การทารุณเด็กทางเพศโดยเด็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทารุณเด็กทางเพศโดยเด็ก (อังกฤษ: Child-on-child sexual abuse) หรือ ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กโดยเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการทารุณเด็กทางเพศที่เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ถูกทารุณทางเพศโดยเด็กหรือเด็กวัยรุ่นอื่น ๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่มีส่วนร่วม มีนิยามว่าเป็นกิจกรรมทางเพศระหว่างเด็ก ที่เกิดขึ้นโดย "ไม่ยินยอม ไม่เท่าเทียม หรือโดยบีบบังคับ"[1] ซึ่งรวมทั้งสถานการณ์ที่เด็กคนหนึ่งใช้กำลังกาย คำข่มขู่ การหลอกลวง หรือกลอุบายทางจิตวิทยา เพื่อให้เหยื่อร่วมมือ เป็นกิจกรรมที่ต่างจากการเล่นทางเพศ ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศ และการสำรวจทางเพศของเด็กปกติ (เช่น เล่นเป็นหมอ) เพราะว่าเป็นการจงใจเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ รวมถึงการให้ถึงความเสียวสุดยอด[2] ในหลายกรณี เด็กผู้ริเริ่มจะฉวยประโยชน์อาศัยความไร้เดียงสาของเด็กอีกคนหนึ่งที่เป็นเหยื่อ ผู้ไม่รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่สามารถทำโดยพี่น้องของเหยื่อ โดยเป็นทารุณกรรมระหว่างพี่น้อง (intersibling abuse)[3]

เหตุและการศึกษา[แก้]

ตามการศึกษาเรื่องเหตุ เด็กเล็ก ๆ ก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ปกติจะไม่รู้เรื่องกิจกรรมทางเพศโดยเฉพาะ ๆ ถ้าไม่มีเหตุภายนอก[4][5][6] และดังนั้น เด็กที่ริเริ่มหรือชักชวนให้เด็กอื่นทำกิจกรรมทางเพศ บ่อยครั้งเคยได้ตกเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่[4][5][7] หรือของเด็กอีกคนหนึ่งที่ก็เคยได้ตกเป็นเหยื่อมาก่อนเช่นกัน[8][9] เด็กเกินกว่าครึ่งเป็นเหยื่อของผู้กระทำผิดมากกว่าหนึ่ง[6] ในบางกรณี เด็กผู้กระทำผิดอาจจะประสบกับสื่อลามกหรือเห็นกิจกรรมทางเพศของผู้ใหญ่บ่อย ๆ ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ที่ปัจจุบันนี่อาจพิจารณาว่า เป็นรูปแบบของการทารุณเด็กทางเพศอย่างหนึ่ง[7]

ในบางกรณี เด็กหรือวัยรุ่นอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะทำอันตรายให้กับเด็กเหยื่อ และอาจจะทำเพราะอารมณ์ชั่ววูบ แต่ว่า นี่ก็อาจจะเป็นอันตรายกับเด็กเหยื่อ และก็ยังจัดว่าเป็นรูปแบบของทารุณกรรมประเภทนี้[10]

ความแพร่หลาย[แก้]

ความแพร่หลายของทารุณกรรมประเภทนี้ไม่รู้โดยแน่นอน ซึ่งเหมือนกับเหตุการณ์ที่ทำโดยผู้ใหญ่ มันมักจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้รายงาน เพราะสาธารณชนไม่รู้อย่างแพร่หลายว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง[2] และบ่อยครั้งเกิดขึ้นนอกการดูแลของผู้ใหญ่ และแม้ว่าบางครั้งผู้ใหญ่จะรู้ ก็อาจจะไม่สนใจคิดว่าเป็นเรื่องไม่เสียหาย เพราะไม่เข้าใจผลที่ตามมา[2] โดยเฉพาะก็คือ ทารุณกรรมระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องที่รายงานน้อยยิ่งกว่าทารุณกรรมระหว่างผู้ปกครอง-เด็ก[3] และการเปิดเผยเรื่องการร่วมประเวณีกับญาติสนิทโดยเหยื่อในวัยเด็ก เป็นเรื่องที่มีน้อยมาก[11]

ผล[แก้]

