ข้ามไปเนื้อหา

การตกเลือดใต้เยื่อตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตกเลือดใต้เยื่อตา
(Subconjunctival bleeding)
ชื่ออื่นSubconjunctival hemorrhage, subconjunctival haemorrhage, hyposphagma
ตาของผู้ที่มีการตกเลือดใต้เยื่อตา จะเห็นว่าส่วนตาขาวมีสีแดงของเลือด
สาขาวิชาจักษุวิทยา
อาการจุดแดงที่ตาขาว เจ็บเล็กน้อยหรือไม่เจ็บเลย[1]
ภาวะแทรกซ้อนไม่มี[2]
ระยะดำเนินโรค2-3 สัปดาห์[2]
ประเภทจากการบาดเจ็บ และ เกิดขึ้นเอง[2]
สาเหตุการไอ อาเจียน การบาดเจ็บโดยตรง[2]
ปัจจัยเสี่ยงความดันเลือดสูง, เบาหวาน, อายุมาก[2]
วิธีวินิจฉัยดูจากลักษณะภายนอก[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันOpen globe, retrobulbar hematoma, conjunctivitis, pterygium[2]
การรักษาไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา[3]
ยาArtificial tears[2]
พยากรณ์โรคดี, มีโอกาสเป็นซ้ำ 10%[2]
ความชุกพบได้บ่อยมาก[4]

การตกเลือดใต้เยื่อตา (อังกฤษ: subconjunctival hemorrhage, subconjunctival haemorrhage, hyposphagma) เยื่อตามีหลอดเลือดขนาดเล็กเปราะบางจำนวนมากซึ่งแตกง่าย เมื่อหลอดเลือดนี้แตก เลือดจะไหลสู่ช่องระหว่างเยื่อตาและส่วนตาขาว

การตกเลือดใต้เยื่อตาอาจเกิดจากการไอจามเฉียบพลันหรือรุนแรง หรือเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือเป็นผลข้างเคียงจากสารกันเลือดเป็นลิ่ม[5] นอกจากนี้อาจเกิดจากการยกของหนัก อาเจียนหรือการถูตาแรงเกิน[6][7] ในกรณีอื่น อาจเกิดจากการถูกบีบคอหรือการเบ่งเนื่องจากท้องผูก และยังอาจเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเล็กน้อยในการผ่าตัดตา เช่น เลสิก

ขณะที่รอยฟกช้ำใต้ผิวหนังในตำแหน่งอื่นๆ โดยทั่วไปจะเห็นเป็นสีดำ ๆ หรือเขียวคล้ำ การตกเลือดใต้เยื่อตาทีแรกปรากฏเป็นสีแดงสดใต้เยื่อตาที่โปร่งใส ต่อมา การตกเลือดอาจลุกลามและกลายเป็นสีเขียวหรือเหลืองคล้ายรอยฟกช้ำ โดยทั่วไปหายเองใน 2 สัปดาห์[8]

การตกเลือดใต้เยื่อตามีลักษณะภายนอกที่ดูน่ากลัว แต่โดยทั่วไปแล้วไม่เจ็บ และเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายในตัวเอง แต่อาจสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง การบาดเจ็บต่อตา หรือฐานกะโหลกแตก หากไม่เห็นขอบล่างของการตกเลือด ภาวะต่างๆ เหล่านี้อาจมีอันตรายได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AAO2019
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stat2020
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AFP2010
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gold2010
  5. "Subconjunctival hemorrhage". PubMed Health on the National Institutes of Health website. May 1, 2011. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  6. "Subconjunctival hemorrhage". Fit To Do website. May 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-08. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  7. "Subconjunctival hemorrhage". Disease.com. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  8. Robert H. Grahamn (February 2009). "Subconjunctival Hemorrhage". emedicine.com. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก