คมคาย พลบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คมคาย พลบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
คู่สมรสอลงกรณ์ พลบุตร

นางคมคาย พลบุตร (สกุลเดิม : เฟื่องประยูร) (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 3 สมัย และเป็นภรรยาของ อลงกรณ์ พลบุตร

ประวัติ[แก้]

คมคาย พลบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของนายสนิท กับนางปัทมา เฟื่องประยูร[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[2][3] และ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเกริก

คมคาย สมรสกับ นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ น.ส. สภาวรรณ พลบุตร นายธัชธรรม พลบุตร และ น.ส. พิมพ์สภา พลบุตร

การทำงาน[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คมคายได้เข้าทำงานเป็นพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลศิริราช[4] ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานการเมืองในเวลาต่อมา

งานการเมือง[แก้]

คมคาย ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี โดยได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2538 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2544 ก่อนที่จะวางมือทางการเมืองในที่สุด โดยก่อนที่จะวางมือทางการเมืองอย่างถาวรนั้น คมคาย ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรีอีกครั้งเป็นสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคชาติไทยแต่ได้แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

คมคาย พลบุตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปิดฉากชีวิตนักสู้!!! ซุ้มท่าใหม่ จันทบุรี "สนิท เฟื่องประยูร" ในวัย 76 ปี ไว้ให้เป็นตำนานเล่าขานกันต่อไป....!!!
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-05. สืบค้นเมื่อ 2013-06-09.
  3. ประวัติย่อ นางคมคาย พลบุตร (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
  4. นักการเมืองถิ่นจังหวัดจันทบุรี. คะนอง พิลุน สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