ข้ามไปเนื้อหา

การเดิมพันของปัสกาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Blaise Pascal

การเดิมพันของปัสกาล (อังกฤษ: Pascal's wager) เป็นข้อคิดเห็นทางปรัชญาอย่างหนึ่งซึ่งเสนอขึ้นครั้งแรกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยแบลซ ปัสกาล (1623-1662) ซึ่งเป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส[1] โดยได้เสนอไว้ว่า การกระทำของมนุษย์เป็นเหมือนกับการเดิมพันชีวิตหลังความตายไว้กับข้อเท็จจริงที่ว่า พระเจ้ามีจริงหรือไม่มี

ปัสกาลให้ความเห็นไว้ว่า บุคคลผู้มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล ควรจะใช้ชีวิตเสมือนว่าพระเจ้ามีอยู่จริง และควรจะเชื่อในพระเจ้า หากพระเจ้าไม่มีอยู่จริงบุคคลนั้นจะสูญเสียผลประโยชน์เพียงระดับหนึ่ง (เช่น ความเพลิดเพลินใจ ความหรูหรา บางประการ เป็นต้น) ในขณะที่หากพระเจ้ามีอยู่จริงบุคคลนั้นจะได้ผลประโยชน์อันมหาศาลเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด (ชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์) และหลีกเลี่ยงการเสียผลประโยชน์อันมหาศาลเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด (ชีวิตนิรันดร์ในนรก) ไปพร้อมๆ กัน[2]

การเดิมพันของปัสกาลมีรากฐานมาจากความเชื่อเรื่องพระเจ้าของศาสนาคริสต์ แต่การใช้ข้อคิดเห็นในลักษณะเดียวกันนี้ก็มีปรากฏอยู่ในศาสนาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ต้นฉบับของความคิดนี้ถูกกล่าวไว้ในส่วนที่ 233 ของหนังสือ "เกร็ดความคิด" (Pensees) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นหลังมรณกรรมของปัสกาล นอกจากนี้ยังมีบันทึกอื่นๆ ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ ถูกนำมารวบรวมเป็นศาสตรนิพนธ์เกี่ยวกับการปกป้องความเชื่อของชาวคริสต์อีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Connor, James A. (2006). Pascal's wager : the man who played dice with God. San Francisco: HarperSanFrancisco. pp. 180–1. ISBN 9780060766917.
  2. "Blaise Pascal", Columbia History of Western Philosophy, page 353.