คุยกับผู้ใช้:Mattis/กรุ 2

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

interwiki links

สอบถามเรื่องลิงก์ข้ามไปภาษาอื่นหน่อยครับ คุณ Mattis ชอบเขียนแบบ

"ข้อความ" ([[:en:ข้อความ|ข้อความ]])

แบบนี้นะครับ ผมสงสัยว่า ถ้าเกิดมีบทความในวิกิพีเดียภาษาไทยแล้ว จะตัดเหลือแค่

"[[ข้อความ]]"

ดีไหมครับ ? บางบทความมีแล้ว แต่ยังมีลิงก์แบบข้ามไปภาษาอังกฤษอยู่ --Petje Bellพูดคุย 19:07, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

คือทำไมไม่ลองทำแบบ :

* [[นิกายโรมันคาทอลิก]] (Roman Catholic Church)

ดูล่ะครับ แทนที่จะเป็นแบบเดิม เพราะคนอ่านอาจจะงงว่าตกลงมันลิงก์ไปที่ไหนกันแน่ (คนแวะไปมา ไม่ใช่คนวิกิพีเดีย) ป.ล. ข้อความข้างต้นแค่ยกตัวอย่างมานะครับ --Petje Bellพูดคุย 19:37, 15 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

Titian

สวัสดีครับ ขอบคุณที่แจ้งเรื่อง Titian ครับ อยากรบกวนคุณ Mattis นิดหน่อยครับ ฝากช่วยแก้ไขในหน้า ทิเทียน โดยนำข้อความที่คุณ Mattis เขียนจากหน้า ทิเชียน มาลงทับอันเก่าครับ เพราะประวัติการแก้ไขจะได้ต่อเนื่องจากอันเดิม แล้วเดี๋ยวผมจะย้ายหน้า ทิเทียน → ทิเชียน ครับ ขอบคุณครับ--Manop | พูดคุย 04:12, 17 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

วิธีการเขียน

ในวิกิพีเดีย เราจะไม่ใช้ ข้อมูลเพิ่มเติม นะครับ แต่จะใช้คำว่า ดูเพิ่ม แทน เพราะว่านี่คือฟอร์เมตมาตรฐานตามระเบียบ (กรุณาอย่าไม่เห็นด้วย เพราะว่าบทความกว่าอีกหมื่นบทความใช้แบบนี้ และเป็นแม้กระทั่งบทความคัดสรรอื่น ๆ ที่คุณไม่ได้เขียนด้วย :P) --Petje Bellพูดคุย 19:44, 17 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ได้ค่ะ --Mattis 19:46, 17 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

Fresco - Mural

พอดีตามลิงก์ในบทความจิตรกรรมฝาผนังไปที่ commons เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้วใช้คำว่า murals ไม่ทราบว่าสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไรครับ หรือว่า fresco จะต้องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาเท่านั้น ?? อย่างนี้ต้องแยกเป็น จิตรกรรมฝาผนัง กับ จิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก หรือเปล่าครับ ¸·´ ¯·.¸¸.ღ 18:17, 21 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

จิตรกรรมฝาผนัง หรือ fresco เป็นคำที่ใช้ทั่วๆ ไป รวมถึง murals ด้วย และไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปะทางศาสนา อาจจะเป็นที่อยู่อาศัยก็ได้ ในบทความที่แปลอธิบายถึงวิธีที่เขียนที่รวมทั้งเขียนบนปูนเปียกและปูนแห้ง ฉะนั้นขณะนี้จึงยังไม่คิดว่าจำเป็นจะต้องแยกระหว่างปูนเปียกและปูนแห้งค่ะ --Mattis 18:28, 21 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ปีก่อน พ.ศ. + ปีก่อน ค.ศ.

สวัสดีครับ ตอนนี้มีการอภิปรายเรื่อง "ปีก่อน พ.ศ. + ปีก่อน ค.ศ." ในหน้าคุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี#ปีก่อน พ.ศ. + ปีก่อน ค.ศ. เชิญคุณ Mattis ร่วมออกความเห็นครับ ซึ่งการขอความเห็นปกติจะปรากฏอยู่ใน หน้าหลัก (ด้านล่าง) และ ศาลาประชาคม (ด้านขวาบน) ครับ --Manop | พูดคุย 04:12, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวจะลองไปดู --Mattis 04:21, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เห็นคุณทำเกี่ยวกับบทความศิลปะในยุคต่าง ๆ แล้ว ก็เลยขอแนะนำen:Template:Archhistory หน่อยนะครับ จะสร้างไว้ก็ได้ --Petje Bellพูดคุย 20:19, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ค่ะ--Mattis 20:30, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
เสร็จแล้วดูที่ แม่แบบ:Archhistory ค่ะ --Mattis 23:11, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ +บอตคุง

