ข้ามไปเนื้อหา

ชโยติรลึงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชโยติรลึงค์ (Jyotirlinga) หรือ ชโยติรลิงคัม (Jyotirlingam) ปางปรากฏของพระศิวะที่ได้รับการเคารพบูชาสูงสุด คำว่า ชโยติ (Jyoti) แปลว่า รัศมี/เปล่งแสง ('radiance') และ ลึงค์ หมายถึงรูปแทนพระศิวะ รวมกันจึงหมายความว่า รูปองค์พระศิวะที่เปล่งประกาย ชโยติรลึงค์ตามธรรมเนียมนั้นประกอบด้วยโบสถ์พราหมณ์ (มนเทียร) 12 แห่งในประเทศอินเดีย

ตำนาน

[แก้]

ศิวปุราณะ ระบุว่าครั้นหนึ่งพระพรหม (ผู้สร้าง) และพระวิษณุ (ผู้รักษา) ได้มีการถกเถียงกันถึงอำนาจสูงสุดของการสร้าง (supremacy of creation)[1] เพื่อให้ได้ข้อตกลงกัน พระศิวะจึงได้เจาะ (pierced) โลกทั้งสามปรากฏเป็นเสาแห่งแสงสว่างที่มีขนาดมหึมาเป็นอนันต์ ที่เรียกว่า ชโยติรลึงค์ หลังเสานี้เย็นลงได้บังเกิดเป็นเขาอันนมาไล (Annamalai Hills) ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของอนุราจเลศวรมนเทียรตั้งอยู่ พระวิษณุและพระพรหมจึงทรงแบ่งกันค้นหาจุดจบของเสาแสงนี้ไปทางด้านบนและด้านล่าง พระพรหมทรงโกหกว่าได้ทรงพบจุดจบของเสา พระวิษณุจึงทรงยอมแพ้ในที่สุด การโกหกนี้ทำให้พระศิวะทรงโกรธมากและได้สาปพระพรหมให้แม้แต่พระองค์จะเป็นผู้สร้างจักรวาล พระองค์จะไม่ได้รับการสักการ ชโยติรลึงค์ จึงเป็นพระศิวะซึ่งเป็นอนันต์ มนเทียรแห่งชโยติรลึงค์ทั้งหมดเป็นที่ซึ่งพระศิวะทรงประทับในรูปของเสาแสงติดไฟนั้น[2][3]

ดั้งเดิมแล้วเชื่อกันว่ามีชโยติรลึงค์ทั้งหมด 64 แห่ง แต่มีเพียง 12 แห่งที่ได้รับการสักการะว่าศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก[1] ชื่อของทั้ง 12 แห่งนั้นตั้งตามพระนามของเทพเจ้าองค์ประธาน ที่ซึ่งแต่ละแห่งเป็นรูปสำแดง (manifestation) ของพระศิวะ[4] ในทุกมนเทียรของชโยติรลึงค์จะมีรูปเคารพหลักของมนเทียรที่เป็นองค์ประธานคือ ศิวลึงค์ ที่ซึ่งแสดงถึง สตมภ์ (Stambha) เสาอันไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีจุดเริ่มต้น เป็นสัญลักษณ์แทนธรรมชาติของพระศิวะเช่นกันไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีจุดสิ้นสุด[4][5][6]

รายชื่อชโยติรลึงค์ทั้ง 12 แห่งประกอบด้วย:

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Venugopalam 2003, pp. 92–95
  2. Eck 1999, p. 107
  3. Gwynne 2008, Section on Char Dham
  4. 4.0 4.1 Lochtefeld 2002, pp. 324-325
  5. Harding 1998, pp. 158-158
  6. Vivekananda Vol. 4

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Chakravarti, Mahadev (1994). The Concept of Rudra-Śiva Through The Ages (Second Revised ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 81-208-0053-2.
  • Chaturvedi, B. K. (2006). Shiv Purana (First ed.). New Delhi: Diamond Pocket Books (P) Ltd. ISBN 81-7182-721-7.
  • Eck, Diana L. (1999). Banaras, city of light (First ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-11447-8.
  • Gwynne, Paul (2009). World Religions in Practice: A Comparative Introduction. Oxford: Blackwell Publication. ISBN 978-1-4051-6702-4.
  • Harding, Elizabeth U. (1998). "God, the Father". Kali: The Black Goddess of Dakshineswar. Motilal Banarsidass. pp. 156–157. ISBN 978-81-208-1450-9.
  • Lochtefeld, James G. (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. Rosen Publishing Group. p. 122. ISBN 0-8239-3179-X.
  • Venugopalam, R. (2003), Meditation: Any Time Any Where (First ed.), Delhi: B. Jain Publishers (P) Ltd., ISBN 81-8056-373-1
  • Vivekananda, Swami. "The Paris Congress of the History of Religions". The Complete Works of Swami Vivekananda. Vol. 4.