คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
เพิ่มหัวข้อ
|
|
หลักการณ์ในหน้าหลัก เนื้อหาตามการถอดคำทับศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน ถ้ามีการแก้ไข ให้ระบุหมายเหตุไว้
เหตุผลที่นำมาคัดลอกไว้ใน วิกิพีเดีย (1) เว็บราชบัณฑิตล่มบ่อย (2) ข้อมูลที่ผิดพลาดและการสะกดผิด มีมากระดับหนึ่ง (3) ให้ชาววิกิพีเดียระดมความเห็นในการจัดรูปแบบ และปรับแก้ตัวอย่าง
บทความพูดคุยเก่าจากหน้าอื่น
[แก้]บทความนี้ ไว้ช่วยกัน ตกลงวิธีการเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น โดยถ้าใคร มีที่มา หรือบทอ้างอิงอื่น ช่วยเขียนลงเพิ่มเติม คำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น (อาจ) ไม่มีเขียนไว้อย่างแน่นอน ดังนั้น ศึกษาจากภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน และนำมาสรุป :)
เสียงภาษาญี่ปุ่น ปกติเสียงสั้นเสียงและเสียงยาวกำหนดด้วยตัวอักษรตาม แต่ในบางกรณีเสียงสั้น และเสียงยาวออกตามกรณีของประโยค
ตัวอย่างคำว่า ฮิโระชิมะ ฮิโรชิมะ Hiroshima
คำที่ต้องระวังในการเขียนทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
CH
[แก้]ตัวอักษร CH ในภาษาญี่ปุ่น แม้จะอ่านใกล้เคียงทั้งเสียง จ.จาน และ ช.ช้าง แต่เวลาเขียนเขียนเป็นตัวอักษร ช.ช้าง ตัวอย่างเช่น
- เขตชูบุ อาณาเขตบริเวณตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีเมืองนาโกยาตั้งอยู่ หลายหลายคนจะอ่านว่า จูบุ (ตอนไปเรียนก็เรียก เพิ่งรู้ว่าเขียนว่า ชูบุ)
- จุนอิชิโร โคอิซูมิ Junichiro Koizumi นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
- อิชิโร ซูซูกิ Ichiro Suzuki นักเบสบอลญี่ปุ่นชื่อดังในอเมริกา เล่นอยู่ในทีม Seattle Mariners
ch
[แก้]น่าจะใช้ จ นะครับเพราะคือเสียงtɕ http://ja.wikipedia.org/wiki/ローマ字
-ai
[แก้]- รวมไปไว้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น#สระควบเสียง
วรรณยุกต์
[แก้]ภาษาญี่ปุ่น ไม่มีวรรณยุกต์ ที่เป็นรูปร่างเหมือนภาษาไทย แต่มีการออกเสียงวรรณยุกต์ ขึ้นอยู่กับการเน้นคำ (stress) ของแต่ละคำ ในภาษาไทย บางกรณีจะกำหนดให้ตัดวรรณยุกต์ ออกหมดโดยใช้เสียงวรรณยุกต์ สามัญ สำหรับทุกคำ แต่จะมีข้อยกเว้น ดังต่อไปนี้
- คำลงท้าย สองพยางค์ หรือ สามพยางค์ สำหรับเสียง อา ท้ายประโยค จะใช้เสียงวรรณยุกต์เสียง โท โดยอยู่ในรูป ไม้โท สำหรับอักษรกลางและอักษรสูง และ ไม้เอกสำหรับอักษรต่ำ และอักษรนำ เช่น
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Manop (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
- นั่นไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่มันเป็นชื่อบริษัทที่จดทะเบียนมาอย่างนั้น จึงต้องใช้ตามชื่อบริษัท ถ้าเป็นชื่ออย่างอื่นก็ต้องตามหลักเหมือนเดิม --Octra Dagostino 11:58, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- เสริมว่าตรงกับหลัก วิสามานยนาม จากหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ --taweethaも 12:02, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- นั่นไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่มันเป็นชื่อบริษัทที่จดทะเบียนมาอย่างนั้น จึงต้องใช้ตามชื่อบริษัท ถ้าเป็นชื่ออย่างอื่นก็ต้องตามหลักเหมือนเดิม --Octra Dagostino 11:58, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
การออกเสียงทับศัพท์ตัว G
[แก้]ตามราชบัณฑิตยสถาน ขอแสดงความเห็นบางคำ เช่น คำว่า KANAGAWA ตามหลักของราชบัณฑิตฯ ต้องออกเสียง คะนะงะวะ ซึ่งในความเป็นจริง จะออกเสียงว่า คะนะกะวะ ส่วนหลักในการออกเสียงเท่าที่รู้มา ตัว G ถ้ารากศัพท์ดั้งเดิมเป็น G ถ้าไปอยู่ข้างหลังตัวอื่นจึงจะออกเสียง ง แต่ถ้าเปลี่ยนรูปจาก K เป็น G ไม่ว่ามันไปอยู่ตรงไหนของประโยคจะเปลี่ยนรูปการเขียนฮิระกะนะ เสียงเปลี่ยนเล็กน้อย จาก ค เป็น ก ทีนี้ก็ฝากไว้ว่าเราจะเอาแบบไหน ตามราชบัณฑิตฯ หรือ เอาตามเจ้าของภาษาฯ หรือไม่ก็ลองตั้งเป็นประเด็นอภิปราย เหตุเพราะเกรงว่าหากใครนำข้อมูลไปใช้สื่อสารจะเกิดความสับสน (ผมเองก็งงอยู่พักหนึ่งเมื่อเริ่มอ่านวิกิพีเดียใหม่ๆว่าเราเข้าใจผิดแต่แรก ได้ถามคนญี่ปุ่นมาได้ความมาอย่างนี้เลยเอามาบอกต่อ) --泰和 05:35, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ดูเพิ่มที่ พูดคุย:จังหวัดคะนะกะวะ --taweethaも (พูดคุย) 17:05, 20 เมษายน 2555 (ICT)
- en:wikt:神奈川県 จะเห็นว่า が ออกเสียง /ɡ̃a/ ไทยไม่มีอักษรแทนเสียง /g/ แต่เนื่องจากมีสัญลักษณ์เสียงนาสิกอยู่ข้างบน (เมื่ออยู่กลางคำเสียงนาสิกจะออกมา) จึงใช้ ง ซึ่งใกล้เคียงกว่า ก --奥虎 ボンド 10:51, 2 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)
- ดูเพิ่มที่ พูดคุย:จังหวัดคะนะกะวะ --taweethaも (พูดคุย) 17:05, 20 เมษายน 2555 (ICT)
หลักเกณฑ์ใหม่ปี 2561
[แก้]มีการอภิปรายที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การปรับปรุงคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น --Horus (พูดคุย) 03:11, 22 เมษายน 2561 (ICT)
เกณฑ์เก่า
[แก้]จะโชว์เกณฑ์เก่าเพื่อเปรียบเทียบด้วยไหมครับ เช่น อาจจะเอาไว้ล่าง ๆ แล้วเขียนติดให้ชัดเจนว่า เกณฑ์เก่า พ.ศ. 25xx --Horus (พูดคุย) 01:41, 29 เมษายน 2561 (ICT)