สวัสดี และขอบคุณครับที่ได้เป็นหนึ่งในผู้ใช้แรกๆที่ใช้บริการดังกล่าว ซึ่งเนื่องในโอกาสนี้ ผมจึงขอถามความคิดเห็นว่าต้องการให้ทางบอตคุงแจ้งให้คุณทราบด้วยข้อความสั้นๆที่หน้าคุยกับผู้ใช้คุณว่าหมวดหมู่ที่คุณเสนอได้รับการเปลี่ยนชื่อเรียบร้อยแล้ว หรือคุณคิดว่าไม่ต้องแจ้งอย่างปัจจุบันนั้น ดีอยู่แล้ว ขอบคุณครับ --Jutiphan | พูดคุย - 06:35, 23 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ขอบคุณมากค่ะที่สร้างบริการใหม่ สะดวกจริงๆ ถ้าทำเสร็จแล้วแจ้งว่าทำแล้วก็จะดีแต่จะเป็นภาระกับคุณหรือเปล่าคะ หรือแทนที่ต้องแจ้งผู้ขอเปลี่ยนก็น่าจะเพิ่มอีกคอลัมน์หนึ่งว่ามีการเปลี่ยนหรือไม่ บางครั้งอาจจะมีเหตุผลที่ไม่ควรเปลื่ยนก็ได้ ผู้แจ้งก็ไปเช็คเอาเอง ความจริงน่าจะมีช่องให้เหตุผลของการเปลี่ยนด้วยก็จะดีเหมือนกับการเปลื่ยนชื่อบทความ เพราะหมวดหมู่ไม่ควรจะเปลี่ยนกันง่ายๆ

ถ้าทิ้งตารางการเปลี่ยนชื่อไว้ก็ดีจะได้ทราบประวัติการเปลื่ยนหมวดหมู่ หรือรายการจะยาวไป มึผู้ใช้บริการมากใหมคะ...

Mattis/Articles-Bio 1

สวัสดีครับ ผมได้ลบหน้าบทความดังกล่าว ซึ่งหน้าบทความในสงวนสำหรับเนื้อหาบทความเท่านั้น รวมถึงจะไม่มีการเปลี่ยนทางมาที่หน้าผู้ใช้แต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปได้ว่าตอนที่คุณสร้างนั้น ลืมระบุคำว่าผู้ใช้: นำหน้า ซึ่งผมแนะนำหลังจากเปลี่ยนชื่อแล้ว กรุณาช่วยแจ้งลบด้วยนะครับ ขอบคุณครับที่ให้ความร่วมมือ --Jutiphan | พูดคุย - 13:01, 25 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

แจ้งแล้วค่ะ ลืมระบุคำว่า ผู้ใช้: นำหน้า ไป--Mattis 17:34, 25 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ตอนที่ผมได้แจ้งคุณให้ทราบนั้น ผมได้ดำเนินการลบให้ไปเรียบร้อยแล้วนะครับผม สำหรับการแจ้งลบ คุณสามารถใช้แม่แบบ {{ลบ}}ได้ครับ เช่น {{ลบ|สร้างผิด ได้ย้ายไปหน้า...แล้ว}} โดยใส่โค้ดนี้ไว้บนสุด โดยให้คงเนื้อหาเดิมไว้ครับผม ซึ่งผู้ดูแลระบบจะทำการตรวจสอบเอง และไม่ต้องแจ้งที่หน้า แจ้งผู้ดูแลระบบครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 06:36, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ขอบคุณค่ะ--Mattis 06:39, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

วิธีทำลิงก์ไปคอมมอนส์

สวัสดีครับ แนะนำวิธีการใช้งานนิดหน่อยครับ ถ้าต้องการลิงก์ไปที่ภาพในคอมมอนส์ สามารถทำได้โดยใส่เครื่องหมายโคลอนนำหน้าวิธีใส่ภาพเลยเช่น

หรือถ้าต้องการใส่รายละเอียดสามารถทำได้โดย

ขอขอบคุณที่แจ้งปัญหาเกี่ยวข้องกับสคริปต์จัดให้ บอตคุง หรือบอตในเครือ

สวัสดีครับ ผมได้ตอบที่หน้าคุยกับผู้ใช้ผมเรียบร้อยแล้วนะครับ โดยการแจ้งปัญหา หรือการพูดคุยส่วนใหญ่นั้น ปัจจุบันผมจะตอบกลับที่หน้าพูดคุย เพื่อให้เนื้อหาการพูดคุยอยู่ด้วยกัน และทำให้เวลากลับมาอ่านนั้นสะดวกต่อทั้งผู้ใช้อื่น และผม หากพบเจอปัญหา หรือมีข้อแนะนำอย่างไรก็แจ้งให้ทราบได้เรื่อยๆนะครับผม ขอบคุณอีกครั้งครับ --Jutiphan | พูดคุย - 12:12, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ช่วยตรวจสอบข้อมูล...Cathedral & Abbey

ช่วยดูข้อมูลข้างล่างนี้หน่อยครับ :

  • Cathedral - เป็นวัด (วิหาร หรือ มหาวิหาร หรือ โบสถ์ หรือ อะไรก็ว่าไปครับ...) ที่มีทั้งสงฆ์ (บาทหลวงและนักบวช) และ ชี
  • Abbey - เป็นวัดที่มีสงฆ์แต่ไม่มีชี
  • คอนแวนต์ - เป็นวัดที่มีชีแต่ไม่มีสงฆ์

ถ้าเกิดข้อมูลนี้ถูกจะเพิ่มไปตรงไหนดีครับ ? --Petje Bellพูดคุย 21:20, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

