ภาษาซาลาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซาลาร์
ประเทศที่มีการพูดมณฑลชิงไห่, มณฑลกานซู และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
ประเทศจีน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จำนวนผู้พูด70,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2tut
ISO 639-3slr

ภาษาซาลาร์เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวซาลาร์ที่อยู่ในมณฑลชิงไห่ และกานซูในประเทศจีน มีอยู่ในเมืองกุลจา (Ghulja) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ด้วย ชาวซาลาร์มีประมาณ 90,000 คน โดยพูดภาษาซาลาร์ 70,000 คน ที่เหลือพูดภาษาจีน

ชาวซาลาร์อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่อยู่ปัจจุบันเมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยอพยพมาจากทางตะวันตก นักภาษาศาสตร์เสนอว่าภาษาโอคุซที่อยู่ในกลุ่มเตอร์กิกตะวันตกเป็นจุดกำเนิดของภาษาซาลาร์ ภาษานี้ได้อิทธิพลจากภาษาจีนและภาษาทิเบตมาก

อ้างอิง[แก้]

  • Hahn, R. F. 1988. Notes on the Origin and Development of the Salar Language, Acta Orientalia Hungarica XLII (2-3), 235-237.
  • Dwyer, A. 1996. Salar Phonology. Unpublished dissertation University of Washington.
  • Dwyer, A. M. 1998. The Turkic strata of Salar: An Oghuz in Chaghatay clothes? Turkic Languages 2, 49-83