ฆฤษเณศวรมนเทียร
ฆฤษเณศวร ชโยติรลึงค์ มนเทียร (Grishneshwar Jyotirlinga Temple) | |
---|---|
घृष्णेश्वर ज्योतिर्लिंग मंदिर | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอออรังคาบาด |
เทพ | พระศรีฆฤษเณศวร (พระศิวะ) |
เทศกาล | มหาศิวราตรี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ออรังคาบาด |
รัฐ | รัฐมหาราษฏระ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
ที่ตั้งในรัฐมหาราษฏระ[1] | |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 20°1′29.9″N 75°10′11.7″E / 20.024972°N 75.169917°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | เหมัทปันถี (Hemadpanthi) |
ฆฤษเณศวรชโยติรลึงคมนเทียร (อังกฤษ: Grishneshwar Jyotirlinga Temple) หรือมักเรียกว่า ฆฤษเณศวร (Ghrneshwar) หรือ ธุศเมศวรมนเทียร (Dhushmeshwar Temple) เป็นหนึ่งในโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระศิวะที่มีระบุไว้ในศิวปุราณะ[2][3] คำว่า ฆฤษเณศวร แปลว่าจ้าวเเห่งความเห็นอกเห็นใจ ("lord of compassion")[2] มนเทียรนี้เป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของศาสนิกชนฮินดูผู้นับถือลัทธิไศวะ ที่ซึ่งเชื่อว่ามนเทียรนี้เป็นมนเทียรสุดท้ายในสิบสองมนเทียรพระศิวะ “ชโยติรลึงค์” (Jyotirlinga; ลึงค์แห่งแสงสว่าง)[4] ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากถ้ำเอลโลรา แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร มนเทียรนี้ตั้งอยู่ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองออรังคาบาด หรือประมาณ 300 กิโลเมตร (190 ไมล์) ทางจะวันออกของมุมไบ
สิ่งก่อสร้างของมนเทียรนี้ถูกทำลายโดยรัฐสุลต่านเดลีในช่วงศตวรรษที่ 13 และ 14 ก่อนที่จะมีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และถูกทำลายอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิโมกุลกับมราฐา โครงสร้างปัจจุบันนี้เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ในศตวรรษที่ 18 ภายใต้การสนับสนุนของมหาราณี Ahilyabai Holkar แห่งอินโดร์ ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโมกุล[4] ในปัจจุบันที่นี่ยังคงเป็นศาสนสถานสำคัญของชาวฮินดู มีศาสนิกชนเข้ามาสักการะอย่างไม่ขาดสาย ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าไปภายในโถงต่าง ๆ รวมถึงครรภคฤห์ด้วย โดยมีเพียงข้อแม้เดียวคือเมื่อผู้ชายเข้าไปภายในโถงด้านในสุด (ครรภคฤห์; garbha-ghrya) จะต้องเปลือยอกเข้าไปตามธรรมเนียม[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Grishneshwar Aurangabad GPS เก็บถาวร 11 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Govt of Maharashtra
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Lochtefeld 2002, p. 247.
- ↑ Swati Mitra (2011). Omkareshwar and Maheshwar. Goodearth Publications. p. 25. ISBN 978-93-80262-24-6.
- ↑ 4.0 4.1 Bruce Norman (1988). Footsteps: Nine Archaeological Journeys of Romance and Discovery. Salem. pp. 99–100. ISBN 978-0-88162-324-6.
บรรณานุกรม
[แก้]- Eck, Diana L. (1999). Banaras, city of light (First ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-11447-8.
- Gwynne, Paul (2009). World Religions in Practice: A Comparative Introduction. Oxford: Blackwell Publication. ISBN 978-1-4051-6702-4..
- Lochtefeld, James G. (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M, Rosen Publishing Group, p. 122, ISBN 0-8239-3179-X