* Cathedral = มหาวิหาร
* Abbey ภาษาไทยใช้ แอบบี. แอบบี มาจากภาษาละติน “abbatia” ซึ่งมาจากคำว่า “abba” ในภาษาซีเรียคที่แปลว่า “พ่อ” เป็นสำนักสงฆ์คริสต์ศาสนา หรือ คอนแวนต์ ที่ปกครองโดยหลวงพ่อ (Abbot) หรือ แอบเบส (Abbess) ซึ่งเปรียบเหมือนพ่อแม่ผู้เป็นผู้นำทางความศรัทธาของชุมชนที่อยู่ใต้การนำสำนัก “แอบบี” -- ฉะนั้นจึงไม่จำกัดเพศอย่างที่เข้าใจกัน
* Convent ภาษาไทยใช้ คอนแวนต์. คอนแวนต์ คือสำนักสงฆ์ของพระ หรือหลวงพ่อ หรือชี โดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก และ นิกายอังกลิคัน ความหมายในปัจจุบันมักจะจำกัดว่าเป็นสำนักนักบวชสตรีเท่านั้น และคำว่า “monastery” ใช้สำหรับนักบวชผู้ชาย แต่ในประวัติศาสตร์สองคำนี้ใช้เปลี่ยนกันได้ -- ฉะนั้นจึงไม่จำกัดเพศอย่างที่เข้าใจกัน
* กรุณาดูการใช้เพิ่มเติมได้ที่บทความ คริสต์ศาสนสถาน ข้อมูลที่ว่ามีแล้วที่นั่น ค่ะ --Mattis 21:26, 26 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

ชื่อ

ชื่อที่ผมเปลี่ยนนี่ ผมเอาตามแบบราชบัณฑิตครับ ที่จริงก็ไม่ทราบหรอกครับว่าอิตาเลียนจริงๆแล้วเขาออกเสียงแบบไหน รู้แต่การออกเสียงตามแบบของสเปนน่ะครับ ถ้าแบบที่ท่านได้กล่าวมาถูก ก็เอาตามนั้นก็ได้ครับ .... Mda

ปี ค.ศ.

สวัสดีครับ ผมลองเพิ่มกล่องชี้แจงปี ค.ศ. ไว้ในหน้าบทความ แฮเร็นเคียมเซ กับ ธงชาติมัลดีฟส์ ไม่แน่ใจว่ากล่องที่เพิ่มจะเหมาะสมหรือไม่อย่างไร รบกวนคุณ Mattis แวะดูหน่อยครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 01:15, 19 มีนาคม 2551 (ICT)

คิดว่าดีค่ะ กลัวอยู่อย่างเดียวเท่านั้นว่าจะเป็นการเรียกร้องความสนใจ เดี๋ยวโดนประท้วง คิดว่าถ้าจะทำเปลี่ยนสักคำสองคำดีใหมคะ
“หมายเหตุ: บทความนี้ใช้ระบบปีคริสต์ศักราช เพราะเป็นส่วนหนึ่งของบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันที่ใช้ ค.ศ. และ/หรือมีการอ้างอิงไปยังคริสต์ศักราช หรือจะมีการอ้างอิงไปเมื่อขยายความ” --Mattis 02:56, 19 มีนาคม 2551 (ICT)
เร็วจริง!! ขอบคุณค่ะ --Mattis 03:29, 19 มีนาคม 2551 (ICT)

ป้าย

สวัสดีครับ ไม่มีใครทราบหรอกนะครับว่าบทความเขียนเสร็จแล้วหรือยัง บทความในวิกิพีเดียมีเป็นหมื่นนะครับ การเขียนทุกครั้งถ้าใส่อ้างอิงไว้ก็จะเป็นการดีกว่าที่ไม่ใส่อยู่แล้วนะครับ คงต้องหัดใส่อ้างอิงในบทความให้เป็นนิสัยนะครับ ไม่งั้นป้ายก็จะต้องตามมาติดอยู่ดี เพื่อเพิ่มคุณภาพของบทความในวิกิพีเดียครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:56, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

กรุณาอ่านต่อที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)#ต้องการอ้างอิง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Manop (พูดคุยหน้าที่เขียน) 03:08, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ความคิดเห็นข้างล่างนี้เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดป้าย ต้องการอ้างอิง ในบทความที่ยังเป็น โครง เท่านั้น
ที่ว่า “คงต้องหัดใส่อ้างอิงในบทความให้เป็นนิสัย” ออกจะแรงไปหน่อยนะ ลองดูผลงานของคนเขียนบ้างว่าบทความอื่นมีการอ้างอิงหรือไม่ก่อนที่จะพูดอะไรเช่นนั้น นอกจากเรื่องการอ้างอิงแล้ว ตัวดิฉันเองก็ไม่ได้แปลเฉยๆ จะเพิ่มเนื้อหา ถ้าเห็นว่าไม่ชัดเจน, ลิ้งค์ข้อมูลในบทความไปยังบทความต่างๆที่ของวิกิไทยมีอยู่แล้ว, หารูปที่เหมาะสม, และอื่นๆ ที่บอกว่าทราบได้อย่างไรว่าเขียนไม่เสร็จ ก็ทราบได้โดยป้าย โครง ข้างล่างถ้าลงไปดูเสียหน่อยก็จะเห็น ถ้ายังเขียนไม่เสร็จจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อขยายความจะมีการอ้างอิงหรือไม่ ป้ายโครงก็เป็นการบอกเป็นนัยอยู่แล้วให้ช่วยทุกอย่างอยู่แล้ว มาติดป้าย ต้องการอ้างอิง ในบทความ โครง เป็นการสั่งงานซ้ำซ้อน
ประการที่สองถ้าเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่นทั้งดุ้นและบทความต้นฉบับไม่มีการอ้างอิง มือสองจะทราบได้อย่างไรว่าผู้เขียนเดิมไปเอามาจากไหน หรือไม่แปลบทความที่ไม่มีการอ้างอิงจากภาษาอื่นเลยจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป แต่ถ้าทำเช่นนั้นก็จำกัดเรื่องที่จะแปลที่อาจจะมีประโยชน์ลงไปมาก ถ้าคุณอยากจะ 'สร้างนิสัย' ไปเตึอนผู้เขียนต้นฉบับจะถูกกว่า เวลาแปลก็พยายามแล้วที่จะไม่แปลบทความทีมีปัญหาการอ้างอิง
คิดว่าทุกคนทราบว่าการมีการอ้างอิงเป็นสิ่งดี ... กรุณาเลือกคำที่ใช้หน่อย หัดให้กำลังใจคนเขียนก่อนที่จะบอกกล่าวกันบ้างก็จะดี --Mattis 18:32, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

