ข้ามไปเนื้อหา

การขอประชามติโดยเลือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัตรลงคะแนนกระดาษวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เพื่อการไม่เช็คหนังสือเดินทางสำหรับประเทศบัลแกเรียและโรมาเนีย โดยเป็นส่วนของความตกลงเชงเกน

การขอประชามติโดยเลือก หรือ การลงประชามติโดยเลือก[1] (อังกฤษ: optional referendum, เยอรมัน: fakultatives Referendum, ฝรั่งเศส: référendum facultatif, อิตาลี: referendum facoltativo, รูมันช์: referendum facultativ) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ให้ประชาชนสามารถค้านกฎหมายที่ผ่านโดยรัฐสภาของสหพันธรัฐ (Federal Assembly) หรือกฤษฎีกาของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระดับรัฐหรือเทศบาล

ในระดับสหพันธรัฐ จะมีการจัดให้ลงคะแนนเสียงสำหรับกฎหมายทุกฉบับ ที่ได้รวบรวมลายเซ็น 50,000 รายของผู้คัดค้านโดยทำภายใน 100 วันหลังจากประกาศโดยรัฐสภา นี่ต่างจากการขอประชามติโดยบังคับเพราะต้องรวบรวมลายเซ็น อนึ่ง การขอประชามติสำหรับกฎหมายระดับสหพันธรัฐก็ยังสามารถเสนอทำได้โดยรัฐอย่างน้อย 8 รัฐ (cantonal referendum) ซึ่งต่างจากการขอประชามติโดยเลือกและการขอประชามติโดยบังคับในระดับรัฐเอง

ประวัติ

[แก้]

หลังจากความกดดันจากกระบวนการรากหญ้า จึงมีการบัญญัติการขอประชามติโดยเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "referendum", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (นิติศาสตร์) การขอประชามติ, การลงประชามติ
  2. (ฝรั่งเศส) Horizons, magazine of the Swiss National Science Foundation and the Swiss Academies of Arts and Sciences, no. 99, 2013, p. 45.