อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี

พิกัด: 33°45′11″N 118°11′23″W / 33.75306°N 118.18972°W / 33.75306; -118.18972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
RMS Queen Mary
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ในลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย
ประวัติ
ชื่อ
ตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีแมรี ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
เจ้าของ
ท่าเรือจดทะเบียนลิเวอร์พูล
เส้นทางเดินเรือเซาแทมป์ตัน นครนิวยอร์ก ผ่านแชร์บูร์ (เส้นทางเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกปกติทั้งขาไปและกลับ)
Ordered3 เมษายน 1929
อู่เรือ
Yard number534
ปล่อยเรือ1 ธันวาคม 1930
เดินเรือแรก26 กันยายน 1934
สนับสนุนโดยสมเด็จพระราชินีแมรี
Christened26 กันยายน 1934
Maiden voyage27 พฤษภาคม 1936
บริการ1936–1967
หยุดให้บริการ9 ธันวาคม 1967
รหัสระบุ
ความเป็นไปโรงแรมและพิพิธภัณฑ์เรือ
สถานะเทียบท่าถาวรในลองบีช
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน):
  • 80,774 ตัน (1936)
  • 81,237 ตัน (1947)
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 77,400 ลองตัน (78,642 เมตริกตัน)
ความยาว:
  • ตลอดลำ (LOA): 1,019.4 ฟุต (310.7 เมตร)
  • แนวน้ำ (LWL): 1,004 ฟุต (306.0 เมตร)
  • แนวตั้งฉาก (LBP): 965 ฟุต (294.1 เมตร)
ความกว้าง: 118 ฟุต (36.0 เมตร)
ความสูง: 181 ฟุต (55.2 เมตร)
กินน้ำลึก: 38 ฟุต 9 นิ้ว (11.8 เมตร)
ดาดฟ้า: 12
ระบบพลังงาน: 24 × หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ
ระบบขับเคลื่อน:
  • 4 × กังหันไอน้ำแบบเกียร์ลดรอบเดี่ยว Parsons กำลัง 200,000 แรงม้า (150,000 กิโลวัตต์)
  • 4 × ใบจักร, 200,000 shp (150,000 kW)[1]
ความเร็ว:
  • 28.5 นอต (52.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32.8 ไมล์ต่อชั่วโมง) (ปกติ)
  • 32.84 นอต (60.82 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 37.79 ไมล์ต่อชั่วโมง) (ทดสอบ)
  • ความจุ: 2,140 คน: ชั้นหนึ่ง 776 คน, ชั้นสอง 785 คน, ชั้นสาม 579 คน
    ลูกเรือ: 1,100 คน
    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรีตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
    พิกัด33°45′11″N 118°11′23″W / 33.75306°N 118.18972°W / 33.75306; -118.18972
    เลขอ้างอิง NRHP92001714[2]
    ขึ้นทะเบียน NRHP15 เมษายน 1993

    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี[3] (อังกฤษ: RMS Queen Mary) หรือชื่อเต็มคือ เรือไปรษณีย์หลวงควีนแมรี เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษที่ปลดประจำการแล้ว เคยแล่นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเป็นหลักตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936–1967 สร้างโดยอู่ต่อเรือจอห์นบราวน์แอนด์คอมพานี ในเมืองไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ และให้บริการโดยสายการเดินเรือคูนาร์ดไลน์ เรือลำนี้ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับอาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ[4] เพื่อให้บริการเรือด่วนรายสัปดาห์สองลำระหว่างเซาแทมป์ตัน แชร์บูร์ และนครนิวยอร์ก เรือทั้งสองลำเป็นการตอบสนองของอังกฤษต่อเรือเดินสมุทรความเร็วสูงที่สร้างโดยบริษัทเยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศสในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 และต้นทศวรรษที่ 1930

    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ทำการเดินเรือครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1936 และได้รับรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน[5] ต่อมาก็สูญเสียรางวัลนี้ไปให้กับเอสเอส นอร์มังดี (SS Normandie) ในปี ค.ศ. 1937 แต่ควีนแมรีก็สามารถคว้ารางวัลนี้คืนได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1938 และครองแชมป์เรือเดินสมุทรที่เร็วที่สุดในโลกจนถึงปี ค.ศ. 1952 ซึ่งสถิตินี้ถูกทำลายโดยเอสเอส ยูไนเต็ดสเตต (SS United States) ลำใหม่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ควีนแมรีได้ถูกดัดแปลงเป็นเรือขนส่งทหาร และทำหน้าที่ขนส่งทหารฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงคราม ในเที่ยวเดินเรือครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1943 ควีนแมรีสามารถบรรทุกคนได้มากกว่า 16,600 คน ซึ่งยังคงเป็นสถิติสูงสุดที่เรือเคยบรรทุกคนมาจนถึงปัจจุบัน

    หลังจบสงคราม ควีนแมรีได้รับการปรับปรุงให้กลับมาบริการบรรทุกผู้โดยสารอีกครั้ง ร่วมกับควีนเอลิซาเบธ ทั้งสองลำเริ่มทำหน้าที่ตามแผนการเดิมที่วางไว้ตั้งแต่แรก คือ การเป็นเรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก บรรทุกผู้โดยสารแบบสองลำสลับกันเป็นรายสัปดาห์ เรือทั้งสองครองตลาดการขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนกระทั่งเครื่องบินเจ็ตเริ่มเฟื่องฟูในปลายทศวรรษที่ 1950 เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ควีนแมรีก็เริ่มเก่าลง และประสบภาวะขาดทุน

    หลังจากที่คูนาร์ดไลน์ประสบปัญหาผลกำไรลดลงมาหลายปี ในที่สุดควีนแมรีก็ถูกปลดประจำการอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1967 โดยออกเดินทางจากเซาแทมป์ตันเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1967 และมุ่งหน้าสู่ท่าเรือลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เรือจะถูกทอดสมออย่างถาวร เมืองลองบีชได้ทำการซื้อเรือลำนี้เพื่อมาใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีทั้งร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ และโรงแรม โดยทางเมืองได้ว่าจ้างบริษัทภายนอกหลายแห่งให้มาบริหารจัดการเรือตลอดหลายปีที่ผ่านมา และเพิ่งกลับมาควบคุมการดำเนินงานอีกครั้งในปี ค.ศ. 2021