สวัสดีครับ

ไม่มีอะไรครับไม่ได้ทักทายมานาน แวะมาสวัสดีและแสดงความชื่นชมและขอบคุณที่ได้มาร่วมสร้างบทความจำนวนมากเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยกันครับ

เวลาผมเจอคำพูดลักษณะนี้ก็สะอึกและอยากเลิกเหมือนกัน แต่พอนึกถึงเด็กๆ ตามโรงเรียนบ้านนอกและคนไทยทั่วประเทศที่จะได้มีแหล่งค้นหาความรู้ด้วยตัวเองก็มีกำลังใจทำต่อ

เห็นด้วยเรื่องการระวังคำพูดเพราะในวิกิ เราไม่รู้ใครเป็นใครเข้ามาช่วยเขียนบ้าง ก็พอทราบเป็นเลาๆ มาบ้างว่าเคยมีผู้ใหญ่มากๆ ซึ่งบางท่านมีคนเคารพทั้งบ้านทั้งเมืองเจอคำตรงไปตรงมาตามแบบฉบับคอมพิวเตอร์ที่ไร้ความรู้สึกเข้าก็สะดุ้งโหยงและเลิกเข้ามาร่วมวงไปเลย ตอนนี้ผมชินแล้วเพราะนึกเสียว่าเขาเหล่านี้ก็เสียสละเวลามากๆ มาร่วมช่วยด้วยอุดมคติเดียวกันเหมือนกันตัวจริงคงจะต้องเป็นคนน่ารักมาก เพียงแต่พอทำไปนานๆ อยู่กับคอมฯ มากไปหน่อยเลยกลายเป็น "บอต" โดยไม่รู้ตัวกระมังครับ

อย่างไรก็ดีผมชอบบทความของคุณ Mattis มาก โดยเฉพาะด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมตะวันตก Heuristics 01:03, 22 มีนาคม 2551 (ICT)

ขอบคุณที่ช่วยสร้างบทความในวิกิพีเดียไทยเช่นกันครับ ผมก็ตามเข้าไปอ่านบทความของคุณ Mattis อยู่บ่อยๆ ครับ ยิ่งอ่านยิ่งดูรูปแล้ว ก็อยากไปเที่ยวยุโรปซักครั้งในชีวิต ถ้าเขียนวิกิพีเดียแล้วมีปัญหาด้านเทคนิคพวกจัดการแม่แบบ หรือจัดเก็บรูปแบบ ติดต่อผมได้นะครับ พอดีมีความรู้ด้านนี้นิดหน่อย --Manop | พูดคุย 01:15, 22 มีนาคม 2551 (ICT)

ปี ค.ศ.

สวัสดีครับ ขอรบกวนสอบถามความเห็นหน่อยครับ ว่าอย่างปี ค.ศ. นี้ถ้าทำการโยงเปลี่ยนทางไปปี พ.ศ. คุณ Mattis มีความเห็นว่าอย่างไรดีครับ เพราะอย่างตอนนี้หลายหน้า ค.ศ. 1108 หรือ ค.ศ. 1184 ยังไม่มี โดยการโยงไปคิดว่าคงใช้แบบมาตรฐานไทย +543 ปีครับ --Manop | พูดคุย 02:58, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

บทความที่แปลส่วนใหญ่ใช้ ค.ศ. ถ้าเปลี่ยนลิ้งค์เป็น พ.ศ. ก็จะมีทั้ง พ.ศ. และ ค.ศ. ในบทความเดียวกัน จึงคิดว่าอยากจะยั้งไว้ก่อนนะคะ นอกจากนั้นบทความทางประวัติศาสตร์, ศิลปะ, และสถาปัตยกรรมมักจะกล่าวถึง คริสต์ศักราชจึงได้ใช้ คริสต์ศักราชเป็นหลักอยู่ ไม่ทราบเข้าใจที่คุณพูดหรือเปล่า --Mattis 03:08, 27 มีนาคม 2551 (ICT)
คิดว่าเข้าใจคนละความหมายนะครับ คืออย่างถ้ากดหน้าลิงก์หน้า ค.ศ. ให้ไปโผล่ในหน้า พ.ศ. นะครับ อย่างตอนนี้จะมี
ส่วนพวก ค.ศ. ในอดีต ยังไม่ได้ทำครับ กำลังชั่งใจอยู่ว่าจะโยงไป หรือว่าจะแยกหน้า พ.ศ. / ดี
--Manop | พูดคุย 03:15, 27 มีนาคม 2551 (ICT)
อ๋อ ถ้าอย่างนั้นดีแน่ๆ ส่วน ค.ศ. ในอดีต ถ้าทำไปโผล่ พ.ศ. ได้ก็คงดี ทำให้ผู้อ่านที่คุ้นกับ พ.ศ. อ่านสบายขึ้น --Mattis 03:22, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์

