ความสัมพันธ์เซอร์เบีย–ลิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์เซอร์เบีย–ลิเบีย
Map indicating location of Libya and Serbia

ลิเบีย

เซอร์เบีย

ความสัมพันธ์เซอร์เบีย–ลิเบีย เป็นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเซอร์เบียกับลิเบีย โดยลิเบียมีสถานทูตของตนในกรุงเบลเกรด[1] และเซอร์เบียมีสถานทูตของตนอยู่ที่กรุงตริโปลี[2]

ประวัติ[แก้]

บอริส ตาดิช และมูอัมมาร์ กัดดาฟี

มูอัมมาร์ กัดดาฟี สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตที่แน่นแฟ้นกับยูโกสลาเวีย จากนั้นจึงได้รักษาความสัมพันธ์ไว้กับเซอร์เบีย[3]

ความเชื่อมโยงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการค้าอาวุธครั้งแรกระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียกับลิเบีย และระหว่างเซอร์เบียกับลิเบียหลังจากการล่มสลายของยูโกสลาเวีย[4] ผู้ผลิตเครื่องบินหลายลำของกองทัพอากาศลิเบียคือซอกอของยูโกสลาเวีย (ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาปัจจุบัน)[5][6] กัดดาฟียัคงรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตที่แน่นแฟ้นกับเซอร์เบีย หลังจากการล่มสลายของยูโกสลาเวียและหลังสงครามระหว่างปี 1991–1995[7] มีการอ้างว่าประชาชนในเซอร์เบียสนับสนุนระบอบการปกครองของกัดดาฟี[8][9][10]

สงครามกลางเมืองลิเบีย[แก้]

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2011 เซอร์เบียรับรองอย่างเป็นทางการว่าสภาถ่ายโอนอำนาจชาติเป็นรัฐบาลที่ปกครองลิเบีย[11] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์กับรัฐบาลเฉพาะกาลตึงเครียดตั้งแต่ต้นสงครามกลางเมืองลิเบีย เมื่อชาวเซิร์บ 5 คนถูกกลุ่มกบฏต่อต้านกัดดาฟีจับกุม โดยสงสัยว่าพวกเขาต่อสู้เป็นทหารรับจ้างให้แก่กัดดาฟี[12] เมื่อเดือนเมษายน 2012 ทั้งห้าคนยังคงถูกควบคุมตัวในลิเบีย[13][14] จากนั้นทางการลิเบียรายงานว่ามีทหารรับจ้างมาจากบาญาลูกาเพิ่มมากขึ้น[15] ดรากัน ชูตานอวัตส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเซอร์เบีย ปฏิเสธรายงานที่ว่าเครื่องบินรบของเซอร์เบียได้ทิ้งระเบิดในลิเบีย[16]

หลังสงครามกลางเมือง[แก้]

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เจ้าหน้าที่สถานทูตเซอร์เบียสองคนในลิเบียถูกลักพาตัว ตามรายงานของกระทรวงการต่างประเทศเซอร์เบีย[17]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "BG: Zastava pobunjenika na ambasadi". B92.net (ภาษาเซอร์เบีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2022. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
  2. "Ambasada Srbije nema informacije o hapšenju Srba". Kurir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2012. สืบค้นเมื่อ August 25, 2011.
  3. "Libya's Balkan connections: Qaddafi's Yugoslav friends". The Economist. February 25, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2017. สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.
  4. "LSE London School of Economics and Political Sciences - New meaning for an old relationship: Serbia's arms deals during Gaddafi's reign - December 20, 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  5. "Airliners.net - Liyban Air Force G-2 Galeb (December 4, 2006) - Chris Lofting". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  6. "ABC News - NATO to take charge over No Fly Zone in Libya - March 24, 2011". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ April 16, 2023.
  7. "The Economist - Libya's Balkan connections - February 25, 2012". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ April 16, 2023.
  8. Libya Revolt - 79% of Serbians gave support to Colonel Gaddafi เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "The World - Gaddafi supporters in Serbia - April 8, 2011". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  10. "Facebook Pages - Support for Muammaer al-Gaddafi from the people of Serbia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-04-02.
  11. "Novosti - Vlada Srbije priznala pobunjenike u Libiji (Serbian) - August 25, 2011". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2011. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  12. "Balkaninsight - Captured Serbs in Libya await their fate - September 15, 2011". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  13. "Zatoceni Srbi zivi i zdravi". Alo!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2012. สืบค้นเมื่อ March 28, 2012.
  14. "B92 - March 31, 2011 - Jos bez optuznice za uhapsene Srbe". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  15. "نقلا عن راديو BIR أن طائرات تنطلق من مطار بنيالوكا بجمهورية صرب البوسنة تنقل مرتزقة صرب للمشاركة في قمع المتظاهرين في ليبيا". Libya al Youm. 27 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2018. สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.
  16. "22 FEB 11 / 18:12:41 Belgrade Denies Serbian Planes Bombed Libya Protesters". Balkan Insight. 22 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.
  17. ХРИСТОВА, Карина (8 November 2015). "В Ливии похитили двух сотрудников сербского посольства". kp.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.