    การสร้างและการตั้งชื่อ[แก้]

    แบบจำลองอาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (ด้านหน้า) และอาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (ด้านหลัง) สร้างโดย John Brown & Company จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์การขนส่งกลาสโกว์

    เมื่อสายการเดินเรือนอร์ดดอยช์เชอร์ ลอยด์ ของเยอรมัน ได้เปิดตัว เอสเอส เบรเมน (SS Bremen) และเอสเอส ยูโรป้า (SS Europa) เข้าประจำการ อังกฤษไม่ต้องการตามหลังในการแข่งขันต่อเรือกับเยอรมัน ไวต์สตาร์ไลน์จึงเริ่มสร้างเรือ อาร์เอ็มเอ็มวี โอเชียนิก (RMMV Oceanic) ขนาด 80,000 ตันในปี พ.ศ. 2471 ในขณะที่คูนาร์ด ไลน์ วางแผนสร้างเรือที่ไม่มีชื่อขนาด 75,000 ตันของพวกเขาเอง

    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ขณะกำลังสร้าง ปี พ.ศ. 2477

    รหัสของโครงการก่อสร้างในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ "Hull Number 534"[6] เริ่มสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2473 โดยอู่ต่อเรือ จอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี เมืองไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ การต่อเรือต้องหยุดชะงักในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2474 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ คูนาร์ด ไลน์ ได้ยื่นขอเงินกู้กับรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้การสร้างเรือเสร็จสิ้น เงินกู้ดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยมีเงินเพียงพอที่จะสร้างเรือให้เสร็จ และเรืออีกลำตามความตั้งใจ เพื่อให้บริการเรือสองลำรายสัปดาห์ไปยังนิวยอร์ก[7]

    เงื่อนไขหนึ่งของรัฐบาลคือให้ คูนาร์ด ไลน์ ควบรวมกิจการกับ ไวต์สตาร์ไลน์[8] บริษัทเดินเรือที่กำลังประสบปัญหาอีกแห่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของ คูนาร์ด ไลน์ ทั้งสองบริษัทตกลงและได้ควบรวมกิจการในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 การสร้างเรือควีนแมรีเริ่มดำเนินการต่อทันที และได้ปล่อยลงน้ำในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2477 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปีครึ่ง และมีค่าใช้จ่าย 3.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[7]

    ก่อนการปล่อยเรือ แม่น้ำไคลด์ถูกขุดให้ลึกเป็นพิเศษเพื่อรับมือขนาดของเรือ ซึ่งดำเนินการโดยวิศวกรดี. อลัน สตีเวนสัน (D. Alan Stevenson)[9]

    เรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีแมรี อัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ชื่อนี้ได้ถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งเรือปล่อยลงน้ำ

    มีคำบอกเล่าว่า เดิมทีคูนาร์ด ไลน์ ตั้งใจจะตั้งชื่อเรือว่า "วิกตอเรีย" เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมดั้งเดิมของบริษัทในการตั้งชื่อเรือที่ลงท้ายด้วย "ia" เมื่อตัวแทนของบริษัทไปขอพระบรมราชาอนุญาตจากพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในการตั้งชื่อเรือเดินสมุทรตาม "ราชินีผู้ยิ่งใหญ่" ของอังกฤษ พระองค์กล่าวว่ามเหสีของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแมรี มีความยินดี[10] ดังนั้น ตามคำบอกเล่า ตัวแทนของบริษัทจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรายงานว่า"โครงการหมายเลข 534" จะถูกเรียกว่า"ควีนแมรี"[10]

    เรื่องนี้ถูก (และยังคงถูก) ปฏิเสธโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัท เพราะตามธรรมเนียมแล้ว ชื่อของพระมหากษัตริย์จะใช้สำหรับเรือใหญ่ๆ ของกองทัพเรือเท่านั้น[11]

    อย่างไรก็ตาม คูนาร์ด ไลน์ ยังคงปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนชื่อ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าชื่อ ควีนแมรี ถูกตั้งเพื่อให้เป็นการประนีประนอมกันระหว่าง คูนาร์ด ไลน์ และ ไวต์สตาร์ไลน์ เนื่องจากทั้งสองสายมีธรรเนียมการใช้คำลงท้ายที่แตกต่างกัน[10]

    อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ติดตั้งหม้อไอน้ำ Yarrow 24 เครื่องในห้องหม้อไอน้ำสี่ห้อง และกังหันไอน้ำ Parsons สี่เครื่องในห้องเครื่องยนต์สองห้อง หม้อไอน้ำส่งไอน้ำ 400 ปอนด์/ตารางนิ้ว (28 บาร์) ที่ 700 องศาฟาเรนไฮต์ (371 องศาเซลเซียส) ซึ่งให้กำลังสูงสุด 212,000 แรงม้า (158,000 กิโลวัตต์) ไปยังใบจักร 4 จักร ที่แต่ละใบหมุนที่ 200 รอบ/นาที[12]

    เรือควีนแมรีทำความเร็วสูงสุดได้ 32.84 น็อต ในการทดสอบทางทะเล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2479

    ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

    ในปี พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรีได้เสด็จมาปล่อยเรือลงน้ำด้วยพระองค์เองในชื่อ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary)

    A post card of the rms queen mary

    ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากเซาแทมป์ตันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เซอร์เอ็ดการ์ บริทเต็น ผู้ซึ่งเป็นนายเรือของคิวนาร์ด ไวท์สตาร์ไลน์ ในขณะที่เรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ วัดน้ำหนักเรือได้ 80,774 ตันทะเบียนรวม (GRT)[13] เอสเอส นอร์มังดี (SS Normandie) เรือคู่แข่งซึ่งเดิมวัดได้ 79,280 ตันทะเบียนรวม ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขนาดเป็น 83,243 ตันทะเบียนรวม[14] เรือควีนแมรีแล่นด้วยความเร็วสูงตลอดการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ไปยังนครนิวยอร์ก ซึ่งมาถึงท่าเรือนิวยอร์กในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479