สวัสดีครับ ผมแก้การสะกดผิดในคำว่า นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในคำว่า สี่ (สระอี) คุณพิมพ์ผิดเป็น สิ่ (สระอิ) ทั้งหมด ทุกบทความที่มีการกล่าวถึง --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 15:27, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

ขอบคุณมากค่ะ --Mattis 18:06, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

การเขียน

ปกติแล้วเวลาเราติดป้ายโครง เราจะติดหลังหมวดหมู่นะครับ เช่น :

[[หมวดหมู่:มหาวิหารในประเทศอังกฤษ]]
{{โครงโบสถ์}}

นอกจากนี้ กรุณาใช้แม่แบบโครงโบสถ์นะครับ อย่าใช้โครงสถานที่ เพราะนี่เป็นการระบุอย่างละเอียดอยู่แล้ว... เวลาดูจะได้ง่ายขึ้น เพื่อที่จะเขียนต่อไป เพราะถ้าเอารวมไว้กับโครงสถานที่จะมีหลายบทความครับ ทำให้อาจสับสนได้ และนี้ก็เพื่อความสะดวกของคุณ

อีกอย่างหนึ่งนะครับ ขอย้ำอีกครั้งว่า ตอนนี้คุณมานพได้ทำป้าย {{ป้ายเตือนปีคศ}} แล้ว กรุณาอย่าลืมใช้มันให้สะดวกแก่การทำงานนะครับ --Petje Bellพูดคุย 17:09, 28 มีนาคม 2551 (ICT)

ผมทำป้ายตามที่คุณ Mattis แนะนำนั่นแหละครับ แฮะแฮะ --Manop | พูดคุย 01:44, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

การอ้างอิง

สวัสดีครับ อยากรบกวนนิดหน่อยครับ พอดีผมมีไอเดียว่าน่าจะมีหน้าใหม่ที่อธิบายภาพรวมของการอ้างอิง แทนที่จะอธิบายทุกอย่างและสร้างความงงกับผู้ใช้ใหม่อย่างในหน้า การอ้างอิงแหล่งที่มา โดยคิดว่าหน้าใหม่จะช่วยลดปัญหาที่ว่า

  1. คนใหม่ไม่เข้าใจการอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิง คำสั่งการอ้างอิง
  2. คนเก่าคิดว่าทุกอย่างต้องอ้างอิง เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนต้องทำ (และเผอิญเข้าใจว่าคนใหม่รู้ทุกเรื่องและคิดตรงกันแต่ไม่ยอมทำ)

เลยได้ไอเดียมาสร้างหน้า วิกิพีเดีย:10 ข้อสำหรับการอ้างอิง เริ่มเขียนได้นิดหน่อย และชื่อก็ไม่แน่ใจว่าใช้อย่างไรดี อยากขอรบกวนช่วยอ่านผ่านต่อ หรือว่าถ้ามีความเห็นเพิ่มเติมสามารถช่วยแก้ไขได้เลยครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 01:44, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

ที่บอกมาเพราะยังทำไม่เสร็จหรือเปล่า กำลังตรวจก็เห็นอ้างอิงโผล่ตรงกลางบทความ ถ้าเป็นเช่นนั้นกรุณาใจเย็นหน่อยเพราะบางทีกำลังทำอยู่ค่ะ ถ้าเป็นปัญหาจริงๆ ก็บอกมาใหม่นะคะ --Mattis 01:47, 29 มีนาคม 2551 (ICT)
ไม่ใช่อย่างนั้นครับ และไม่ทราบว่าคุณ Mattis หมายถึงบทความไหน แต่ถ้ารบกวนก็ขอโทษครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 01:52, 29 มีนาคม 2551 (ICT)
ขอโทษทีเป็นความผิดของดิฉันเอง พอดีกำลังแก้อะไรอยู่เรื่องอ้างอิงและมันโผล่ขึ้นมาในบทความ พอได้รับเรื่องอ้างอิง ก็เลยนึกว่า “โดนดุ” อีก  :-) ความคิดของคุณดีค่ะ อ่านง่ายดีโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ามาเขียนบทความ โดยเฉพาะการให้ตัวอย่าง ข้อ 3, 4, 5 แปลว่าอะไรคะ ที่ว่าสิบข้อจะเขียนต่อใช่ไหม --Mattis 02:04, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

Province of Canterbury

Province of Canterbury กับ Province of York ทั้งสองอย่างน่าจะแปลเป็นอะไรดีครับ เพราะในภาษาอังกฤษ Province พอมาในบทความไทย ก็เป็นแขวงบ้าง มณฑลบ้าง เป็นต้น (ถ้าสนใจสร้างบทความก็ยิ่งดีเลยนะครับ) --Petje Bellพูดคุย 07:51, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

