จัตุรนต์ คชสีห์
หน้าตา
จัตุรนต์ คชสีห์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2490 อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประเทศไทย |
จัตุรนต์ คชสีห์ (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2490) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]จัตุรนต์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2490[1] เป็นบุตรคนโตของเชื่อม กับวอน คชสีห์ มีพี่น้อง 6 คน[2] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
[แก้]อดีตเป็นทนายความ ต่อมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง
เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชุมพรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จัตุรนต์ คชสีห์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) → พรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอหลังสวน
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
- พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- พรรคชาติไทย
- พรรคพลังธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคเพื่อชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.