สงครามครูเสดครั้งที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามครูเสดครั้งที่ 4
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสด

การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลโดยนักรบครูเสดในปี ค.ศ. 1204
วันที่ค.ศ. 1202 - ค.ศ. 1204
สถานที่
ผล ก่อให้เกิดศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก
ก่อตั้งจักรวรรดิละติน
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ก่อตั้งอาณาจักรครูเสดบนคาบสมุทรบอลข่าน
คู่สงคราม

นักรบครูเสด:
 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 เวนิส
มอนต์เฟอร์รัต

 ไบแซนไทน์
ราชอาณาจักรฮังการี

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออตโตที่ 4
บอนิเฟซที่ 1
ธีโอบอลด์ที่ 3
หลุยส์ที่ 1
เอนริโค ดันโดโล
จักรวรรดิไบแซนไทน์ อเล็กซิออสที่ 5 ดูคาส
จักรวรรดิไบแซนไทน์ ไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส
จักรวรรดิไบแซนไทน์ อเล็กซิออสที่ 3 อันเจลอส
เอเมริค
กำลัง

ครูเสด: 10,000 คน
ชาวเวนิส: 10,000 คน

  • เรือ: 200 ลำ[1]

ไบแซนไทน์: 30,000 คน

  • เรือ: 20 ลำ[2]

สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (อังกฤษ: Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด[3][4] ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก

ภูมิหลัง[แก้]

หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) แล้วทางยุโรปก็หมดความสนใจในการเข้าร่วมในการต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดใหม่ เยรูซาเลมมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid dynasty) ผู้ปกครองซีเรียทั้งหมดและอียิปต์นอกจากเมืองสองสามเมืองริมฝั่งทะเลที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของนักรบครูเสดของราชอาณาจักรเยรูซาเลมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเคอร์ และในราชอาณาจักรบนเกาะไซปรัสที่ก็ก่อตั้งระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงได้รับตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1198 และการเข้าร่วมสงครามครูเสดครั้งใหม่กลายมาเป็นพระประสงค์หลักของพระองค์ แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์กี่พระองค์ที่แสดงความสนพระทัยเท่าใดนัก ฝ่ายเยอรมนีเองก็มีความขัดแย้งกับอำนาจของพระสันตะปาปา และอังกฤษและ ฝรั่งเศสก็ยังยุ่งอยู่กับการทำสงครามต่อกัน แต่เมื่อฟุลค์แห่งเนยยี (Fulk of Neuilly) เริ่มเทศน์ก็เริ่มมีผู้กระตือรือร้นรวบรวมกองทัพครูเสดกันในการจัดการแข่งขันการประลองยุทธ (tournament) กันที่เอครี (Écry) โดยธีโอบอลด์ที่ 3 เคานท์แห่งชองปาญ (Theobald III, Count of Champagne) ในปี ค.ศ. 1199 ธีโอบอลด์ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำแต่มาเสียชีวิตเสียก่อนในปี ค.ศ. 1200 โบนิฟาซที่ 1 มาควิสแห่งมอนต์เฟอร์รัต (Boniface I, Marquess of Montferrat) เคานท์จากอิตาลีจึงมารับหน้าที่แทน โบนิฟาซและผู้นำคนอื่น ๆ ส่งตัวแทนไปยังสาธารณรัฐเวนิส, สาธารณรัฐเจนัว และในนครรัฐต่าง ๆ เพื่อเจรจาต่อรองทำสัญญาในหาพาหนะในการเดินทางไปโจมตีอียิปต์ เจนัวไม่สนใจกับข้อเสนอ แต่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1201 ก็มีการเปิดการเจรจากับเวนิสผู้ตกลงขนย้ายทหารครูเสดจำนวน 33,500 คนซึ่งเป็นจำนวนที่ออกจะสูง ข้อตกลงนี้ทางเวนิสต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปีในการเตรียมตัวต่าง ๆ ที่รวมทั้งการสร้างเรือและฝึกกะลาสีผู้ควบคุมเรือ ซึ่งทำให้เมืองเวนิสต้องหยุดยั้งการทำมาหากินอื่น ๆ คาดกันว่ากองทัพครูเสดจะประกอบด้วยอัศวิน 4,500 (พร้อมกับม้า 4,500 ตัว), ผู้รับใช้ขุนนาง 9,000 คน และ ทหารราบอีก 20,000 คน

กองทัพครูเสดส่วนใหญ่ที่มาจากฝรั่งเศสเดินทางออกจากเวนิส ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1202 ทหารเหล่านี้มาจากบลัวส์, ชองปาญ, อาเมียงส์, แซงต์โปล, อีล-เดอ-ฟรองซ์ และ เบอร์กันดี นอกจากนั้นก็ยังมีกองทัพจากบริเวณอื่นในยุโรปที่มีจำนวนพอสมควรเช่นที่มาจากฟลานเดอร์ส, มอนต์เฟอร์รัต และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ สังฆราชคอนราดแห่งฮาลเบอร์ชตัท พร้อมทั้งทหารจากเวนิสเองที่นำโดยเอนริโค ดันโดโลดยุคแห่งเวนิส กองทัพมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งตรงไปยังศูนย์กลางของมุสลิมที่ไคโรและพร้อมที่จะเดินทางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1202 ข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 โดยมีข้อห้ามการโจมตีรัฐคริสเตียน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. J. Phillips, The Fourth Crusade and the Sack of Constantinople, 106
  2. J. Phillips, The Fourth Crusade and the Sack of Constantinople, 157
  3. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Crusades[1]
  4. The Crusades[2] เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "History of the Church", Innocent III & the Latin East, p.370, Philips Hughes, Sheed & Ward, 1948.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามครูเสดครั้งที่ 4