ระบบการปกครองทางการเมืองของอังกฤษแบ่งเป็นมณฑล (county) แต่ละมณฑลก็จะประกอบด้วยเมือง (town หรือ city) และ หมู่บ้าน (Hamlet หรือ village) รู้สึกคำว่าจังหวัดจะไม่เหมาะกับการใช้สำหรับการปกครองของอังกฤษ เพราะจังหวัดของไทยเราเป็นเมืองที่ตั้งของศูนย์กลางทางการบริหารภายในแต่ละจังหวัด แต่อังกฤษไม่ให้ความสำคัญกับเมืองทางการบริหารเช่นของไทย ข้อยกเว้นก็ได้แก่ ลอนดอน, แมนเชสเตอร์, บริสตอล ที่เป็นเมืองอิสระไม่ขึ้นกับมณฑลใดๆ
ส่วนที่คุณถาม Province of Canterbury กับ Province of York ไม่ใช่เขตการปกครองทางการเมืองแต่เป็นเขตการปกครองทางศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ซึ่งแบ่งเป็นสองเขตแต่ละเขตก็มีสังฆมณฑล (Diocese) ของตนเอง จึงน่าจะแปลว่า “สังฆเขต” ดูรายละเอียดได้ที่บทความเขตการปกครองของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ โดนหลอกให้เขียนอีกแล้ว! :-) --Mattis 05:26, 30 มีนาคม 2551 (ICT)
ง่ะ รู้ทันด้วย :D --Petje Bellพูดคุย 09:04, 30 มีนาคม 2551 (ICT)
แล้ว Portsmouth อ่านว่าอย่างไรดีครับ (หลอกให้เขียนรอบสอง อิอิ :)) --Petje Bellพูดคุย 18:58, 30 มีนาคม 2551 (ICT)
พอร์ทสมัธ ค่ะ แฮ่ะไม่ไหว อยากเขียนทุกอย่างแต่มีแค่สองมือ บอก(แบบพูด)ให้คนอื่นเขียนดีไหม เร็วดีนา  :-) --Mattis 19:03, 30 มีนาคม 2551 (ICT)
ก็คนเก่งอยู่นี่นี่นาครับ :P --Petje Bellพูดคุย 19:14, 30 มีนาคม 2551 (ICT)

ชื่อบทความ

ปัญหานี้รู้สึกจะเป็นปัญหาคลาสสิกเลยครับ 55 พอดีเคยมีการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วครับ แล้วเท่าที่ดูมาทุกคนจะเห็นด้วบกับการที่จะเอาเกณฑ์การตั้งชื่อตาม ราชฯ เป็นอันดับแรกครับ แต่คำที่ไม่มีในนั่น ก็ยังคงไม่มีมติว่าควรจะเอาตาม คำนิยม เสียงเดิม หรือเสียงอังกฤษ ก่อนครับ ดูได้ที่นี่ เพราะมันยังคงมีบทความที่เขียนในลักษณืดังกล่าวอีกมาก เช่น นาโปเลียน ถ้าเอาตามภาษาแม่เขาก็จะเป็น นาโปเลยง แต่ก็ยังคง นโปเลียน ดั้งเดิม แต่ฮอกไกโด ซานฟรานซิสโก กลับเอาตามภาษาแม่ ชื่อบทความมีเป็นฮกไกโด แซนแฟรนซิสโก --- ซึ่งแปลกสำหรับหลายคน ผมด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่ว่าอะไร

ส่วนตัวแล้วผมชอบยึดตามภาษาเดิมไว้ครับ แต่อันที่พูดจนได้รับความนิยมแล้ว ผมก็เอาไว้ดั้งเดิมครับ (โรม) ส่วนปรับเป็นอังกฤษนั้นผมก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอกครับ ภาษาอังกฤษก็เป็นภาษากลางของโลก แต่ก็ยังมีหลายประเทศที่ไม่ยึดตามภ.อังกฤษครับ เช่น ญี่ปุ่น หรือ จีน ทั้งสองประเทศนี้ใช้ว่าฟีเรนเซ ครับ แม้แต่กรุงโรมเขาก็ใช้ว่าโรมา ฟีเรนเซผมฟังแล้วก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกันครับ เพราะไม่เคยได้ยิน แต่สำหรับบาวาเรียแล้ว สำหรับคนที่ดูกีฬาก็จะเรียกว่าบาเยิร์นเป็นหลัก เพราะข่าวกีฬาพูดเป็นบาเยิร์นตามแบบภาษษแม่เขา แต่ตรงข้ามกันทัวร์ก็ยังคงบาวาเรียดั้งเดิม ผมจึงไม่รู้ว่าจะเอายังไงดี และอยากให้มีการคุยกันอีกรอบ เหอะๆ

ส่วนการเปลี่ยนชื่อบทความหมดเลยก็เป็นไปไม่ได้ครับ ผมเลยอยากให้ใช้ตามที่ผู้เขียนแต่ละคนจะเขียนครับ ส่วนสิ่งอื่นๆก็เอาตามแต่ละหน้าๆครับ หน้านี้เขียนว่า ฮับส์บูร์ก หน้านั้นเขียนว่า แฮบสเบิร์ก ผมก็ไม่ว่าอะไรครับ แต่พอดีอ่านหนังสือที่ราชบัณฑิตแต่ง หนังสือเรียน และก็หนังสือประวัติศาสตร์ เขาเอา ฮับส์บูร์ก เป็นหลักครับ ผมจึงขออนุญาตเปลี่ยนนิดหน่อย

