ข้ามไปเนื้อหา

คตินิยมแบบโบลิบาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คตินิยมแบบโบลิบาร์ (สเปน: bolivarianismo) เป็นกระแสความคิดทางการเมืองซึ่งในทางทฤษฎีมีพื้นฐานมาจากชีวิตและผลงานของซิมอน โบลิบาร์ ผู้นำการเคลื่อนไหวให้อเมริกาใต้ตอนบนเป็นเอกราชจากจักรวรรดิสเปน โดยเมื่อเวลาผ่านไป เขาได้กลายเป็นปูชนียบุคคลด้วยความนิยมไม่มากก็น้อยในประเทศโบลิบาร์ทั้งหก (โคลอมเบีย, โบลิเวีย, ปานามา, เปรู, เวเนซุเอลา และเอกวาดอร์)

คตินิยมแบบโบลิบาร์ในฐานะอุดมการณ์ทางการเมืองได้รับการพัฒนาและส่งเสริมจากบรรดาพรรคการเมืองในลาตินอเมริกาที่ประกาศตัวว่าอยู่ฝ่ายซ้ายมาร์กซิสต์และรวมตัวกันในที่ประชุมเซาเปาลู[1] โดยนำกระแสความรักปิตุภูมิฮิสแปนิกอเมริกา[2][3] คตินิยมแบบสาธารณรัฐแนวมนุษยนิยมพลเมือง และสังคมนิยม[4] มารวมกันเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมจากจักรวรรดินิยม ความเหลื่อมล้ำ และการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอุดมการณ์สังคมนิยมกับคตินิยมแบบโบลิบาร์นั้นไม่น่าเข้ากันได้เมื่อพิจารณาจากบริบททางประวัติศาสตร์ เนื่องจากโบลิบาร์มีความคิดโน้มเอียงไปทางเสรีนิยมมากกว่า โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ[5]

ทุกวันนี้ ผู้นำทางการเมืองหลายคนรวมถึงประชาคมและขบวนการทางสังคมอีกหลายกลุ่มได้กำหนดนโยบายของตนโดยนำอุดมการณ์ของโบลิบาร์มาตีความในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างหนึ่งคือแผนงานที่ริเริ่มโดยอูโก ชาเบซ (อดีตประธานาธิบดีเวเนซุเอลา) และเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้นำลาตินอเมริกาอย่างราฟาเอล กอร์เรอา (อดีตประธานาธิบดีเอกวาดอร์) และเอโบ โมราเลส (ประธานาธิบดีโบลิเวีย) ซึ่งนำอุดมการณ์ของโบลิบาร์มาตีความและปรับใช้เช่นกัน โดยอยู่ในกรอบของหลักการที่เรียกว่า สังคมนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brazil's path to Bolivarian communism
  2. Simón Bolívar y el sueño de una América Unida, John V. Lombardi http://m.redined.mecd.gob.es/xmlui/bitstream/handle/11162/76720/00820093002641.pdf?sequence=1
  3. La exportacion de la revolución bolivariana hacia América Latina, Leopoldo E. Colmenares G. http://www.offnews.info/downloads/MilitaryReview_20110228_art005SPA.pdf
  4. Para los que no encuentran al Bolívar socialista (I)
  5. Lynch, John. Simón Bolívar: a life. New Haven and London: Yale University Press, 2007, p. 160. "Bolívar's economic thought favoured development within a new liberal framework ... He therefore advocated free trade and a general programme of economic liberalism to remove restraints on land and labour."