จินติ่ง

พิกัด: 29°31′32″N 103°20′12″E / 29.52567°N 103.336802°E / 29.52567; 103.336802
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จินติ่ง
สถูปพระสมันตภัทรโพธิสัตว์สิบพักตร์บนยอดเขาจินติ่ง
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเขาเอ๋อเหมย์ มณฑลเสฉวน ประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์29°31′32″N 103°20′12″E / 29.52567°N 103.336802°E / 29.52567; 103.336802
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์1377
จินติ่ง
อักษรจีนตัวเต็ม金頂
อักษรจีนตัวย่อ金顶
ความหมายตามตัวอักษรGolden Summit
Huazang Temple
อักษรจีนตัวเต็ม華藏寺
อักษรจีนตัวย่อ华藏寺

จินติ่ง (จีน: 金顶; พินอิน: Jīndǐng; แปลตรงตัว: "ยอดเขาทอง") ความสูง 3,077 เมตร (10,095 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาหลักของเขาเอ๋อเหมย์ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ชื่อนี้ยังเป็นชื่อเรียกทั่วไปของ วัดหวาจ้าง (จีน: 华藏寺; พินอิน: Huázàng sì) ที่สร้างขึ้นบนยอดเขา[1][2] จินติ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อวัดพุทธสำคัญของชาวจีนฮั่นและเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนความสูงที่สุดในรายชื่อนี้[2]

จินติ่งเป็นที่รู้จักจาก "อัศจรรย์สี่ประการ" ได้แก่ พระอาทิตย์ขี้น, ทะเลเมฆ, พระอาทิตย์ทรงกลด ("พุทธฉัพพันรังสี") และ "แสงศักดิ์สิทธิ์"[3]

วัดหวาจ้างสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1337 สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาวัดถูกไฟคลอกเสียหายแต่ก็สร้างขึ้นใหม่อยู่หลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมที่ซึ่งจินติ่งถูกใช้งานเป็นสถานีส่งต่อสัญญาณโทรทัศน์ ในปี 1972 ไฟไหม้ลุกลามบริเวณยอดเขาและวัดหวาจ้างซึ่งสร้างด้วยไม้เสียหายทั้งหมด ศาสนวัตถุโบราณสูญสลายไปในเพลิงไหม้ เหลือเพียงวัตถุไม่กี่ชิ้นที่ยังเหลือถึงปัจจุบัน[2] ในปี 2004 ได้มีการสร้างวัดหวาจ้างขึ้นใหม่ภายใต้โครงการแผนพัฒนาและฟื้นฟูของพุทธสมาคมเขาเอ๋อเหมย์ ในโครงการเดียวกันนี้ยังรวมถึงการก่อสร้างรูปปั้นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์สิบพักตร์ขึ้นเป็นพระสถูปความสูง 48 เมตร การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2006[2] ในพิธีเปิดวัดมีพระสงฆ์ 300 รูปเข้าร่วม โครงการฟื้นฟูนี้ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและศาสนิกชนมายังจินติ่ง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม วัดหลังใหม่นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่มีบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเดิมมาประกอบ เป็นการสร้างวัฒนธรรมขึ้นใหม่อันไม่เป็นของดั้งเดิม[4] ในปี 2016 พรสถูปพระโพธิสัตว์สมันตภัทรได้ปิดชั่วคราวเพื่อทำการบูรณะและปิดทองคำเปลวจำนวน 160,000 ใบ มูลค่าราว 20 ล้านหยวน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kögel, Eduard (2015). The Grand Documentation: Ernst Boerschmann and Chinese Religious Architecture (1906–1931). De Gruyter. pp. 273–7. ISBN 978-3-11-040134-9.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Huazang Temple" (ภาษาจีน). Mt. Emei Buddhist Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
  3. Atlas of World Heritage: China. Long River Press. 2005. pp. 124–6. ISBN 978-1-59265-060-6.
  4. Blumenfield, Tami; Silverman, Helaine (2013). Cultural Heritage Politics in China. Springer Science & Business Media. pp. 62–63. ISBN 978-1-4614-6874-5.
  5. "峨眉山金顶十方普贤重塑金身暂别游客". Tencent (ภาษาจีน). 2016-03-23.