ส่วนการตั้งชื่อต่อไปนั้นก็เอาตามที่ตนเองคิดละกันครับ น่าจะดีที่สุด (หรือไม่)

ขอแถมนิดหน่อย ทรง จะไม่นำหน้าคำราชาศัพท์ครับ เช่น เสด็จ = ผิด ขอบคุณครับ เหะๆ ผู้ใช้:Mda - 20:40, 31 มีนาคม 2551

ขอบคุณครับ ที่จริงราชาศัพท์ผมก็เห่ยๆเหมือนกันครับ เหะๆ (พระเชษฐภรรดา =พี่เขย พระกนิษฐภรรดา= น้องเขย พระชามาดา=ลูกเขย เปิดหนังสือดู 55) ที่จริงถ้าเขียนคำยากๆไป ก็เขียนคำภาษษธรรมดาวงเล็กตามหลังก็ได้นะครับ ส่วน ก กับ ค นั้น ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมต้องเป็น ก หรือ ค เหอะๆ มันก็คล้ายๆกันนะเนี่ย ผู้ใช้:Mda 02:10, 1 เมษายน 2551 (ICT)

สงครามโลกครั้งที่สอง

    • ชะอุ๋ย ไม่ได้นินทานะครับ แต่เจ้าแม่แปล แปลได้หมดทุกอย่างอยู่แล้ว !! --Petje Bellพูดคุย 17:26, 3 เมษายน 2551 (ICT)
  • สามารถแก้ไขคำแปลให้ได้เลยครับ (คาใจมานานแล้ว)
  • ส่วนที่อ้างอิงที่พูดถึงเนี่ย หมายความว่าเป็นอ้างอิงของบทความภาษาไทยด้วยหรือเปล่าครับ
  • คำแปลที่แปลผิดสามารถแก้ได้เลยครับ รวมไปถึงลิงค์แดงทุกอันเลย

แล้วก็ขอคำที่เหมาะสมสำหรับ campaign (การรบช่วงหนึ่งๆ) และ warfare (กลศึก) ด้วยครับ เผื่อจะมีคำที่เหมาะสมกว่า (ขอคำสั้นๆ นะครับ) --Horus 19:32, 3 เมษายน 2551 (ICT)

campaign = การรณรงค์ และ warfare กลศึก ก็น่าจะดีแล้ว --Mattis 04:26, 4 เมษายน 2551 (ICT)
  • ขอคำแปลใหม่สำหรับ campaign ด้วยครับ เพราะว่าเป็นการรบหลายๆ ครั้ง (battles) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ รบกวนด้วยนะครับ --Horus 20:04, 7 เมษายน 2551 (ICT)
คิดว่าคำว่า การรณรงค์ หมายความว่า กระบวนการของโครงการสงคราม ซึ่งคิดว่าทำนองเดียวกับ campaign เช่นการ campaign ของนโปเลียนในการครองยุโรป แต่ถ้าคุณว่าไม่ใช่ ก็คิดไม่ออกว่าจะใช้คำใดจึงจะเหมาะสมดี --Mattis 01:35, 8 เมษายน 2551 (ICT)
  • รับทราบครับ และก็ช่วยดูคำเหล่านี้ให้ด้วยครับ
partition (มีอยู่ในการแบ่งประเทศปาเลสไตน์และอินเดียครับ)
Jewish ethnic divisions = กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี ปัจจุบันใช้คำว่า ชาวยิว
freemasons (freemasonry) = กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี ปัจจุบันทับศัพท์อยู่
Porajmos = กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี  ปัจจุบันใช้คำว่า ชาวโรมัน
Jehovah's witnesses = กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี  ปัจจุบันใช้คำว่า คริสเตียนนิกายพยานพระเยโฮวาห์ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:23, 8 เมษายน 2551 (ICT)
รวมไปถึงชื่อเฉพาะอื่นๆ 

ขอบคุณมากครับ --Horus 20:07, 8 เมษายน 2551 (ICT)

partition = การแบ่งแยก หรือ การแบ่งแยกดินแดน ในบทความพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียก็มีการแบ่งแยกโปแลนด์ (น่าจะเขียนเป็นหน้าคำกำกวม เพราะเกิดขึ้นหลายครั้ง ดูที่ Partition)
Jewish ethnic divisions = ชาวยิวต่างท้องที่ หรือ ชาวยิวต่างเชื้อชาติ ถึงแม้ทั้งกลุ่มจะเป็นเชื้อชาติยิวทั้งหมดก็ตาม แต่ก็ยังแบ่งได้เป็นเชื้อชาติได้อีกตามทำเลที่มาหรือวัฒนธรรมเช่นชาวยิวอียิปต์ เซฟาร์ดิมซึ่งเป็นชาวยิวที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศสเปน หรือ คาราอิมซึ่งเป็นชาวยิวที่พูดภาษาตุรกีที่อยู่บริเวณไครเมีย เป็นต้น
freemasons (freemasonry) = สมาคมฟรีเมสัน อันนี้ติดจริงๆ เห็นมาหลายหนแล้วแต่หาคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้สักที คงต้องใช้ทับศัพท์ไปพลางๆ ก่อน
Porajmos = ชาวโรมา หรือ โรมานี (ถ้าอยากจะแยกจากโรมันให้เห็นชัดๆ) มาจากอินเดียแต่เดิม บางที่ก็เรียกว่า ชาวยิปซี แต่ไม่ใช่ชาวโรมันค่ะ (คนละกลุ่มกัน) แต่คำว่ายิปซีจะไม่ค่อยใช้กันในปัจจุบันเพราะมีความหมายทางลบเวลาใช้
Jehovah's witnesses = ผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์
รวมไปถึงชื่อเฉพาะอื่นๆ <-- ที่ไหนคะ --Mattis 20:53, 8 เมษายน 2551 (ICT)
  • อยู่ในหน้าบทความสงครามโลกครั้งที่สองครับ ขอบคุณที่ให้ความสนับสนุนครับ ตอนนี้บทความใกล้จะเสร็จแล้วนะครับ (แต่ลิงค์แดงนี่เถือกเลย) -_- --Horus 21:37, 8 เมษายน 2551 (ICT)

