คุยกับผู้ใช้:Bandai153

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Bandai153 สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Bandai153! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 17:35, 5 มีนาคม 2561 (ICT)

มหาวิทยาลัยมีนิยามพิเศษที่ไม่เหมือนโรงเรียน[แก้]

จากการแก้ไขของคุณในหน้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุณทำ คุณต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่านิยามของคำว่า "มหาวิทยาลัย" คืออะไร มิเช่นนั้นคุณก็สามารถเอาสำนักฝึกหัดการต่อสู้ของอาจารย์ชีปะขาวสมัยอยุธยามายกเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยได้ กลับไปลองอ่านหน้ามหาวิทยาลัย แล้วลองพิจารณาดูก่อนที่จะจัดมหาวิทยาลัยใด ๆ เข้ากลุ่มเก่าแก่หรือไม่เก่าแก่ อ่านประวัติศาสตร์แล้วกรุณาพิจารณาสภาพ สถานะทางกฎหมายขององค์กร องค์ประกอบการบริหารองค์กร ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในขณะนั้นว่ามีสถานะทางกฎหมายเป็นหาวิทยาลัยหรือยัง นอกจากสถานะทางกฎหมายแล้ว ต้องดูด้วยว่ามีหลักสูตร มีงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือยัง คำว่า "มหาวิทยาลัย" เป็นคำใหม่ที่ประเทศไทยแปลมาจาก University ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีมาตั้งแต่เดิม จุฬาฯ เป็นหน่วยงานแรกที่ประเทศไทยที่ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่ามหาวิทยาลัย ปรากฏในพระบรมราชโองการประดิษฐาน ซึ่งมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายสูงสุดเทียบเท่ากับ พรบ. เพราะเป็นการตรากฎหมายของประมูขของประเทศ ไม่ใช่มากล่าวอ้างกันเองว่ามีการสอนวิชาการชั้นสูงเหมือนมหาวิทยาลัย แล้วจะยกอะไรขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้ ประวัติศาสตร์มีถูกมีผิด และต้องพยายามทำความเข้าใจนิยามเสมอที่ศึกษาจึงจะตีความได้ถูกต้อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยตามนิยามที่ถูกต้องแบบตะวันตก ที่มีองค์ประกอบครบทั้งสถานะทางกฎหมายขององค์กร ประสาทปริญญาบัตรได้เป็นที่แรกในขณะที่มหาวิทยาลัยที่คุณเข้าใจว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกยังไม่ทันจะเขียนหลักสูตรได้ครบถ้วนเสียอีก ยังไม่ทันมีโครงสร้างสภามาหวิทยาลัย ไม่มีระเบียบบริหารงาน แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าเป็นมหาวิทยาลัยได้อย่างไร ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ครบองค์ประกอบเพิ่งจะเกิดขึ้นไม่มีกี่สิบปีที่ผ่านมานี่เอง

ประเทศไทยเป็นนิติรัฐ การจัดตั้งองค์การของรัฐจะเกิดขึ้นได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจ มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีกฎหมายตราให้อำนาจ ที่ชื่อเรียกว่ามหาวิทยาลัยชัดเจนเป็นที่แรก คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรงตามนิยามคำว่า "มหาวิทยาลัย" ในพจนานุกรมทุกฉบับ

ในบทความ การศึกษาในรูปแบบ "มหาวิทยาลัย" ที่ท่านใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลอ้างอิงว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของไทย มีความตอนหนึ่งว่า

แม้รัชกาลที่ ๕ จะมีพระราชดำริที่จะให้ทางคณะสงฆ์จัดการศึกษาในรูปแบบ "มหาวิทยาลัย" ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถสนองพระราชดำรินี้ให้เป็นรูปธรรมได้ ทั้งนี้ คงเป็นเพราะทางคณะสงฆ์ไม่มีพระเถรานุเถระ ที่มีความรู้ความสามารถที่จะดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัย

