กระบวนการสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติอัฟกานิสถาน (ซ้าย), กลุ่มตาลีบัน (กลาง) และสหรัฐอเมริกา (ขวา)

กระบวนการเพื่อสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghan peace process) ประกอบด้วยโครงการข้อเสนอและการเจรจาเพื่อสิ้นสุดสงครามที่ยังดำเนินอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน ถึงแม้จะมีความพยายามเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในปี 2001 การเจรจาและขบวนการเรียกร้องสันติภาพได้เริ่มมีมากขึ้นในปี 2018 ท่ามกลางการพูดคุยระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งมีทหารประจำอยู่ 20,000 นายในประเทศเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอัฟกัน กับตาลีบัน กลุ่มก่อความไม่สงบหลัก ซึ่งต่อสู้กับรัฐบาลอัฟกันและกองทัพอเมริกัน นอกจากนี้ตาลีบันยังเคยโจมตีเป้าที่เป็นพลเรือน การพูดคุยส่วนใหญ่มีขึ้นที่โดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์ ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานตาลีบัน เป็นที่คาดการณ์ว่าการตกลงร่วมกันระกว่างตาลีบันกับสหรัฐจะนำไปสู่การถอนกำลังทหารอเมริกันออกจากอัฟกานิสถาน และเป็นการเริ่มต้นการเจรจาเพื่อสันติภาพในประเทศอัฟกานิสถานเอง[1] นอกจากสหรัฐแล้วยังมีประเทศอำนาจใหญ่ในภูมิภาค เช่นปากีสถาน, จีน และรัสเซีย เช่นเดียวกับเนโต ที่มีส่วนช่วยผลักดันขบวนการสันติภาพนี้[2][3]

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 สหรัฐอเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพอย่างมีเงื่อนไขกับตาลีบัน[4] ซึ่งระบุให้มีการถอนกองกำลังต่างชาติออกจากอัฟกานิสถานภายใน 14 เดือน[5][6] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2020 รัฐบาลอัฟกันซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเจรจานี้ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของทั้งตาลีบันและสหรัฐที่ให้มีการสลับตัวนักโทษภายในวันที่ 10 มีนาคม 2020 โดยประธานาธิบดี Ashraf Ghani ระบุว่าข้อตกลงเช่นนี้จะต้องการการต่อรองเพิ่มเติมอีก และจะไม่ถูกปฏิบัติตามเป็นเงื่อนไข (precondition) เพื่อการเจรจาสันติภาพในอนาคต[7][8][9][10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "HPC welcomes Khalilzad's efforts for intra-Afghan talks". pajhwok.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  2. "US, Russia, China, Pakistan urge Taliban to agree for ceasefire, begin talks with Afghan govt". @businessline.
  3. "not excluded from peace process in Afghanistan: China". India Today.
  4. Rai, Manish. "U.S.-Taliban Deal: India should Chalk-out a New Strategy". OpedColumn.News.Blog.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. George, Susannah (February 29, 2020). "U.S. signs peace deal with Taliban agreeing to full withdrawal of American troops from Afghanistan". WashingtonPost.com.
  6. Mashal, Mujib (February 29, 2020). "U.S. Strikes Deal With Taliban to Withdraw Troops From Afghanistan". MSN.com. The New York Times.[ลิงก์เสีย]
  7. Schuknecht, Cat (March 1, 2020). "Afghan President Rejects Timeline For Prisoner Swap Proposed In US-Taliban Peace Deal". NPR. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
  8. https://www.politico.com/news/2020/03/01/afghan-peace-deal-prisoner-release-118473%7Ctitle=Afghan[ลิงก์เสีย] peace deal hits first snag over prisoner releases|author=Associated Press|publisher=Politico|accessdate=March 1, 2020}}
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbcreject
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reject
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reject2