แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3)[1]

ภาพรวม[แก้]

แอ่งพายุหมุนเขตร้อนและศูนย์เตือนภัยอย่างเป็นทางการ
แอ่ง ศูนย์เตือนภัย พื้นที่รับผิดชอบ
ซีกโลกเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก
สหรัฐอเมริกา ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, ชายฝั่งอเมริกาถึง 140°ตะวันตก
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 140°ตะวันตก-180
[2]
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น เส้นศูนย์สูตร-60°เหนือ, 180-100°ตะวันออก
5°เหนือ-20°เหนือ, 115°ตะวันออก-135°ตะวันออก
[3]
มหาสมุทรอินเดียเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งอินเดีย ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 100°ตะวันออก-45°ตะวันออก [4]
ซีกโลกใต้
ใต้-ตะวันตกของ
มหาสมุทรอินเดีย
ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาเมาทริอัส
อุตุนิยมวิทยามาดากัสการ์
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, 55°ตะวันออก-90°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-40°ใต้, ชายฝั่งแอฟริกา-55°ตะวันออก
[5]
ภูมิภาคออสเตรเลีย สำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศและธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย
สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 90°ตะวันออก-141°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร-10°ใต้, 141°ตะวันออก-160°ตะวันออก
10°ใต้-36°ใต้, 90°ตะวันออก-160°ตะวันออก
[6]
มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟีจี
สำนักบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์
เส้นศูนย์สูตร-25°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
25°ใต้-40°ใต้, 160°ตะวันออก-120°ตะวันตก
[6]

ซีกโลกเหนือ[แก้]

มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[แก้]

เส้นทางเดินพายุในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

ในภูมิภาคนี้ประกอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลแคริบเบียน และ อ่าวเม็กซิโก โดยพายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวที่นี่ แตกต่างกันไปอย่างกว้างขวางจาก ตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 25 ลูกต่อปี[7] พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่ จะก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน

ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จะตรวจสอบและออกรายงาน การเฝ้าระวัง และการเตือนภัย เกี่ยวกับระบบอากาศของเขตร้อนในแอ่งแอตแลนติก ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาคสำหรับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งกำหนดโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[8] โดยเฉลี่ย จะมีพายุได้รับชื่อ 11 ลูก (สำหรับพายุโซนร้อนหรือรุนแรงกว่า) ที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดู ซึ่งโดยเฉลี่ย 6 ลูกจะกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคน และ 2 ลูกกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ ตามภูมิอากาศ กิจกรรมจะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 10 กันยายน ของแต่ละฤดู[9]

ชายฝั่งสหรัฐอเมริกาด้านแอตแลนติก และด้านอ่าว, เม็กซิโก, อเมริกากลาง, หมู่เกาะแคริบเบียน และ เบอร์มิวดา จะได้รับผลกระทบบ่อยครั้งจากพายุในแอ่งนี้ ในเวเนซุเอลา, 4 จังหวัดของแคนาดาแอตแลนติก และหมู่เกาะมาคาโรนีเซียแอตแลนติก จะได้รับผลกระทบเป็นครั้งคราว พายุในแอตแลนติกหลายลูกมีกำลังแรงจากพายุเฮอร์ริเคนประเภทกาบูเวร์ดี ซึ่งเกิดขึ้นทางชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา ใกล้กับหมู่เกาะกาบูเวร์ดี

เป็นครั้งคราวที่พายุเฮอร์ริเคน จะวิวัฒนาการเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเดินทางไปถึงประเทศในยุโรปตะวันตก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพายุเฮอร์ริเคนกอร์ดอน ซึ่งทำให้เกิดลมแรงกระจายไปทั่วประเทศสเปน และ บริติชไอลส์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[10] พายุเฮอร์ริเคนวินซ์ ซึ่งพัดขึ้นแผ่นดินทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสเปน ด้วยความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นพายุที่พัดเข้าถล่มยุโรปในสถานะพายุหมุนเขตร้อน[11]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก[แก้]

เส้นทางเดินพายุของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกนี้มีพายุก่อตัวมากเป็นอันดับสอง และมีอัตราการก่อตัวต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด โดยฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิกนี้ จะมีกิจกรรมในระหว่างวันที่ 15 พฤศภาคม ถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี และครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของกิจกรรมในภูมิภาค[12] ในช่วงปี พ.ศ. 2514 ถึง 2548 จะมีพายุก่อตัวโดยเฉลี่ยดังนี้ คือ 15-16 ลูก เป็นพายุโซนร้อน, 9 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคน และ 4-5 ลูก เป็นพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่[12]