ทอเลมี

รบกวนช่วยเขียนขยายบทความ ทอเลมี ได้ไหมครับ ว่ายังมี en: Ptolemy I Soter และ 1-15 และ en:Ptolemy (name) ฯลฯ พอดีไม่ค่อยมีพื้นฐานทางนี้น่ะครับ t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 19:08, 2 เมษายน 2551 (ICT)

ดูที่ ทอเลมี (ชื่อ) --Mattis 04:03, 4 เมษายน 2551 (ICT)

ทบทวนเรื่องแม่แบบอีกครั้ง

ใส่อย่างนี้นะครับ :

{{พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ}} <-- ตรงนี้"ต้อง"มาก่อนหมวดหมู่

[[หมวดหมู่:กษัตริย์อังกฤษ|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]
[[หมวดหมู่:ชาวอังกฤษ|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์เวสเซ็กซ์|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]
[[หมวดหมู่:นักบุญ|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]
[[หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 10|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]
[[หมวดหมู่:มรณสักขีของคริสเตียน|อ็เดเวิร์ดผู้พลีชีพ]]

{{birth|962}} <- |
{{death|978}} <- | -> สามอันนี้มาหลังหมวดหมู่ถูกแล้ว
{{โครงชีวประวัติ}} <- |

หวังว่าคงจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ --Petje Bellพูดคุย 22:09, 5 เมษายน 2551 (ICT)

เจ้าแม่แปลขอรับ ช่วยตรวจสอบหน้านี้ด้วยนะขอรับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง --Petje Bellพูดคุย 22:30, 5 เมษายน 2551 (ICT)
อูย... นี่แหละครับ ย่อหน้าในฝัน... แปลไม่เก่งเลย คุณมัทนาทำยังไงครับถึงเก่งขนาดนี้... ภาษาไพเราะมาก และจับใจความง่ายมากด้วย อย่างนี้สิถึงจะควบสองตำแหน่ง เจ้าแม่แปล กับ เจ้าแม่คริสต์ --Petje Bellพูดคุย 22:59, 5 เมษายน 2551 (ICT)

ตอบ

เอ่อ... เกิดปัญหาทางการทดสอบทางเทคนิคน่ะครับ ที่ช่องบันทึก ต้องกด "ดูตัวอย่าง" ก่อน เสร็จแล้วจะบันทึกได้ --Petje Bellพูดคุย 15:35, 6 เมษายน 2551 (ICT)

ลองวิธีที่ว่าแล้วค่ะ ใช้ได้ ขอบคุณ --Mattis 15:51, 6 เมษายน 2551 (ICT)
อ้อ แล้วก็ Tramlink เอาชื่อเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดีครับ --Petje Bellพูดคุย 16:22, 6 เมษายน 2551 (ICT)
Tramlink เป็นศัพท์เฉพาะ จึงควรทับศัพท์เป็น แทรมลิงค์ ไปเลย --Mattis 16:27, 6 เมษายน 2551 (ICT)
ขอบคุณครับ เอ๊ะ ว่าแต่ลืมเตรียมหมูหัน ธูป เทียน แล้วก็ ฯลฯ เลย :D --Petje Bellพูดคุย 16:49, 6 เมษายน 2551 (ICT)
ขอร้องล่ะครับ ไม่รู้จะแปลยังไงแล้ว ตรง นี้ เท่านั้นเองครับ ไม่รู้จะแปลยังไง (ส่วนใหญ่แปลหมดแล้ว) --Petje Bellพูดคุย 20:13, 6 เมษายน 2551 (ICT)
สวยเชียว ควรทับศัพท์หมด จะให้ถอดชื่อให้หรือคะ --Mattis 20:17, 6 เมษายน 2551 (ICT)
ไม่ใ่ช่ค้าบบบบบบ... ข้างล่างตาราง ตรง " * Where a.. " แปลไม่ได้ครับ ส่วนสายจะไม่ยอมถอดชื่อเด็ดขาดครับ เนื่องจากว่าไม่งั้นเดี๋ยว สาย Circle กลายเป็น เซอร์เคิล แล้ว Victoria จะ้ใช้ ค หรือ ก แล้วเดี๋ยวก็มาเถียงกันอีกยาวอ่ะครับ ปล่อยแบบนี้ดีกว่า จะได้ไม่ต้องเถียง ไม่ต้องค้าน ไม่ต้องสนับสนุน --Petje Bellพูดคุย 20:33, 6 เมษายน 2551 (ICT)
อ้อ... เสร็จแล้วเกลาเอาเองนะคะ --Mattis 20:45, 6 เมษายน 2551 (ICT)