    ป้ายติดกระเป๋าของเรือควีนแมรี

    การออกแบบของเรือควีนแมรีถูกวิจารณ์ว่าโบราณเกินไป การออกแบบภายในส่วนใหญ่เป็นแบบสไตล์อาร์ตเดโค ซึ่งแลดูมีความอนุรักษ์นิยมเมื่อเทียบกับสายการเรือของฝรั่งเศสสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม เรือควีนแมรีได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากกว่าคู่แข่งในแง่ของการบรรทุกผู้โดยสาร.[10][15]

    ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2479 เรือควีนแมรีได้รับรางวัลบลูริบบันด์ ซึ่งเป็นของเรือนอร์มังดีมาก่อน ด้วยความเร็วเฉลี่ย 30.14 น็อต (55.82 กม./ชม.; 34.68 ไมล์/ชม.) ต่อจากนั้นเรือนอร์มังดีได้รับการติดตั้งใบจักรชุดใหม่ในปี 2480 และได้รับรางวัลคืน แต่ในปี 2481 เรือควีนแมรีก็ยึดรางวัลกลับมาอีกครั้ง ด้วยความเร็วเฉลี่ย 30.99 นอต (57.39 กม./ชม.; ไมล์/ชม.) ครองสถิติจนกระทั่งเสียตำแหน่งให้กับเอสเอส ยูไนเต็ด สเตต (SS United States) ในปี พ.ศ. 2495

    ภายใน[แก้]

    สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้บริการบนเรือควีนแมรี เช่น สระว่ายน้ำในร่มจำนวน 2 สระ ร้านเสริมสวย ห้องสมุด และสถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับผู้โดยสารทั้งสามชั้น ห้องดนตรีและห้องบรรยาย การเชื่อมต่อโทรศัพท์ไปยังทุกที่ในโลก สนามเทนนิสกลางแจ้ง และคอกสุนัข

    ห้องที่ใหญ่ที่สุดบนเรือคือห้องรับประทานอาหารหลักในชั้นห้องโดยสารชั้นหนึ่ง (แกรนด์ซาลอน) ซึ่งมีความสูงสามชั้นและยึดด้วยเสากว้าง บนเรือมีห้องสาธารณะปรับอากาศหลายห้อง และยังเป็นเรือเดินสมุทรลำแรกที่มีห้องสวดมนต์ของชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอังกฤษหลีกเลี่ยงลัทธิต่อต้านชาวยิวของนาซีเยอรมนี.[16]

    ห้องรับประทานอาหารหลักในชั้นแรกมีแผนที่ขนาดใหญ่แสดงเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีเส้นทางฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ผลิ และเส้นทางฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ร่วง ในระหว่างการข้ามมหาสมุทรแต่ละครั้ง โมเดลจำลองของของเรือควีนแมรีจะแสดงความคืบหน้าของเรือในเส้นทาง

    นอกเหนือจากห้องรับประทานอาหารหลัก ยังได้จัดเตรียม Verandah Grill บนลานอาบแดดที่ท้ายเรือด้านบน Verandah Grill เป็นร้านอาหารตามสั่งสุดพิเศษที่จุผู้โดยสารได้ประมาณ 80 คน และถูกดัดแปลงเป็น Starlight Club ในตอนกลางคืน บนเรือยังมี Observation Bar ซึ่งเป็นห้องนั่งเล่นสไตล์อาร์ตเดคโคพร้อมวิวทะเล

    การตกแต่งภายในของเรือควีนแมรี
    ห้องอาหารหลักชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่า "Grand Salon" ภาพฝาผนังด้านบนมีแบบจำลองของเรือที่เคลื่อนไหวได้ซึ่งแสดงความคืบหน้าของเส้นทางเดินเรือ
    ห้องอาหารหลักชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่า "Grand Salon" ภาพฝาผนังด้านบนมีแบบจำลองของเรือที่เคลื่อนไหวได้ซึ่งแสดงความคืบหน้าของเส้นทางเดินเรือ 
    ภาพจิตรกรรมฝาผนังในห้องรับประธานอาหารอาหารหลักหรือ "Grand Salon" ซึ่งมีแบบจำลองติดตามความคืบหน้าของเส้นทางเดินเรือ
    ภาพจิตรกรรมฝาผนังในห้องรับประธานอาหารอาหารหลักหรือ "Grand Salon" ซึ่งมีแบบจำลองติดตามความคืบหน้าของเส้นทางเดินเรือ 
    ห้องรับประทานอาหารหลักชั้นแรก
    ห้องรับประทานอาหารหลักชั้นแรก 
    บาร์สังเกตการณ์ (Observation Bar)
    บาร์สังเกตการณ์ (Observation Bar) 
    บาร์สังเกตการณ์ (Observation Bar) (2)
    บาร์สังเกตการณ์ (Observation Bar) (2) 

    สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

    เอชเอ็มที ควีนแมรี เดินทางถึงท่าเรือนิวยอร์ก ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พร้อมทหารสหรัฐหลายพันนาย

    ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2482 เรือควีนแมรีเดินทางกลับจากนิวยอร์กไปยังเซาแทมป์ตัน ด้วยสถานการณ์ระหว่างประเทศทำให้เรือควีนแมรีถูกคุ้มกันโดยเรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอส ฮูด (HMS Hood) และมาถึงอย่างปลอดภัย

    แล้วออกเดินทางไปนิวยอร์กอีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน เมื่อเรือควีนแมรีมาถึงนิวยอร์ก ก็ได้มีการประกาศสงครามและได้รับคำสั่งให้เทียบท่าอยู่ในท่าเรือกับเอสเอส นอร์มังดี จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม[ต้องการอ้างอิง]

    เรือนอร์มังดี, ควีนแมรี และ ควีนเอลิซาเบธ ในนิวยอร์กในปี 2483 จอดเทียบท่าเนื่องจากสงคราม

    ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2483 เรือควีนแมรีและนอร์มังดีได้จอดเทียบท่าในท่าเรือนิวยอร์กร่วมกับเรือควีนเอลิซาเบธ เพื่อนร่วมวิ่งลำใหม่ของเรือควีนแมรี ที่เพิ่งกลับจากการเดินทางลับจากไคลด์แบงก์ เรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งสามลำจอดนิ่งอยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรตัดสินใจว่าสามารถใช้เรือทั้งสามลำเป็นเรือลำเลียงพลได้

