การขอประชามติโดยบังคับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปสเตอร์สนับสนุนให้สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมสันนิบาตชาติในปี 2463 สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมกับสหประชาชาติในปี 2545

การขอประชามติโดยบังคับ หรือ การลงประชามติโดยบังคับ[1] หรือ การลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร[2] (อังกฤษ: mandatory referendum, เยอรมัน: obligatorisches Referendum, ฝรั่งเศส: référendum obligatoire, รูมันช์: referendum obligatoric) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่บังคับให้มีการลงประชามติในเรื่องที่รัฐบาลระดับสหพันธรัฐ ระดับรัฐ หรือระดับเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ต้องการตัดสิน เช่นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ การเข้าร่วมเป็นภาคีกับหน่วยการปกครองอื่น ๆ ไม่ว่าจะในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารของรัฐบาลระดับรัฐหรือระดับเทศบาล[3]

การเปลี่ยนรัฐธรรมมนูญของสหพันธรัฐจำต้องได้เสียงข้างมากจากทั้งประชาชนและจากรัฐ (double majority)

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "referendum", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (นิติศาสตร์) การขอประชามติ, การลงประชามติ
  2. "mandatory referendum", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) การลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร
  3. "Referendums". ch.ch - A service of the Confederation, cantons and communes. Berne, Switzerland: Swiss Confederation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]