
- 2547 ปล้นนะยะ รับบท เป็นตง (รับเชิญ)
- 2553 ตัณหาต้องห้าม รับบท เสี่ยใหญ่
- 2558 โจ หัวแตงโม รับบท เอลวิสโหงว
ละคร
[แก้]- 2510 พล นิกร กิมหงวน
- 2516 เครือณรงค์
- 2517 ฝันกลางฤดูฝน
- 2518 อนิลทิตา
- 2519 บ่วงเสน่หา
- 2520 ตะวันยอแสง
- 2522 พิมพิลาไลย
- 2522 แก้วขนเหล็ก
- 2523 คุณหญิงนอกทำเนียบ
- 2523 ไม่เคยมีใครรักฉันจริง
- 2524 สายใจ
- 2524 ความรักแสนกล
- 2525 สุดหัวใจ
- 2525 แดดทอรุ้ง
- 2525 รอยหนาม
- 2526 หนี้สวาท
- 2526 ความรักสีขาว
- 2527 สองพธู
- 2527 ทายาทท่านผู้หญิง
- 2528 กาแกมหงส์
- 2528 ตลาดอารมณ์
- 2528 เพลงแห่งชีวิต
- 2529 สวัสดีคุณครู
- 2530 สกาวเดือน
- 2530 ทองเนื้อเก้า
- 2530 แต่ปางก่อน
- 2531 ปราสาทมืด
- 2533 เศรษฐีตีนเปล่า
- 2534 กะลาก้นครัว
- 2535 เคหาสน์ดาว
- 2535 ลอดลายมังกร
- 2535 โมงป่า
- 2537 ระเริงชล
- 2538 วิมานลวง
- 2538 ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน สัตว์สยอง
- 2538 ชมรมขนหัวลุก ตอน ย้อนรอยกรรม
- 2540 ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน ตายไม่รู้ตัว
- 2540 คู่แท้ 2 โลก
- 2541 คนึงหา
- 2541 หัวใจและไกปืน
- 2542 ลูกหว้า
- 2542 พิศวาสอลเวง
- 2542 ขุนช้างขุนแผน
- 2544 อาจารย์โกย
- 2544 รักสลับขั้ว
- 2544 มนต์มายา
- 2544 ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน
- 2545 เจ้าชายหัวใจเกินร้อย
- 2545 เมนูรัก จานเด็ด
- 2545 พยัคฆ์ร้าย โอมเพี้ยง
- 2546 ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก
- 2546 ระเบิดเถิดเทิง ตอน ความจำเสื่อม
- 2547 นางนกต่อ
- 2547 ไอ้หยาอาตือ
- 2547 รักสุดขั้ว
- 2547 มาทาดอร์
- 2548 หักเหลี่ยมรัก
- 2548 วีรบุรุษกองขยะ
- 2548 เกิร์ลแก๊งแมลงซ่า
- 2549 ผู้ใหญ่เห็ด กำนันหอย
- 2549 สะดุดรัก
- 2550 ระเบิดเถิดเทิง ตอน ทวงบุญคุณ
- 2551 โบตั๋นกลีบสุดท้าย
- 2551 วิมานมังกร
- 2552 สู้ยิบตา
- 2552 ชิงชัง
- 2553 สะใภ้เจ้าสัว
- 2553 วุ่นนักรักข้างตลาด
- 2554 ในรอยรัก
- 2554 เสือสั่งฟ้า
- 2555 รักออกอากาศ
- 2555 ไฟมาร
- 2557 สวยร้ายสายลับ
- 2558 เทวดาฟันน้ำนม
- 2558 ดอกไม้ลายพาดกลอน
- 2560 ที่หนี้มีรัก
- 2563 ร้อยป่า
- 2564 บริษัทบำบัดหนี้
- 2564 คุณกระบือสื่อรัก
- 2565 สะพานแสงดาว
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต SHADOWS SHADOW No.2 (26 พฤศจิกายน 2544)
- คอนเสิร์ต KING OF ROCK'N ROLL (13 มกราคม 2545)
- คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก..ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (17 กุมภาพันธ์ 2545)
- คอนเสิร์ต เอลวิส เพรสลีย์ อิน คอนเสิร์ต สเปเชี่ยล (21 ตุลาคม 2549)
- คอนเสิร์ต เอลวิส เพรสลี่ย์ รำลึก ครั้งที่ 1 (3 สิงหาคม 2550)
- คอนเสิร์ต เอลวิส เพรสลี่ย์ รำลึก ครั้งที่ 2 (29 สิงหาคม 2551)
- คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก...ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (5 เมษายน 2552)
- คอนเสิร์ต เอลวิส เพรสลี่ย์ รำลึกครบรอบ 33 ปี (20 สิงหาคม 2553)
- คอนเสิร์ต 40 ปี the legend of the guitar (20 - 21 พฤศจิกายน 2553)
- คอนเสิร์ต Elvis 3G King of Rock n' Roll (26 มกราคม 2557)
- คอนเสิร์ต เพลงคู่...ครู&ศิษย์ (16 มีนาคม 2557)
- คอนเสิร์ต 70 ยังแจ๋ว เศรษฐา ศิระฉายา (5 พฤศจิกายน 2557)
- คอนเสิร์ต Elvis And Me ตี๋ จีระศักดิ์ (25 มกราคม 2558)
- คอนเสิร์ต โก๋ VS กี๋ (หลังวัง) (23 สิงหาคม 2558)
- คอนเสิร์ต Elvis Tribute Concert To Elvisoot By Elvisoot (24 มกราคม 2559)
- คอนเสิร์ต เดอะมอลล์ Elvis VS โก๋หลังวัง (3 กันยายน 2560)
- คอนเสิร์ต เส้นทางดนตรี”75 ปี วิรัช อยู่ถาวร (18 พฤศจิกายน 2561)
- คอนเสิร์ต “โก๋หลังวัง” ตอน โก๋กี๋มีเรื่อง (เล่า) (25 สิงหาคม 2562)
- คอนเสิร์ต King of Rock n' Roll” Elvis Presley (19 มกราคม 2563)
- คอนเสิร์ต ''โก๋หลังวัง'' New Normal (27 กันยายน 2563)
- คอนเสิร์ต “โก๋หลังวัง” (24 กันยายน 2566)
- คอนเสิร์ต King of Rock n’ Roll Elvis Presley (28 มกราคม 2567)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ตี๋ จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-11. สืบค้นเมื่อ 2023-05-11.
- ↑ 2.0 2.1 ‘ตี๋-จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ’ โชคชะตานำพา ให้เป็น เอลวิส เมืองไทย
- ↑ ‘ตี๋ จีระศักดิ์’เผยอุปสรรครักแม่ยายไม่ปลื้ม รับเจ้าชู้หนักคบซ้อน 5-6 คน!