    เรือนอร์มังดีอัปปางด้วยเพลิงไหม้ระหว่างการดัดแปลงเป็นเรือลำเลียงพล ส่วนเรือควีนแมรีออกเดินทางจากนิวยอร์กไปยังซิดนีย์ ออสเตรเลีย พร้อมกับเรือเดินสมุทรอื่นๆ ที่ถูกดัดแปลงเป็นเรือลำเลียงพลเพื่อบรรทุกทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไปยังสหราชอาณาจักร[17]

    ในขณะที่เรือควีนแมรีจอดอยู่ในลองบีช ปืนต่อต้านอากาศยานถูกวางโชว์ไว้ด้านหน้าเพื่อแสดงถึงสงครามโลกครั้งที่สอง

    ในช่วงการเป็นเรือลำเลียงพลในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวเรือทั้งลำได้ถูกทาสีเทากรมท่า ด้วยสีใหม่ของเรือ ประกอบกับความเร็วอันยอดเยี่ยมของเรือ เรือควีนแมรีจึงได้ฉายาว่า "ผีสีเทา" (Grey Ghost)

    มีการติดตั้งขดลวดล้างสนามแม่เหล็กไว้รอบนอกตัวเรือ เพื่อป้องกันทุ่นระเบิดแม่เหล็ก ส่วนเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งด้านในถูกนำออกและแทนที่ด้วยเตียงไม้สามชั้น ซึ่งต่อมาถูกได้แทนที่ด้วยเตียงพับ "สแตนดี้"[18]

    พรมทั้งหมด 6 ไมล์ (10 กิโลเมตร) หีบเครื่องจีน 220 หีบ คริสตัล เครื่องเงิน สิ่งทอ และภาพวาดถูกนำออกและนำไปเก็บไว้ในโกดังในช่วงระยะเวลาของสงคราม เครื่องไม้ในห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหารชั้นแรก และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ถูกหุ้มด้วยหนัง

    เรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธเป็นเรือลำเลียงพลที่ใหญ่และเร็วที่สุดในช่วงสงคราม ซึ่งบรรทุกทหารได้มากถึง 15,000 คนในการเดินทางครั้งเดียว และมักจะเดินทางนอกขบวนโดยไม่มีเรือคุ้มกัน เพราะด้วยความเร็วที่สูงและเส้นทางคดเคี้ยวไปมาทำให้เรืออูไม่สามารถตรวจจับได้[ต้องการอ้างอิง]

    ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เรือควีนแมรีได้จมเรือคุ้มกันลำหนึ่งโดยบังเอิญ ซึ่งได้เฉี่ยวเรือลาดตระเวนเบา เอชเอ็มเอส คูราคา (HMS Curacaa) ที่นอกชายฝั่งไอร์แลนด์โดยคร่าชีวิตผู้คนไป 239 คน ส่วนเรือควีนแมรีกำลังบรรทุกทหารอเมริกันหลายพันคนจากกองทหารราบที่ 29[19] เพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังสัมพันธมิตรในยุโรป[20] และเนื่องจากความเสี่ยงของการโจมตีจากเรืออู เรือควีนแมรีจึงได้รับคำสั่งไม่ให้หยุดเรือไม่ว่าในกรณีใด ๆ[21]

    ในวันที่ 8–14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เรือควีนแมรีได้บรรทุกทหาร 10,389 นายและลูกเรือ 950 นาย (รวมทั้งหมด 11,339 นาย)[22] ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ได้เกิดพายุลมแรงอยู่ห่างจากสกอตแลนด์ 700 ไมล์ (1,100 กิโลเมตร) จู่ๆ เรือควีนแมรีก็ถูกคลื่นยักษ์ซัดที่ด้านข้างลำเรือ ซึ่งคลื่นอาจสูงถึง 28 เมตร (92 ฟุต) แต่โชคดีที่เรือไม่ได้อัปปาง[23][24]

    ในวันที่ 25–30 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เรือควีนแมรีได้บรรทุกทหาร 15,740 นายและลูกเรือ 943 นาย (รวมทั้งหมด 16,683 นาย)[25] ซึ่งเป็นสถิติที่บรรทุกผู้โดยสารมากที่สุดเท่าที่เคยมีการขนส่งในเรือลำเดียว[26]

    ในช่วงสงคราม เรือควีนแมรีได้พานายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล ของอังกฤษ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อไปพบปะกับเจ้าหน้าที่กองกำลังสัมพันธมิตรหลายต่อหลายครั้ง เขามีชื่ออยู่ในรายการผู้โดยสารว่า "พันเอกวอร์เดน" (Colonel Warden)[27] เชอร์ชิลล์ได้กล่าวในภายหลังว่า"เรือควีนแมรีได้ทำให้สงครามสั้นลงหนึ่งปี"

    เรือควีนแมรีที่ท่าเรือนิวยอร์ก
    เรือควีนแมรีในปี พ.ศ. 2508

    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

    เรือควีนแมรีเทียบท่าที่ท่าเรือเซาแทมป์ตัน ในปี พ.ศ. 2503
    เรือควีนแมรี บนทะเลเหนือ ในปี พ.ศ. 2502
    เรือควีนแมรี ในนิวยอร์ก ปี พ.ศ. 2504

    หลังจากส่งเจ้าสาวในสงครามไปยังแคนาดาแล้ว เรือควีนแมรีก็เดินทางกลับได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยกลับมายังเซาแทมป์ตันในเวลาเพียงสามวัน 22 ชั่วโมง 42 นาที ด้วยความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า 32 นอต (59 กม./ชม.)[28]

    ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2490 เรือควีนแมรีได้รับการปรับปรุงใหม่สำหรับบริการผู้โดยสาร โดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเปลี่ยนรูปแบบของชั้นผู้โดยสารเป็นชั้นเฟิร์สคลาส 711 ห้อง (เดิมเรียกว่าชั้นโดยสาร) ชั้นโดยสาร 707 ห้อง (เดิมคือชั้นนักท่องเที่ยว) และชั้นนักท่องเที่ยว 577 ห้อง (เดิมคือชั้นสาม)[29] หลังจากได้รับการปรับปรุงแล้ว เรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธได้ครองตลาดการขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในฐานะบริการเรือด่วนสองลำประจำสัปดาห์ของสายการเดินเรือคิวนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์

    ตลอดช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1940 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 เรือทั้งสองลำนี้ได้ทำกำไรอย่างมหาศาลสำหรับสายการเดินเรือคิวนาร์ด ไลน์ (เมื่อบริษัทถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2490)

    ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 เรือควีนแมรีได้เกยตื้นที่เมืองแชร์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส และได้รับการช่วยเหลือในวันรุ่งขึ้น[30] และได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง

    ในปี พ.ศ. 2495 เรือควีนแมรีได้สูญเสียรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ที่ได้ครองเป็นระยะเวลา 14 ปีให้กับเรือ เอสเอส ยูไนเต็ด สเตตส์ (SS United States) ในการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์

    ในปี พ.ศ. 2501 เที่ยวบินพาณิชย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรกโดยเครื่องบินเจ็ทได้เริ่มขึ้น ด้วยเวลาเดินทางจากลอนดอน ถึงนิวยอร์กเพียง 7-8 ชั่วโมง ความต้องการในการเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในการเดินทางบางครั้งโดยเฉพาะในฤดูหนาว จะมีจำนวนลูกเรือมากกว่าผู้โดยสาร แม้ว่าทั้งเรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยมากกว่า 1,000 คน ต่อการเดินทางหนึ่งครั้งจนถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960[31] ในปี พ.ศ. 2508 กองเรือของคิวนาร์ด ไลน์ทั้งหมดให้บริการโดยประสบภาวะขาดทุน

    ด้วยความหวังที่จะจัดหาเงินทุนให้กับเรืออาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (RMS Queen Elizabeth 2) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ คิวนาร์ดจึงได้จำนองเรือส่วนใหญ่ เนื่องจากอายุของเรือที่มากขึ้น กับการขาดความสนใจจากสาธารณชน ความไร้ประสิทธิภาพในตลาดยุคใหม่ และผลกระทบจากการนัดหยุดงานของลูกเรือ คิวนาร์ดจึงประกาศว่าทั้งเรือควีนแมรีและควีนเอลิซาเบธจะถูกปลดประจำการและถูกขาย มีการส่งข้อเสนอมาจำนวนมาก และการเสนอราคา 3.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.2 ล้านปอนด์) จากลองบีช แคลิฟอร์เนีย แซงหน้าพ่อค้าเศษเหล็กของญี่ปุ่น[32]

    เรือควีนแมรีถูกปลดประจำการในปี พ.ศ. 2510[33] ในวันที่ 27 กันยายน เรือควีนแมรีได้เดินทางเที่ยวที่ 1,001 สำเร็จ[34]

    ในตลอดการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เรือควีนแมรีได้บรรทุกผู้โดยสารไปทั้งหมด 2,112,000 คน เป็นระยะทางกว่า 6,102,998 กม. (3,792,227 ไมล์)

    วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เรือควีนแมรีออกเดินทางจากเซาแทมป์ตันเป็นเที่ยวปัจฉิมฤกษ์ พร้อมผู้โดยสาร 1,093 คนและลูกเรือ 806 คน หลังจากการเดินทางรอบแหลมฮอร์น เรือควีนแมรีก็ได้เดินทางมาถึงลองบีชในวันที่ 9 ธันวาคม[32] และต่อมาเรือควีนเอลิซาเบธก็ถูกปลดประจำการในปี 2511

    ลองบีช[แก้]

    เรือควีนแมรีมองจากด้านเหนือของท่าเรือลองบีช

    เรือควีนแมรีจอดอยู่อย่างถาวรในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม พิพิธภัณฑ์ และสถานที่จัดงานในลองบีช[35]

    การดัดแปลง[แก้]

    เรือควีนแมรีมองจากท้ายเรือ

    เรือควีนแมรีซึ่งถูกลองบีชซื้อในปี 2510 ถูกดัดแปลงจากเรือเดินสมุทรเป็นโรงแรมลอยน้ำ[36] แผนดังกล่าวในการเคลียร์พื้นที่เกือบทุกส่วนของเรือใต้ชั้น "C" (เรียกว่าชั้น "R" หลังจากปี 2493 เพื่อลดความสับสนของผู้โดยสาร เนื่องจากร้านอาหารตั้งอยู่บนชั้น "R")

    และจำเป็นต้องถอดห้องหม้อไอน้ำออกทั้งหมด ห้องเครื่องด้านหน้า ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งสองห้อง เครื่องกันโคลงของเรือ และโรงงานปรับสภาพน้ำให้อ่อนตัว ถังเชื้อเพลิงเปล่าของเรือถูกเติมด้วยโคลนเพื่อรักษาจุดศูนย์ถ่วงของเรือให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง มีเพียงห้องเครื่องท้ายที่เรือเท่านั้นที่จะได้รับการเก็บรักษา พื้นที่ที่เหลือจะถูกใช้สำหรับเก็บของหรือพื้นที่สำนักงาน

    ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการดัดแปลงคือ"ข้อพิพาทระหว่างสหภาพที่ดินและสหภาพแรงงานทางทะเลเกี่ยวกับงานดัดแปลง" หน่วยยามฝั่งสหรัฐมีคำสั่งสุดท้าย ให้เรือควีนแมรีถูกมองว่าเป็นอาคาร เนื่องจากใบจักรและเครื่องยนต์ของเรือถูกถอดออก ท้องเรือได้รับการทาสีใหม่ด้วยสีแดงในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ในระหว่างการดัดแปลง ปลองควันถูกนำออกเนื่องจากบริเวณนี้จำเป็นสำหรับการยกวัสดุออกจากห้องเครื่องยนต์และห้องหม้อไอน้ำ

    ทางเดินในห้องพักชั้นแรก ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมบนเรือ

    แผนการที่สอง คือการดัดแปลงห้องโดยสารชั้นแรกและชั้นสองส่วนใหญ่ของเรือบนชั้น A และ B ให้เป็นห้องพักโรงแรม และเปลี่ยนห้องรับรองหลักและห้องรับประทานอาหารให้เป็นพื้นที่จัดเลี้ยง

    บนชั้นเดินเล่นฝั่งกราบขวามีร้านอาหารและคาเฟ่หรูชื่อ Lord Nelson's และ Lady Hamilton's มีธีมตามยุคของเรือใบต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