พายุแบบนี้มักส่งผลกระทบกับเม็กซิโกตะวันตก และส่วนน้อยในรัฐใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐแคลิฟอร์เนีย), หรือทางเหนือของอเมริกากลาง ไม่มีข้อมูลสมัยใหม่ของพายุที่เข้าโจมตีแคลิฟอร์เนีย อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์จาก เสียงของพายุ ค.ศ. 1858 ที่ซานดีเอโก มีความเร็วลมมากกว่า 75 ไมล์ต่อชั่วโมง - 65 นอต (เป็นความรุนแรงในระดับร่อแร่ของพายุเฮอร์ริเคน) ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่าพายุได้ขึ้นฝั่งบนแผ่นดินจริง[13] แต่พายุโซนร้อนใน 2482, 2519 และ 2540 ทำให้เกิดแรงคลื่นลมในแคลิฟอร์เนีย[13]

พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง เริ่มขอบเขตต่อจากพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (ที่ 140 °ตะวันตก) และไปจบลงที่เส้นแบ่งเขตวันสากล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[14] ฤดูพายุเฮอร์ริเคนของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจะมีช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน[15] ซึ่งศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลางจะเป็นผู้ตรวจสอบการก่อตัวหรือพัฒนาและการเคลื่อนตัวของพายุในพื้นที่รับผิดชอบของตน[14] ก่อนหน้าที่จะมีศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ในแอ่ง มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้คือศูนย์เตือนภัยเฮอร์ริเคนร่วม ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม

พายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 ลูก เกิดหรือเคลื่อนตัวมาในแอ่งนี้ในทุกปี[15] เนื่องจากไม่มีแผ่นดินขนาดใหญ่อยู่ในแอ่งนี้หรือติดกับแอ่งนี้ การที่พายุจะเข้าโจมตีหรือพัดขึ้นฝั่งจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งมันก็เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนอินิกิ ในปี พ.ศ. 2535 ได้พัดเข้าบนแผ่นดินของฮาวาย[16] และ พายุเฮอร์ริเคนโอก ในปี พ.ศ. 2549 ได้พัดเข้าโจมตีจอห์นสตันอะทอลล์โดยตรง[17]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ[แก้]

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548 เส้นตรงที่อยู่มุมขวาของภาพคือเส้นแบ่งเขตวันสากล

มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก คือพื้นที่ที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดบนดาวเคราะห์โลก ในทุกปีจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวประมาณ 25.7 ลูกโดยเฉลี่ย ซึ่งบางครั้งกลายเป็นพายุโซนร้อนหรือรุนแรงกว่านั้น ซึ่งมีพายุไต้ฝุ่นเฉลี่ย 16 ลูกในแต่ละปี ระหว่างปี พ.ศ. 2511 ถึง 2532[7] แอ่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล รวมถึงทะเลจีนใต้ด้วย[14] ซึ่งเราอาจเห็นกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งนี้ได้ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม[18]

พายุในภูมิภาคนี้มักจะส่งผลกระทบกับ จีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และ เวียดนาม รวมทั้งหมู่เกาะโอเชียเนียมากมาย เช่น กวม, หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และ ปาเลา และบางครั้งจะส่งผลกับทบกับ กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, ไทย และแม้กระทั่งสิงค์โปร์ ที่เป็นจุดที่อยู่ไกลจากพื้นที่ที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อน คิดเป็นหนึ่งในสามของกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมด ชายฝั่งของจีน เป็นจุดที่เห็นการพัดขึ้นฝั่งของพายุหมุนเขตร้อนได้มากที่สุดในโลก[19] ส่วนกลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ และมีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้าฝั่ง 6-7 ลูกต่อปี[20]

มหาสมุทรอินเดียเหนือ[แก้]

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่อ่าวเบงกอล และพื้นที่ทะเลอาหรับ ซึ่งกิจกรรมมักจะอยู่ในพื้นที่อ่าวเบงกอล (5-6 ครั้ง) และยังคงเป็นพื้นที่ที่มีพายุมีกิจกรรมน้อยที่สุดในโลก คือมีพายุแค่ 4-6 ลูกต่อปี ซึ่งจะมีช่วงที่มีพายุก่อตัวมากที่สุด หนึ่งครั้งในเดือนเมษายน และ พฤษภาคม ก่อนมรสุมจะเข้ามามีบทบาทกับพื้นที่ และหลังจากนั้นในช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน[21] แม้ว่าจะเป็นแอ่งที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่ก็มีพายุหมุนเขตร้อนที่อันตรายที่สุดในโลกเกิดขึ้นที่นี่ได้ หนึ่งในนั้นคือ พายุไซโคลนโบลา พ.ศ. 2513 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนกว่า 500,000 คน และมีชาติที่ได้รับผลกระทบทั้ง อินเดีย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา, ไทย, พม่า และ ปากีสถาน ส่วนในพื้นที่ทะเลอาหรับ คาบสมุทรอาหรับ หรือ โซมาเลีย เป็นพื้นที่ที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก อย่างไรก็ตาม พายุไซโคลนโกนูได้เคยส่งผลกระทบกับประเทศโอมานมาแล้วในปี พ.ศ. 2550

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[แก้]

เป็นพื้นที่ที่มีโอกาสก่อตัวของระบบ ที่คล้ายกับพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก ที่สามารถมีความรุนแรงได้เทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า เมดิเคน (เมดิเตอร์เรเนียน-เฮอร์ริเคน) แม้ว่าขนาดของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ของมหาสมุทรในเขตร้อนและเมดิเตอเรเนียน จะแตกต่างกันชัดเจน ซึ่งกลไกของปรากฏการณ์นี้เกิดจาก ตวามไม่สมดุลทางอุณหพลศาสตร์ของอากาศเหนือทะเล หรือที่คล้ายกัน[22] ต้นกำเนิดของพวกมันมักจะไม่ใช่เขตร้อน และพัฒนาในพื้นที่เปิดของน้ำอย่างแข็งแกร่ง ในตอนแรกแกนเย็นของพายุหมุนจะมีความคล้ายคลึงกับพายุหมุนกึ่งเขตร้อน หรือพายุหมุนเขตร้อนผิดปกติในแอ่งแอตแลนติก เหมือน คาร์ล, วินซ์, เกรซ หรือ คริส[23] อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และต้นเดือนกันยายน จะค่อนข้างสูงกว่าแอ่ง (+24/+28 °ซ) แม้ว่าการวิจัยจะระบุว่าอุณหภูมิ 20 °ซ เป็นอุณหภูมิปกติที่จะมีการก่อตัว[24]

วรรณกรรมทางอุตุนิยมวิทยาระบุว่าระบบดังกล่าวเกิดขึ้นใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2490, เดือนกันยายน พ.ศ. 2512, เดือนมกราคม พ.ศ. 2525, เดือนกันยายน พ.ศ. 2526, เดือนมกราคม พ.ศ. 2538, เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539, เดือนกันยายน พ.ศ. 2549, เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557[25][26] ระบบในปี พ.ศ. 2538 ก่อตัวได้ดีและมีการพบตาของพายุด้วย และมีลมที่บันทึกได้ 140 กม./ชม. และมีความกดอากาศที่ 975 มิลลิบาร์ แม้ว่ามันจะมีโครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน และอุณหภูมิน้ำทะเลที่ 16 °ซ ชี้ให้เห็นว่ามันมีขั้วที่ต่ำ[27]

ซีกโลกใต้[แก้]

ภายในซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนก่อตัว เป็นประจำระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกัน พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ยังได้รับการสังเกตในบางเวลา ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกันในการแยกพื้นที่ระหว่างชายฝั่งอเมริกาและแอฟริกา ตัวอย่างเช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้กำหนดหน่วยงานต่างกัน 3 แอ่งในการติดตามการก่อตัวและเตือนภัยของพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระหว่างมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ จากชายฝั่งแอฟริกาถึง 90°ตะวันออก, ภูมิภาคออสเตรเลีย ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกา จะตรวจสอบในทุกภูมิภาค แต่แยกได้ ณ 135°ตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกใต้และมหาสมุทรอินเดียใต้

มหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้[แก้]