เด็กที่ถูกทารุณโดยเด็กอื่น รวมทั้งพี่น้องของตน มีปัญหาเดียวกับเด็กที่ถูกทารุณโดยผู้ใหญ่รวมทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า การใช้สิ่งเสพติด การฆ่าตัวตาย ความผิดปกติในการรับประทาน ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติในการนอน และความไม่เชื่อใจเพื่อนในเรื่องความสัมพันธ์[1][12] เหยื่อบ่อยครั้งคิดว่าเรื่องนี้ปกติ รวมทั้งคิดว่าตนเป็นผู้ริเริ่ม หรือว่า ตนได้กระทำการอย่างพร้อมใจ[11]

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความรุนแรงของปัญหาที่เป็นอาการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้กำลังหรือการบีบบังคับ ความถี่ของทารุณกรรม และระดับการล่วงล้ำของกรรม[13] เหยื่อมีโอกาสสูงขึ้นที่จะตกเป็นเหยื่ออีกต่อไปในอนาคต[14]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Shaw, J (2000). "Child on child sexual abuse: Psychological perspectives". Child Abuse & Neglect. 24 (12): 1591–1600. doi:10.1016/S0145-2134(00)00212-X. PMID 11197037.
  2. 2.0 2.1 2.2 Loseke, Donileen R.; Gelles, Richard J.; Cavanaugh, Mary M. (2005). Current Controversies on Family Violence. Thousand Oaks, CA: Sage Publications Inc. ISBN 0-7619-2106-0.
  3. 3.0 3.1 John V. Caffaroa, Allison Conn-Caffaro (2005). "Treating sibling abuse families". Aggression and Violent Behavior. Elsevier. 10 (5): 604–623. doi:10.1016/j.avb.2004.12.001.
  4. 4.0 4.1 Loveline (audio interview) (เอ็มพี3). 2007-11-05.
  5. 5.0 5.1 Bromberg, Daniel S.; Johnson, Blair T. (2001). "Sexual interest in children, child sexual abuse, and psychological sequelae for children". Psychology in the Schools. 38 (4): 343–355. doi:10.1002/pits.1023.
  6. 6.0 6.1 Gray, A; Pithers, WD; Busconi, A; Houchens, P (1999). "Developmental and etiological characteristics of children with sexual behavior problems: Treatment implications". Child abuse & neglect. 23 (6): 601–21. doi:10.1016/S0145-2134(99)00027-7. PMID 10391518.
  7. 7.0 7.1 Gray, Alison; Busconi, Aida; Houchens, Paul; Pithers, William D. (1997). "Children with sexual behavior problems and their caregivers: Demographics, functioning, and clinical patterns". Sexual Abuse: A Journal of Research and Treatment. 9 (4): 267–290. doi:10.1007/BF02674853.
  8. Marshall, WL (1997). Pedophilia: Psychopathology and theory. Sexual deviance: Theory, assessment, and treatment. New York: Guilford. pp. 152–174. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  9. Wieckowski, Edward; Hartsoe, Peggy; Mayer, Arthur; Shortz, Joianne (1998). Sexual Abuse: A Journal of Research and Treatment. 10 (4): 293–303. doi:10.1023/A:1022194021593. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  10. "Do Children Sexually Abuse Other Children? Preventing Sexual Abuse Among Children and Youth" (PDF). Stop It Now!. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  11. 11.0 11.1 Carlson, Bonnie E.; MacIol, Katherine; Schneider, Joanne (2006). "Sibling Incest: Reports from Forty-One Survivors". Journal of Child Sexual Abuse. 15 (4): 19–34. doi:10.1300/J070v15n04_02. PMID 17200052.
  12. Rudd, JM; Herzbergerb, SD (1999-09). "Brother-sister incest—father-daughter incest: a comparison of characteristics and consequences". Child Abuse & Neglect. 23 (9): 915–928. doi:10.1016/S0145-2134(99)00058-7. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Brown, Janelle C (2004-09). "child-on-child sexual abuse: An investigation of behavioral and emotional sequelae". University of Pennsylvania. p. 1539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. Arata, Catalina M. (2006). "Child Sexual Abuse and Sexual Re-victimization". Clinical Psychology: Science and Practice. 9 (2): 135–164. doi:10.1093/clipsy.9.2.135.