ซึ่งเป็นการยืนยันว่าการมีชื่อว่าเป็น "ราชวิทยาลัย" ไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่าการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในสถานะ "มหาวิทยาลัย" ได้สำเร็จ และแม้จะใช้คำว่า "สากลวิทยาลัย" ในยุคต่อมา ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดการศึกษาในระดับ "มหาวิทยาลัย" ได้สำเร็จเพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะประถม มัธยม ยังไม่ครบถ้วนทำให้ยังไม่สามารถผลิตคนส่งเข้าการศึกษาระดับ "สากลวิทบยาลัย" ได้ สากลวิทยาลัยเพิ่งจะมาสำเร็จและเป็นรูปเป็นร่างได้จริงในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็คือการถือกำเนิดขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความที่ท่านใช้อ้างอิงมีจุดประสงค์เพียงเพื่ออธิบายและตามหาร่องรอยทางประวัติศาสตร์การใช้คำว่า "มหาวิทยาลัย"หรือ "วิทยาลัย" ในประเทศไทย เท่านั้น ที่สำคัญมันยังบอกอย่างชัดเจว่า ไม่มีสถาบันไหนพัฒนาไปถึงคำว่า "มหาวิทยาลัย" โดยคุณสมบัติได้เลยตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อสถาบันให้มีความว่า "วิทยาลัย" หรือ มหา.....ราชวิทยาลัย ก็ยังไม่ถึงนิยามคำว่ามหาวิทยาลัยได้ จนกว่าจะมีระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นมารองรับการผลิตบุคคลเข้ามาเรียน ซึ่งมาสำเร็จเอาเป็นเป็นครั้งแรกในยุค "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

และถ้าหากจะใช้หลักนิติรัฐในการนิยามคำว่ามหาวิทยาลัย เอกสารราชกิจจานุเบกษาชิ้นแรกที่ปรากฏคำว่า "มหาวิทยาลัย" ประกาศเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2460 เล่มที่ 34 หน้าที่ 20 มีชื่อประกาศว่า

ประกาศ เรื่อง ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ

นี่คือการประกาศใช้กฎหมายตั้งสถานศึกษาที่มีคำว่า "มหาวิทยาลัย" ฉบับแรกของประเทศไทย นั่นหมายความว่า คำว่ามหาวิทยาลัยถูกใช้อยากเป็นทางการในเอกสารฉบับนี้ภายใต้พระปรมาภิธัย ตามหลักนิติศาสตร์แล้วกฎหมายที่ออกโดยองค์พระประมุขจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้กับกฎหมายที่ใหม่กว่า จนกว่าจะถูกบอกเลิกไป หรือจนกว่าจะขัดกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ทำให้นิยามคำว่ามหาวิทยาลัยผูกติดกับประกาศฉบับนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา นี่จึงเป็นที่มาที่คนไทยเข้าใจว่า "จุฬาลงมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย" สรุปก็คือความเข้าใจของคุณที่ว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่นี่เป็นเพียงสถานศึกษาที่ปรากฏการใช้คำว่า "วิทยาลัย" เป็นแห่งแรกเท่านั้น แต่ไม่มีองค์ประกอบอื่นใดที่อยู่ในเกณฑ์คำว่า "มหาวิทยาลัย" หรือแม้แต่มีโครงสร้างสถาบันที่เทียบเท่ากับองค์กรระดับมหาวิทยาลัย โปรดสังเกตย่อหน้าแรกของบทความ การศึกษาในรูปแบบ "มหาวิทยาลัย" ที่ท่านใช้อ้างอิง ผู้เขียนเขาเพียงแต่เขียนว่า

มหาธาตุวิทยาลัย เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้ใช้คำว่า "วิทยาลัย"

ผู้เขียนใช้ประโยคว่า "เป็นแห่งแรกที่ใช้คำว่า 'วิทยาลัย'" แต่ไม่ได้แปลว่าสถาบันนี้เป็นมหาวิทยาลัย เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ เรามักจะเรียกนิสิตแพทย์เล่น ๆ ว่า "หมอ" ทั้งที่โดยคุณสมบัติแล้ว "เขาไม่ใช่หมอ" เขาเป็นเพียงนิสิตที่กำลังเรียนเพื่อเป็นแพทย์ ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ยังไม่มีปริญญา เช่นเดียวกับกรณีนี้ท่านก็ไม่สามารถเรียกสถาบันที่ "ถูกเรียกว่าวิทยาลัย" ว่า "เป็นมหาวิทยาลัย" ได้ หากองค์ประกอบของสถาบันนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ของ "มหาวิทยาลัย" --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ BunBn (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20:29, 5 มีนาคม 2561 (ICT)

--BunBn (คุย) 19:31, 5 มีนาคม 2561 (ICT)

ขอชื่นชมครับ[แก้]

ขอชื่นชมในงานที่คุณทำครับ เยี่ยมมากครับ--Farang Rak Tham (คุย) 22:20, 16 เมษายน 2561 (ICT)

บทความนี้็เป็นบทความ GA แล้ว[แก้]

บทความภาษาอังกฤษ Global Buddhist Network ได้ผ่านระดับ Good Article แล้วครับ เผื่อยังไม่ทราบ--Farang Rak Tham (คุย) 02:34, 1 พฤษภาคม 2561 (ICT)