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้ ระหว่างชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ถึง 90°ตะวันออก และมีการตรวจสอบโดย RSMC เรอูว์นียง ขณะที่มอริเชียส, ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และหน่วยงานสภาพอากาศในมาดากัสกาก็เข้าตรวจสอบด้วยบางส่วน[28] จนกระทั่งการเริ่มต้นของฤดู 2528–29 แอ่งนี้ขยายไปถึง 80°ตะวันออก โดยระหว่าง 80°ตะวันออก ถึง 90°ตะวันออก ถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคออสเตรเลีย[29] เฉลี่ยแล้วมีพายุประมาณ 9 ลูกก่อตัวในแอ่งนี้ ขณะที่ 5 ลูก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงเทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคนหรือพายุไต้ฝุ่น[30] พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวบริเวณนี้จะมีผลกระทบต่อบางส่วนของประเทศหรือหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรอินเดีย หรือตามแนวชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา

ภูมิภาคออสเตรเลีย[แก้]

เส้นทางเดินของพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

จากกลางปี พ.ศ. 2528 แอ่งนี้ขยายไปทางทิศตะวันตกที่ 80°ตะวันออก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพรมแดนด้านตะวันตกจึงอยู่ที่ 90°ตะวันออก[29] กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมักจะมีผลกระทบกับออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ตามที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงาน ส่วนที่ถูกพายุโจมตีบ่อยที่สุดของออสเตรเลียคือช่วงระหว่างเอ็กซ์เมาท์, เวสเทิร์นออสเตรเลีย ถึงบรูม, เวสเทิร์นออสเตรเลีย[31] โดยเฉลี่ยอ่างนี้จะมีพายุประมาณ 7 ลูกต่อปี แม้ว่ามันสามารถมีมากขึ้นได้จากแอ่งอื่นๆ ได้ เช่น แปซิฟิกใต้[7][32][33] โดยมีพายุไซโคลนแวนซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเร็วลมสูงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ที่เมืองในออสเตรเลีย ประมาณ 267 กม./ชม.[34]

มหาสมุทรแปซิฟิกใต้[แก้]

เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2548

แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มต้นที่ 160°ตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ 120°ตะวันตก ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบพายุอย่างเป็นทางการคือหน่วยงานทางอุตุนิยมวิทยาของฟีจี และนิวซีแลนด์ พายุที่ก่อตัวในเขตนี้โดยทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อประเทศทางตะวันตกของเส้นวัน แม้ว่าช่วงเอลนีโญจะมีพายุก่อตัวช่วงตะวันออกของเส้นแบ่งวันใกล้กับเฟรนช์พอลินีเชีย โดยเฉลี่ยในแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัวประมาณ 1/2 ลูกและกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง

