กลุ่มอาการเรย์
กลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Reye's syndrome |
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นเซลล์ตับของผู้ป่วยเด็กที่เสียชีวิตจากกลุ่มอาการเรย์ เซลล์ตับในภาพมีไขมันสะสมในเซลล์จึงพบติดสีจาง | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | อาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | สภาพผักเรื้อรัง, โคม่า |
สาเหตุ | ไม่ทราบสาเหตุ[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | การใช้ยาแอสไพรินในเด็ก, การติดเชื้อไวรัส[1][2] |
การรักษา | Supportive care[1] |
ยา | Mannitol[2] |
พยากรณ์โรค | 13rd long term disability[2][3] |
ความชุก | Less than one in a million children a year[2] |
การเสียชีวิต | ~30% chance of death[2][3] |
กลุ่มอาการเรย์ (อังกฤษ: Reye syndrome) เป็นโรคสมองที่ดำเนินโรครวดเร็วโรคหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติได้[1] มักพบกับภาวะเป็นพิษต่อตับแต่ไม่ค่อยพบภาวะดีซ่าน[2] อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20-40% และในกลุ่มที่ไม่เสียชีวิตนั้นหนึ่งในสามจะมีภาวะสมองเสียหายรุนแรงได้[2][3]
สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] ส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นไม่นานหลังผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส[1] ผู้ป่วยโรคนี้ 90% พบว่ามีประวัติเป็นผู้ป่วยเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน[2] ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือโรคในกลุ่มความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย[3] การตรวจเลือดอาจพบมีระดับแอมโมเนียในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ ผลตรวจระยะเวลาโปรทรอมบินนานกว่าปกติ และมักมีตับโตร่วมด้วย[2]
การป้องกันทำได้โดยการงดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก[1] หลังจากมีคำแนะนำให้งดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็กพบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ลดลงกว่า 90%[2] การวินิจฉัยให้ได้ในระยะแรกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้น การรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาประคับประคอง (supportive treatment)[1] กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะสมองบวมการให้แมนนิทอลอาจช่วยลดภาวะสมองบวมได้[2]
ผู้ที่บรรยายภาวะนี้ไว้เป็นครั้งแรกคือดักลาส เรย์ โดยได้บรรยายภาวะนี้ไว้เมื่อ ค.ศ. 1963[4] ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ปัจจุบันมีผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ประมาณ 1 คนต่อเด็ก 1 ล้านคนต่อปี[2] จากการค้นพบโรคนี้ทำให้คำแนะนำเดิมที่แนะนำให้ใช้แอสไพรินเป็นยาลดไข้ในเด็กถูกถอนออกไป คงเหลือที่ใช้แอสไพรินเฉพาะในโรคคาวาซากิเท่านั้น[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "NINDS Reye's Syndrome Information Page". NINDS. September 25, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-01. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 Pugliese, A; Beltramo, T; Torre, D (October 2008). "Reye's and Reye's-like syndromes". Cell biochemistry and function. 26 (7): 741–6. doi:10.1002/cbf.1465. PMID 18711704.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Schrör, K (2007). "Aspirin and Reye syndrome: a review of the evidence". Paediatric drugs. 9 (3): 195–204. doi:10.2165/00148581-200709030-00008. PMID 17523700.
- ↑ McMillan, Julia A.; Feigin, Ralph D.; DeAngelis, Catherine; Jones, M. Douglas (2006). Oski's Pediatrics: Principles & Practice (ภาษาอังกฤษ). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 2306. ISBN 9780781738941.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- NINDS Reye's Syndrome Information Page เก็บถาวร 2016-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |