เครื่องบินพาณิชย์โบอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง
Boeing Commercial Airpalnes
ประเภทแผนกของบริษัท โบอิง จำกัด (มหาชน)
อุตสาหกรรมการบิน
ก่อตั้ง15 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 (107 ปี), ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน
ผู้ก่อตั้งWilliam Boeing Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เรนตัน รัฐวอชิงตัน, สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลัก
Scott Carson ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ผลิตภัณฑ์เครื่องบินพาณิชย์
รายได้60,715,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2561) Edit this on Wikidata
พนักงาน
54,149
เว็บไซต์www.boeing.com/commercial

ฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง (อังกฤษ: Boeing Commercial Airplanes) เป็นแผนกของบริษัทโบอิง ซึ่งรวมถึงหน่วยผลิตที่ ซีแอตเทิล ฐานการผลิตเดิมของ บริษัทเครื่องบินโบอิง (Boeing Airplane Company) (ฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์) และลองบีช ฐานการผลิตเครื่องบินดักลาส (ฝ่ายการผลิตของแมคดอนเนลล์ ดักลาส และในปีพ.ศ. 2549 โบอิงเป็นบริษัทผลิตเครื่องบินที่มียอดสั่งซื้อสูงสุด เหนือแอร์บัสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พ.ศ. 2543

การตั้งชื่อเครื่องบิน[แก้]

ระบบเรียกชื่อเครื่องบินของโบอิง สำหรับเครื่องบินพาณิชย์ เริ่มจากชื่อต้นแบบของเครื่องบิน (เช่น 747) แล้วตามด้วยขีดและตัวเลขสามตัว(สองจำนวน) เป็นรูปแบบ โบอิง กกก-ขคค โดยทั่วโปแล้ว นับตั้งแต่เครื่องโบอิง 707เป็นต้นมา ตัวเลขที่ใช้มักจะขึ้นและลงท้ายด้วยเลข 7

ส่วนตัวเลขชื่อรุ่นเป็นตัวเลขหนึ่งตัว (เช่น -200) ตัวเลขที่ตามหลังอีกสองตัว (คค) เป็นตัวบอกบริษัทที่ทำการสั่งชื่อเครื่องบิน ซื่งเรียกว่า Boeing customer codes ตัวอย่างเช่น เครื่องบินโบอิง 747-400 ที่จะส่งมอบให้กับการบินไทย จะใช้ชื่อเรียกว่า "747-4D7" ขณะที่เครื่องบิน 737-600 ที่จะส่งมอบให้กับบริติช แอร์เวย์ จะใช้ชื่อเรียกว่า "737-636" เป็นต้น

ในบางครั้งอาจจะมีตัวอักษรใส่เพิ่มเติม โดย "ER" หมายถึง extended range หรือ "LR" หมายถึง long range

สายการผลิตในปัจจุบัน[แก้]

รุ่นที่มีการผลิตในปัจจุบัน
เครื่องบิน จำนวนที่สร้าง รุ่นยังผลิตอยู่ รุ่นที่เลิกผลิตแล้ว คำอธิบาย ความจุ เที่ยวบินแรก ส่งมอบครั้งแรก
737
10,478 700, 800, 900ER, BBJ, C-40, 737 AEW&C, P-8, 737 MAX 100, 200, 200C/Adv, 300, 400, 500, 600, 700ER, 900 2 เครื่องยนต์ ลำตัวแคบ 85-215 9 เมษายน 2510 28 ธันวาคม 2510
747
1,548 8I, 8F, BBJ 100, 100SR/B, 200, 200F/C, SP, 200M, 300, 300M/SR, 400, 400M/D/F/ER/ERF, VC-25, E-4, YAL-1 4 เครื่องยนต์ ลำตัวกว้าง 85-660 9 กุมภาพันธ์ 2512 13 ธันวาคม 2513
767
1,135 300F, KC-767, KC-46, E-767 200, 200ER, 300, 300ER, 400ER 2 เครื่องยนต์ ลำตัวปานกลาง 180-375 26 กันยายน 2524 19 สิงหาคม 2525
777
1,584 200LR, 300ER, ขนส่งสินค้า 200, 200ER, 300 2 เครื่องยนต์ ลำตัวปานกลางถึงกว้าง 301-550 12 มิถุนายน 2537 15 พฤษภาคม 2538
787
789 8, 9, 10, BBJ 2 เครื่องยนต์ ลำตัวกว้าง 210-330 15 ธันวาคม 2552 26 ตุลาคม 2554



รุ่นที่จะมีการผลิตในอนาคต
ปีที่คาดว่าจะส่งมอบ รุ่น คำอธิบาย หมายเหตุ
พ.ศ. 2562 777X โบอิง 777 รุ่นใหม่, 777-9X รุ่นที่มีความยาวเป็นพิเศษ, และ 777-8X รุ่นที่มีพิสัยการบินระยะยาวเป็นพิเศษ เครื่องยนต์ใหม่และปีกคอมโพสิตใหม่ที่มีปลั๊กพับ  
พ.ศ. 2568-2570 โบอิง เอ็นเอ็มเอ กลางตลาด, ระหว่าง 737 MAX และ 787  
หลังจาก พ.ศ. 2573 Y1/737RS รหัสสำหรับเครื่องที่จะแทนที่เครื่องรุ่น 737  

การส่งมอบ[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงเฉพาะสายการบินจากยุคเครื่องบินเจ็ท
เครื่องบิน คำสั่งซื้อ การส่งมอบ ไม่ได้บรรจุจนเต็ม
707 856 856 -
717-200 155 155 -
720 154 154 -
737 ออริจินัล 1,831 1,831 -
737 คลาสสิก 1,988 1,988 -
737 เอ็นจี 7,074 6,981 93
737 เม็กซ์ 5,011 350 4,661
747 1,418 1,418 -
747-8 154 130 24
757 1,049 1,049 -
767 1,244 1,135 109
777 1,687 1,584 103
777X 326 - 326
787 1,421 789 632
รวม 25,512 19,564 5,948

เครื่องบินที่ยกเลิกการผลิตไปแล้ว[แก้]

ออกแบบโดยโบอิง[แก้]

โบอิง 377 สตราโตครุยเซอร์
โบอิง 767-300
เครื่งบิน จำนวนที่สร้าง หมายเหตุ
1 2
6 1
6D 2
7
8 1
40 84
64 1
80 16
81 2
95 25
200 โมโนเมล 1 เปลี่ยนเป็นโมเดล 221A เป็นเครื่องบินโดยสาร 8 คน
203 7
204 7
221 โมโนเมล 1 เปลี่ยนเป็นโมเดล 221A เป็นเครื่องบินโดยสาร 8 คน
247 75
314 คลิปเปอร์ 12
367-80 1


377 สตราโตครุยเซอร์ 56 (พัฒนาสำหรับการทหาร บี-29)
707 865
720 154 รุ่นที่ปรับปรุงจาก 707
717 156 (เดิมคือ เอ็มดี-95, พัฒนามาจาก ดีซี-9)
727 1,831 เครื่องบินลำตัวแคบ, สามเครื่องยนต์
757 1,050 เครื่องบินลำตัวแคบ, สองเครื่องยนต์

ออกแบบโดยดักลาส และแมคดอนเนลล์ ดักลาส[แก้]

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-80
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10
เครื่องบิน จำนวนที่สร้าง หมายเหตุ
ดีซี-1
ดีซี-3 13,000+ ขายสิทธิการผลิตให้กับรัสเซียและญี่ปุ่น
ดีซี-4
ดีซี-5 16
ดีซี-6
ดีซี-7 338
ดีซี-8 556
ดีซี-9 976
ดีซี-10 446 และพัฒนาเป็น เอ็มดี-10
เอ็มดี-11 200 ปรับปรุงมาจาก ดีซี-10
เอ็มดี-80 ซีรีส์ 1,191 ปรับปรุงมาจาก ดีซี-9
เอ็มดี-90 117 ปรับปรุงมาจาก เอ็มดี-80

เครื่องต้นแบบ[แก้]

ฐานการผลิต[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]