มหาสมุทรแอตแลนติกใต้[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในแอ่งนี้ได้ยาก และแอ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นแอ่งพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นทางการ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนสามารถก่อตัวได้เป็นครั้งคราวได้ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และพายุที่กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างเต็มตัวคือ พายุไซโคลนคาตารินา เมื่อปี พ.ศ. 2547 และพัดเข้าถล่มบราซิล ต่อมาคือพายุโซนร้อนแอนิตา พ.ศ. 2553 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของริโอแกรนด์โดซูล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chris Landsea. "Climate Variability table — Tropical Cyclones". Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory, National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ October 19, 2006.
  2. RA IV Hurricane Committee (March 13, 2015). Regional Association IV (North America, Central America and the Caribbean) Hurricane Operational Plan 2014 (PDF) (Report No. TCP-30). World Meteorological Organization. pp. 30–31, 101–105. สืบค้นเมื่อ March 28, 2015.
  3. WMO/ESCP Typhoon Committee (March 13, 2015). Typhoon Committee Operational Manual Meteorological Component 2015 (PDF) (Report No. TCP-23). World Meteorological Organization. pp. 40–41. สืบค้นเมื่อ March 28, 2015.
  4. RSMC — Tropical Cyclones New Delhi (2010). Report on Cyclonic Disturbances over North Indian Ocean during 2009 (PDF) (Report). India Meteorological Department. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  5. RA I Tropical Cyclone Committee (November 9, 2012). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean: 2012 (PDF) (Report No. TCP-12). World Meteorological Organization. pp. 13–14. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-29. สืบค้นเมื่อ March 29, 2015.
  6. 6.0 6.1 RA V Tropical Cyclone Committee (5 May 2015). List of Tropical Cyclone Names withdrawn from use due to a Cyclone's Negative Impact on one or more countries (PDF) (Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2014). World Meteorological Organization. pp. 2B-1 - 2B-4 (23 - 26). สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory, Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: What are the average, most, and least tropical cyclones occurring in each basin?". NOAA. สืบค้นเมื่อ November 30, 2006.
  8. Climate Prediction Center (August 8, 2006). "Background Information: The North Atlantic Hurricane Season". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ March 14, 2007.
  9. National Hurricane Center (March 8, 2007). "Tropical Cyclone Climatology". National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ March 14, 2007.
  10. Blake, Eric S. (November 14, 2006). "Tropical Cyclone Report: Hurricane Gordon: 10–20 September 2006" (PDF). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ November 29, 2006.
  11. Franklin, James L. (February 22, 2006). "Tropical Cyclone Report: Hurricane Vince: 8–11 October 2005" (PDF). National Hurricane Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ November 29, 2006.
  12. 12.0 12.1 Climate Prediction Center, NOAA (May 22, 2006). "Background Information: East Pacific Hurricane Season". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ May 24, 2006.
  13. 13.0 13.1 Chenoweth, Michael and Christopher Landsea (November 2004). "The San Diego Hurricane of 2 October 1858" (PDF). American Meteorological Society. สืบค้นเมื่อ December 1, 2006.
  14. 14.0 14.1 14.2 Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory, Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: What regions around the globe have tropical cyclones and who is responsible for forecasting there?". NOAA. สืบค้นเมื่อ July 25, 2006.
  15. 15.0 15.1 Central Pacific Hurricane Center. "CPHC Climatology". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ March 2, 2007.
  16. Central Pacific Hurricane Center (1992). "The 1992 Central Pacific Tropical Cyclone Season". สืบค้นเมื่อ March 2, 2007.
  17. Leone, Diana (August 23, 2006). "Hawaiian-named storm hits Johnston Isle". Star Bulletin. สืบค้นเมื่อ March 2, 2007.
  18. Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory, Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: When is hurricane season?". NOAA. สืบค้นเมื่อ July 25, 2006.
  19. Weyman, James C. and Linda J. Anderson-Berry (December 2002). "Societal Impact of Tropical Cyclones". Fifth International Workshop on Tropical Cyclones. Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. สืบค้นเมื่อ April 26, 2006.
  20. Shoemaker, Daniel N. (1991). "Characteristics of Tropical Cyclones Affecting the Philippine Islands" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ November 29, 2006.
  21. Joint Typhoon Warning Center (2004). "1.2: North Indian Tropical Cyclones". 2003 Annual Tropical Cyclone Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ November 29, 2006.
  22. "Medicanes: cataloguing criteria and exploration of meteorological environments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 2015-08-22.
  23. ADGEO – redirect
  24. "Microsoft Word – EGS2000-Plinius-II-Meneguzzo.doc" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-05-25. สืบค้นเมื่อ 2015-08-22.
  25. Erik A. Rasmussen and John Turner (2003). Polar lows: mesoscale weather systems in the polar regions. Cambridge University Press. pp. 214–219. ISBN 978-0-521-62430-5. สืบค้นเมื่อ January 27, 2011.
  26. Schwartz (November 7, 2011). "TXMM21 KNES 071819". Satellite Services Division. National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ November 7, 2011.
  27. "DR. JACK BEVEN'S IMAGES OF THE MEDITERRANEAN 'HURRICANE' (1995)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-22.
  28. World Meteorological Organization. "Tropical Cyclone RSMC / South-West Indian Ocean" (แม่แบบ:DOClink). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-08. สืบค้นเมื่อ November 29, 2006.
  29. 29.0 29.1 G. Kingston (August 1986). "The Australian Tropical Cyclone Season" (PDF). Australian Meteorology Magazine. 34: 103. สืบค้นเมื่อ April 29, 2013.
  30. http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/E10.html
  31. "Tropical Cyclones in Western Australia – Climatology". Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ August 8, 2006.
  32. "BoM — Severe Weather Event". Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ October 19, 2008.
  33. "Tropical Cyclone Trends". Bureau of Meteorology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ October 19, 2008.
  34. "BoM — Cyclone Vance produces highest recorded wind speed in Australia". Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ October 19, 2008.