    Observation Bar อันเลื่องชื่อและสง่างามได้รับการตกแต่งใหม่ให้เป็นบาร์สไตล์ตะวันตก

    สะพานเดินเรือของเรือควีนแมรี

    ห้องสาธารณะชั้นแรกถูกดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลง เช่น ห้องรับแขก ห้องสมุด ห้องบรรยาย และสตูดิโอดนตรี จะถูกถอดอุปกรณ์ส่วนใหญ่ออกและเปลี่ยนเป็นการใช้งานเชิงพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้าอีกสองแห่งถูกสร้างขึ้นบนดาดฟ้าเรือ ในพื้นที่แยกต่างหากซึ่งก่อนหน้านี้ใช้สำหรับห้องโดยสารชั้นหนึ่งและห้องพักของวิศวกร

    คุณลักษณะเด่นในยุคหลังสงครามของเรือ ซึ่งคือโรงภาพยนตร์ของผู้โดยสารชั้นแรก ถูกนำออกและดัดแปลงเป็นพื้นที่ครัวสำหรับสถานที่รับประทานอาหารบนดาดฟ้าแห่งใหม่ เลานจ์ชั้นหนึ่งและห้องสูบบุหรี่ได้รับการกำหนดค่าใหม่และดัดแปลงเป็นพื้นที่จัดเลี้ยง

    ห้องสูบบุหรี่ชั้นสองถูกแบ่งออกเป็นโบสถ์แต่งงานและพื้นที่สำนักงาน

    บนลานอาบแดด Verandah Grill อันหรูหราจะถูกนำออกและเปลี่ยนเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ในขณะที่มีการสร้างสถานที่รับประทานอาหารหรูแห่งใหม่เหนือบริเวณชั้นกีฬา ซึ่งเคยใช้เป็นที่พักของลูกเรือ

    พระอาทิตย์ตกด้านหลังเรือควีนแมรี ในลองบีช

    เลานจ์ของผู้โดยสารชั้นสองถูกขยายออกไปด้านข้างของเรือและใช้สำหรับงานเลี้ยง บนชั้น R ห้องอาหารชั้นแรกได้รับการปรับแต่งใหม่และแบ่งย่อยเป็นสถานที่จัดเลี้ยงสองแห่ง ได้แก่ Royal Salon และ Windsor Room ห้องรับประทานอาหารสารชั้นสองถูกแบ่งย่อยออกเป็นห้องเก็บของในครัวและห้องโถงสำหรับลูกเรือ ในขณะที่ห้องรับประทานอาหารชั้นสามเดิมถูกใช้เป็นห้องเก็บของและพื้นที่สำหรับลูกเรือ

    นอกจากนี้บนชั้น R โรงอาบน้ำตุรกีผู้โดยสารชั้นแรกซึ่งเทียบเท่ากับสปาในคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็ถูกนำออก สระว่ายน้ำชั้นสองถูกรื้อออกและใช้สำหรับพื้นที่สำนักงาน ในขณะที่สระว่ายน้ำชั้นแรกเปิดให้แขกของโรงแรมและผู้มาเยี่ยมชมได้เข้าชม เนื่องจากมาตรฐานความปลอดภัยสมัยใหม่และโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงของพื้นที่ด้านล่าง สระว่ายน้ำจึงไม่สามารถใช้ว่ายน้ำได้หลังการดัดแปลง แม้ว่าจะมีน้ำเต็มจนถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ในทุกวันนี้จะสามารถเยี่ยมชมสระว่ายน้ำได้เฉพาะกับไกด์นำเที่ยวเท่านั้น

    เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

    ทางเดินขึ้นเรือถาวร

    ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 เรือควีนแมรีได้เปิดรับนักท่องเที่ยว ในขณะนั้น มีเพียงบางส่วนของเรือเท่านั้นที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เนื่องจากร้านอาหารเฉพาะทางยังไม่ได้เปิดสถานที่รับประทานอาหาร และยังดัดแปลงแปลงห้องรับรองชั้นแรกเดิมของเรือให้เป็นโรงแรมไม่เสร็จ เป็นผลให้เรือเปิดเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์

    เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2514 พิพิธภัณฑ์ทางทะเลของ ฌาคส์ คูสโต (Jacques Cousteau) ได้เปิดทำการ โดยเป็นหนึ่งในสี่ของนิทรรศการที่วางแผนไว้ ต่อมาพิพิธภัณฑ์ของคูสโต ได้ปิดตัวลงเนื่องจากการอัตราการขายตั๋วต่ำแ ละการตายของปลาจำนวนมากที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์

    เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โรงแรม PSA Hotel Queen Mary ได้เปิดให้บริการห้องพักจำนวน 150 ห้อง ในอีก 2 ปีต่อมาเมื่อสร้างห้องพักเสร็จทั้งหมด 400 ห้อง PSA ได้นำโรงแรมไฮแอทเข้ามาบริหาร ซึ่งดำเนินกิจการการตั้งแต่ปี 2517 ถึง 2523 ในชื่อ"โรงแรมควีนแมรีไฮแอท"[37]

    ในปี 1980 ระบบที่มีอยู่บนเรือเริ่มไม่สามารถใช้การได้[38] เรือลำนี้สูญเสียเงินหลายล้านดอลลาร์ในแต่ละปีให้กับเมืองนี้ เนื่องจากโรงแรม ร้านอาหาร และพิพิธภัณฑ์ดำเนินการโดยผู้รับสัมปทาน 3 ราย ขณะที่เมืองนี้เป็นเจ้าของเรือและดำเนินการนำเที่ยว มีการตัดสินใจแล้วว่าต้องการผู้ดำเนินการรายเดียวที่มีประสบการณ์มากกว่า[39]

    แจ็ค ไรท์เตอร์ (Jack Wrather) เศรษฐีในท้องถิ่นได้ตกหลุมรักเรือลำนี้เพราะเขาและภรรยามีความทรงจำดีๆ ในการล่องเรือลำนี้หลายครั้ง ไรท์เตอร์ลงนามในสัญญาเช่า 66 ปี กับเมืองลองบีชเพื่อดำเนินกิจการทั้งหมด[39]

    Wrather Port Properties ดำเนินกิจการสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมดหลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี 2527 จนถึงปี 2531 เมื่อบริษัท Walt Disney ซื้อกิจการของไรท์เตอร์ และได้สร้าง Disneyland Hotel ในปี 2538

    ห้องพักชั้นแรกบนเรือควีนแมรี ซึ่งดัดแปลงเป็นห้องพักโรงแรมในปัจจุบัน พร้อมผ้าม่าน เครื่องนอน เครื่องตกแต่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ​​ล้อมรอบด้วยผนังไม้ดั้งเดิมและช่องหน้าต่าง

    การปิดและเปิดใหม่ในปี 2535[แก้]

    เมื่อดิสนีย์ได้ย้ายกิจการไปแล้ว โรงแรมควีนแมรีก็ปิดตัวลงในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535 เรือควีนแมรี่ยังคงเปิดทำการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535

    ในช่วงเวลานี้ เรือลำนี้ได้รับการเสนอชื่อและจดทะเบียนในบันทึกประวัติศาสตร์แห่งชาติในปี 2536[40][41]

    ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 RMS Foundation, Inc ได้ลงนามในสัญญาเช่า 5 ปีกับเมืองลองบีชเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ

    ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 เรือได้เปิดให้บริการอีกครั้งโดยสมบูรณ์ ในขณะที่โรงแรมบางส่วนเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคม โดยมีห้องพัก 125 ห้องและห้องจัดเลี้ยง โดยห้องที่เหลือจะเปิดให้บริการในวันที่ 30 เมษายน

    ในปี พ.ศ. 2538 สัญญาเช่าของ RMS Foundation ได้ขยายเป็น 20 ปี ในขณะที่ขอบเขตของการเช่าลดลงเหลือแค่การดำเนินงานของเรือเท่านั้น บริษัทใหม่ Queen's Seaport Development, Inc. (QSDI) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2538 เพื่อควบคุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ติดกับเรือ[42]

    ในปี 2541 เมืองลองบีชได้ขยายสัญญาเช่าของ QSDI เป็น 66 ปี[43]

    ในปี พ.ศ. 2547 Stargazer Productions ได้เพิ่ม Tibbies Great American Cabaret เข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นธนาคารของเรือและห้องวิทยุไร้สาย Stargazer Productions และเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นโรงละครสำหรับรับประทานอาหารค่ำที่ พร้อมเวที แสง สี เสียง และสเกลเลอรี[44]

    ลานอาบแดดฝั่งกราบขวา พ.ศ. 2515

    ในปี 2548 QSDI ได้ขอการคุ้มครองบทที่ 11 เนื่องจากข้อพิพาทด้านเครดิตค่าเช่ากับเมือง

    ในปี 2549 ศาลล้มละลายได้ร้องขอให้มีการประมูลจากฝ่ายต่างๆ ราคาเปิดประมูลขั้นต่ำที่ต้องการคือ 41 ล้านดอลลาร์ การดำเนินงานของเรือโดย RMS Foundation ยังคงเป็นอิสระจากการล้มละลาย

    ในฤดูร้อนปี 2550 สัญญาเช่าของควีนแมรีถูกขายให้กับกลุ่มชื่อ "Save the Queen" ซึ่งบริหารงานโดย Hostmark Hospitality Group

    พวกเขาวางแผนที่จะพัฒนาที่ดินที่อยู่ติดกับเรือ ปรับปรุงและฟื้นฟูเรือ ในระหว่างการดำเนินงาน ห้องรับรองได้รับการปรับปรุงด้วยแท่นวางไอพอดและทีวีจอแบน ปล่องควันทั้งสามของเรือและท้องเรือได้รับการทาสีใหม่ด้วยสีแดงคูนาร์ดดั้งเดิม แผ่นกระดานของชั้นเดินเล่นฝั่งกราบซ้ายได้รับการบูรณะและตกแต่งใหม่ เรือชูชีพหลายลำได้รับการซ่อมแซม และห้องครัวของเรือได้รับการปรับปรุงใหม่

    ปลายเดือนกันยายน 2552 บริษัท Delaware North ได้เข้าควบคุมกิจการต่อ ซึ่งวางแผนที่จะดำเนินการบูรณะและปรับปรุงเรือต่อไป พวกเขามุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูและปรับปรุงเรือให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว[45]

    แต่ในเดือนเมษายน 2554 เมืองลองบีชได้รับแจ้งว่า Delaware North ไม่ได้บริหารควีนแมรีอีกต่อไป Garrison Investment Group กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพียงเรื่องธุรกิจเท่านั้น[46]

    การพบกันของเรือควีนแมรีทั้งสองลำ[แก้]

    เรือควีนแมรีและเรือควีนแมรี 2 ได้พบกันที่ Long Beach, California ภายใต้คำว่า "HAIL TO THE QUEENS" ที่เกิดจากการเขียนด้วยท้องฟ้า

    เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 ได้มาเยี่ยมบรรพบุรุษของเธอในขณะที่จะเข้าเทียบท่าในท่าเรือลอสแองเจลิสในการเดินทางไปยังเม็กซิโก

    ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 เรือควีนแมรีได้รับการทักทายจากเอ็มเอส ควีนวิกตอเรีย (MS Queen Victoria) ด้วยการจุดดอกไม้ไฟ

    และในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (MS Queen Elizabeth) ก็ได้ทักทายด้วยการจุดดอกไม้ไฟ[47]

    หลังจากการทักทาย เรือควีนแมรีได้ตอบกลับด้วยแตรลมที่ใช้งานได้หนึ่งอันเพื่อตอบกลับ

    ห้องวิทยุ W6RO[แก้]

    ห้องวิทยุไร้สายของเรือควีนแมรี

    ห้องวิทยุไร้สายเดิมได้ถูกนำออกเมื่อเรือจอดอยู่ที่ลองบีช ต่อมาห้องวิทยุสมัครเล่นได้ถูกสร้างขึ้นบนหนึ่งชั้นเหนือห้องวิทยุเดิม โดยมีอุปกรณ์วิทยุของห้องเดิมที่ถูกทิ้งบางส่วน ซึ่งใช้เพื่อจุดประสงค์ในการจัดแสดง ห้องวิทยุไร้สายใหม่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522[48] สถานีวิทยุสมัครเล่นบนเรือลำนี้มีสัญญาณเรียกขานว่า W6RO ("Whiskey Six Romeo Oscar") โดยอาศัยอาสาสมัครจากชมรมวิทยุสมัครเล่นในท้องถิ่น พวกเขาจัดเจ้าหน้าที่ประจำห้องวิทยุในช่วงเวลาสาธารณะส่วนใหญ่ วิทยุนี้ยังสามารถใช้งานโดยนักวิทยุสมัครเล่นที่มีใบอนุญาตรายอื่นได้อีกด้วย[49][50][51][52]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Watton, p.10.
    2. "NPS Focus". National Register of Historic Places. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2008. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
    3. National Register of Historic Places Registration Form, National Archives, 17 November 1992, สืบค้นเมื่อ 1 October 2023
    4. "1938 newsreel of shipyard construction". British Pathé.
    5. "Remarkable things you didn't know about the Queen Mary ocean liner". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
    6. "Four-Leaf Clover Propeller to Drive Giant Liner 534". Popular Mechanics. Hearst Magazines. October 1934. p. 528. ISSN 0032-4558. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    7. 7.0 7.1 O'Connor, Sheila (2006). "Royal Lady – The Queen Mary Reigns in Long Beach". Go World Travel Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2008. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
    8. Chris Frame (2019). "Queen Mary - The Ship That Saved Cunard (and the UK) during the Great Depression". Chris Frame (Maritime Historian). สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
    9. "D. Alan Stevenson from the Gazetteer for Scotland".
    10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Maxtone-Graham, John (1972). The Only Way to Cross. New York: Collier Books. pp. 288–289.
    11. Othfors, Daniel. "Queen Mary – TGOL". Thegreatoceanliners.com. สืบค้นเมื่อ 10 June 2022.
    12. Watton, pp.12-13.
    13. Layton, J. Kent. "R.M.S. Queen Mary". Atlantic Liners. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    14. "SS Normandie". Ocean-liners.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    15. Fritz Weaver, Fritz Weaver (narrator) (1996). Floating Palaces (TV Documentary). A&E.
    16. Evans, Nicholas J. (2010). "A Strike for Racial Justice? Transatlantic Shipping and the Jewish Diaspora, 1882–1939". ใน Jorden, James; Kushern, Tony; Pearce, Sarah (บ.ก.). Jewish Journeys: From Philo to Hip Hop. London: Vallentine Mitchell. pp. 25–47. ISBN 978-0-85303-962-4.
    17. Weiser, Kathy (June 2018). "Ghosts of the Queen Mary in Long Beach, California". Legends of America. LegendsofAmerica.com. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
    18. "BBC - WW2 People's War - VJ Day - All at Sea".
    19. Balkoski, Joseph (1989). Beyond the Beachhead. Stackpole Books. pp. 37–38. ISBN 978-0-8117-0221-8.
    20. Brighton CSV Media Clubhouse (11 June 2004). "HMS Curaçao Tragedy". WW2 People's War. BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2012. สืบค้นเมื่อ 10 August 2009.
    21. Wilson, Edgar Edward. "Wilson, Edgar Edward (IWM Interview)". Imperial War Museums. Imperial War Museum. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
    22. "Queen Mary - Specific Crossing Information - 1942". ww2troopships.com. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
    23. Levi, Ran (3 March 2008). "The Wave That Changed Science". The Future of Things. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
    24. No Greater Sacrifice, No Greater Love, William Ford Carter, Smithsonian Books, Washington, 2004, page 55
    25. "How Two Ships Helped End WW2". chrisframe.com.au. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
    26. "'Queen Mary: Timeline". QueenMary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
    27. Lavery, Brian (2007). Churchill Goes to War: Winston's Wartime Journeys. Naval Institute Press. p. 213.
    28. Maddocks, p.155.
    29. "RMS Queen Mary". Ocean-liners.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    30. "The Queen Mary Back In Port". The Times. No. 51269. 3 January 1949. p. 4.
    31. Harvey, Clive (2008). R.M.S. Queen Elizabeth – The Ultimate Ship. Carmania Press. ISBN 978-0-9543666-8-1.
    32. 32.0 32.1 Tramp to Queen: The Autobiography of Captain John Treasure Jones. The History Press. 2008. ISBN 978-0752446257.
    33. "Out to Sea and into History". Life. Vol. 63 no. 14. Time Inc. 6 October 1967. pp. 26–31. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
    34. Book RMS Queen Mary Transatlantic masterpiece, author Janette McCutcheon, published 2000, publisher Temple Publishing Limited, ISBN 0 7524 1716 9, page 91
    35. "The Queen Mary™ - One-Of-A-Kind Long Beach Hotel Experience". queenmary.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
    36. "A history of the Queen Mary in Southern California". Press Telegram (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
    37. Malcolm, Andrew H (12 January 1975). "Queen Mary now Hyatt House". Sarasota Herald-Tribune. New York Times News Service. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
    38. Jensen, Holger (11 April 1976). "Queen Mary Ocean Liner Becomes an Albatross". Sarasota Herald-Tribune. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
    39. 39.0 39.1 "Queen Mary'S Timeline". Queenmary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
    40. "Queen Mary Pushed for Historical Recognition". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1992-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
    41. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NRHP
    42. Pinsky, Mark (10 March 1995). "Long Beach Dome Gets New Life in Film". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
    43. Ferrell, David (2001-10-11). "Giant Dome's Saga Takes Another Turn". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
    44. "History". Tibbies Cabaret. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2009.
    45. "Delaware North on Board at Queen Mary" (Press release). media.delawarenorth.com. 28 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    46. Ling, P. (23 February 2009). "Queen Mary Long Beach Lease Rights Auctioned for $25,000". travel-industry.uptake.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    47. "Queen Mary 2 to meet original Queen Mary in Long Beach harbor". USA Today. Associated Press. 1 March 2006. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    48. "W6RO aboard the Queen Mary". queenmary.com. The Queen Mary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-18. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
    49. "W6RO – Associated Radio Amateurs of Long Beach". Aralb.org. 5 March 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    50. "Human Touch Draws Ham Radio Buffs". Gazette Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2005.
    51. "The wireless installation". sterling.rmplc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
    52. O'Sullivan, Mike. "Radio Hams Keep 'Queen Mary' Wireless on the Air". voanews.com. Voice of America. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.