ความตกลงปางหลวง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ความตกลงปางหลวง | |
---|---|
ให้สัตยาบัน | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 |
ที่ตั้ง | ปางหลวง รัฐฉาน |
ผู้ลงนาม | อองซาน, ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์กะฉิ่น, ชีน และฉาน |
วัตถุประสงค์ | ให้สิทธิปกครองตนเองแก่ชาวชีน กะฉิ่น และฉาน |
ความตกลงปางหลวง (อังกฤษ: Panglong Agreement; พม่า: ပင်လုံစာချုပ်, [pɪ̀ɰ̃ lòʊɰ̃ sà dʑoʊʔ]) เป็นความตกลงระหว่างพม่า ไทใหญ่ ชีน และกะชีน ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อจัดตั้งสหภาพพม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ความตกลงนี้ไม่บรรลุผลเพราะพม่าไม่ปฏิบัติตาม
ก่อนการลงนาม
[แก้]การประชุมปางหลวงครั้งที่ 1
[แก้]เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดรัฐชาน (สหรัฐไทยเดิม) คืนจากไทยแล้ว ได้มีการประชุมเพื่อตัดสินชะตากรรมของชาติตนเองเรียกว่าการประชุมปางหลวงจัดขึ้นที่เมืองปางหลวงในรัฐชานเมื่อวันที่ 20–28 มีนาคม พ.ศ. 2489 การประชุมครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษส่งนายสตีเวนสัน[ใคร?] เข้าร่วม ตัวแทนฝ่ายพม่าได้แก่ อู้นุ อู บาเกียน มาน บาขิ่น อูซอว์ การประชุมครั้งนี้พม่าเรียกร้องให้รัฐชานรวมกับพม่าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]
การประชุมปางหลวงครั้งที่ 2
[แก้]หลังจากการประชุมปางหลวงครั้งแรก พม่าได้ทำความตกลงอองซาน–แอตลีกับอังกฤษเพื่อรวมอาณานิคมของอังกฤษทั้งหมดเข้ากับสหภาพพม่าฝ่ายรัฐชานจึงจัดการประชุมปางหลวงระหว่าง 3–12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เพื่อปฏิเสธการเข้ารวมตัวกับพม่า ตัวแทนฝ่ายกะชีนเข้าร่วมประชุมกับไทใหญ่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ และตัวแทนจากรัฐชีนเข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ และตกลงจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขาเพื่อต่อรองกับฝ่ายพม่า
ตัวแทนฝ่ายพม่านำโดยอองซานพร้อมกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมประชุมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อเจรจากับตัวแทนสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขาจนเป็นที่มาของการลงนามในสนธิสัญญาปางหลวงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]
คณะกรรมการที่ลงนามในความตกลงปางหลวง
[แก้]คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมและลงนามในความตกลงปางหลวง ฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่[1]
|
|
สาระสำคัญของความตกลง
[แก้]- ตัวแทนของชาวเขา จะได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงเกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐชายแดน
- สมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา ต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารเฉพาะด้าน ที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ
- ที่ปรึกษาข้าหลวงและผู้ช่วยที่ปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดินแดนของตนเอง
- กำหนดรายละเอียดในการตั้งรัฐกะชีน
- ประชากรในรัฐชายแดนมีสิทธิเท่ากับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ
- การดำเนินงานตามสนธิสัญญาต้องไม่ละเมิดสิทธิทางการคลังของรัฐชาน รัฐชีน และรัฐกะชีน[ต้องการอ้างอิง]
การร่างรัฐธรรมนูญและสิทธิถอนตัว
[แก้]สภาร่างรัฐธรรมนูญเริ่มประชุมที่ย่างกุ้งระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 24 กันยายน พ.ศ. 2490 ตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ แสดงความต้องการให้จัดตั้งสหพันธรัฐอย่างแท้จริง แต่ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีมือปืนบุกเข้ามายิงอองซานและที่ปรึกษาคนอื่นเสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนทิศทางไป[ต้องการอ้างอิง]
เมื่ออองซานเสียชีวิต อู้นุขึ้นมาเป็นผู้นำแทน สิทธิในการถอนตัวได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญตามสนธิสัญญาเพื่อลดแรงกดดันจากกลุ่มรัฐชายแดน โดยระบุเงื่อนไขดังนี้
- ต้องผ่านไป 10 ปีจึงถอนตัวได้
- ต้องได้เสียง 2 ใน 3 ของสภาแห่งรัฐ
- ผู้นำของรัฐต้องแจ้งให้ผู้นำของสหภาพทราบเพื่อดำเนินการลงประชามติ
ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญมีเพียงรัฐชานกับรัฐกะยาเท่านั้นที่มีสิทธิถอนตัว รัฐกะชีนกับรัฐกะเหรี่ยงปฏิเสธการเข้าร่วมแต่แรก ส่วนรัฐชีนถูกกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้[ต้องการอ้างอิง]
ผลที่เกิดขึ้น
[แก้]ก่อนที่รัฐชานจะใช้สิทธิถอนตัวตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2501 ฝ่ายพม่าส่งกำลังทหารเข้ามาแทรกซึมเพื่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐชาน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ฝ่ายรัฐชานพยายามเรียกร้องสิทธิให้เท่าเทียมกับพม่าในสหภาพและเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่นายพลเนวี่นก่อรัฐประหารขึ้นเสียก่อนเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ จับผู้นำชนกลุ่มน้อยเข้าที่คุมขัง สิทธิในการถอนตัวจึงถูกระงับไปโดยปริยาย[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พรพิมล ตรีโชติ. ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. กทม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2542. หน้า 252-253
- อัคนี มูลเมฆ. รัฐชาน:ประวัติศาสตร์และการปฏิวัติ.มติชน. 2548
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ความตกลงปางหลวงภาคภาษาอังกฤษ เก็บถาวร 2007-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(อังกฤษ)