ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร (พระบุญชุ่ม ญาณสํวโร) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2508 บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า |
บรรพชา | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 |
อุปสมบท | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 |
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
ศาสนา | พุทธ |
สัญชาติ | ไทย |
สำนัก | เถรวาท |
สาย | สายพระป่า |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ครู | ครูบาศรีวิชัย |
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีชาวไทย โดยเฉพาะสายพระป่าภาคเหนือที่ก่อตั้งโดยครูบาศรีวิชัย[1] ผู้ศรัทธาชาวพม่ารู้จักท่านในฐานะ Mong Pong Sayadaw (မိုင်းဖုန်းဆရာတော်)[2] ท่านปฏิบัติธรรมแบบโดดเดี่ยวอย่างเคร่งครัด และเป็นที่รู้จักจากการปฏิบัติธรรมแบบเดี่ยวในถ้ำในประเทศไทย พม่า และลาว[3][4] ท่านได้รับการเรียกขานเป็น "พระสงฆ์สามชาติ"[5]
ครูบาบุญชุ่มได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากชาวยวน ไทใหญ่ ชาวลาว และชาวภูฏาน[6]
ประวัติ
[แก้]ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ครูบาบุญชุ่ม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช
ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่พูดภาษาไทใหญ่ที่เดิมมาจากเมืองยอง ใกล้เชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า[3] ปู่ย่ายตายายอพยพเข้าเชียงแสน ประเทศไทย[3]
หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 12 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529[7] เวลา 9:19 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ชีวิตช่วงหลัง
[แก้]นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ[8] เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว[9]
ท่านมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศไทยและพม่าในช่วงปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงโดยทำนายได้อย่างแม่นยำว่าเด็กที่ติดอยู่จะถูกค้นพบเมื่อใดและจะพบว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่[10]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 หลังบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ท่านประชวรและจำต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สื่อไทยหลายแห่งรายงานว่าท่านได้รับการวินิจฉัยเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับพระอาจารย์ รวมทั้งค่ารักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Khruba Bonchum: A symbol of peace". Burma News International (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "မိုင်းဖုန်းဆရာတော် ဘဒ္ဒန္တဉာဏသံဝရအရှင်သူမြတ်အား အဂ္ဂမဟာကမ္မဌာနစရိယဘွဲ့တံဆိပ်တော် ပူဇော်ပွဲ အခမ်းအနားကျင်းပ" [Ceremony to Commemorate Mong Pong Sayadaw Bhaddanta Ñāṇasaṁvara's Receipt of the Aggamahākammaṭhānacariya Religious Title]. Shan State Government (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Khuva Boonchum - Dhamma Wiki". dhammawiki.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "Monk Who Predicted Thai Cave Rescue Hailed for 'Intervention'". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "A mystical take on the Tham Luang cave rescue". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 4 July 2018.
- ↑ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560). "ตัวใครตัวมันทางศาสนา". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Tai, Ta (2012-02-19). "ထုင္ꨵလိꨓ္ေပꨣးထိꨁမ္း: Biography of the Most Venerable Khuva Boonchum Ñāṇasaṁvaro". ထုင္ꨵလိꨓ္ေပꨣးထိꨁမ္း. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "เปิดประวัติ "ครูบาบุญชุ่ม" พระไทยที่ชาวพม่าบูชาทั้งประเทศ-องค์จิกมีทรงศรัทธา". ข่าวสด. 29 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สังเขปประวัติพระภิกษุสงฆ์ : ครูบาเจ้าบุญชุ่ม-ญาณสํวโร". พุทธะ. 5 มิถุนายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-20. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Thai King Offers Robes to Monk Who Predicted Team Trapped in Cave Would Be Found". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-07-09. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "ထိုင်းနိုင်ငံ ဘန်ကောက်တွင် ဆေးကုသမှုခံယူနေသည့် မိုင်းဖုန်းဆရာတော်၏ ကျန်းမာရေး ရာခိုင်နှုန်း ၈၀ ခန့်ပြန်လည် ကောင်းမွန်လာ". Eleven Media Group (ภาษาพม่า). 15 August 2022.