มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีตัง เป็นการรวมคำว่าวิกิพีเดียในภาษาญี่ปุ่นกับคำว่า ตัง[1] เป็นมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะของวิกิพีเดีย

มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ (ญี่ปุ่น: 萌え擬人化โรมาจิmoe gijinka) เป็นภาพมานุษยรูปนิยมในอนิเมะและมังงะที่ใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (เช่น สัตว์, พืช, สิ่งที่เหนือธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัม), วัตถุ, แนวคิด หรือปรากฏการณ์[2] ตัวละครเหล่านี้ มักมีคอสเพลย์ที่แสดงถึงวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ที่โด่งดัง

โดยทั่วไป มานุษยรูปนิยมนี้จะพบในวัฒนธรรมย่อยของ โอตากุ ซึ่งตัวละคร โมเอะ หลายคนเริ่มมาจาก โดจิน ยกเว้น เคโมโนมิมิ (ตัวละครเหมือนมนุษย์ที่มีคุณสมบัติของสัตว์) รูปแบบแรกของมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะคือกันดั้มเอ็มเอสเกิร์ลที่สร้างโดย มิกะ อากิตากะ ใน ค.ศ. 1982[3]

ด้านสังคมวิทยา[แก้]

นักวิชาการสื่อสารมวลชน ยูจิ โซเนะ โต้แย้งว่า เนื่องจากมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มักวาดเป็นหญิงสาวที่สวยงาม จึงเป็นตัวอย่างผลพลอยได้ของวัฒนธรรมย่อยแฮบิตัสของโอตากุให้กลายเป็นจินตนาการทางเพศ[4] นักจิตวิทยา ทามากิ ไซโต พิจารณาว่ามานุษยรูปนิยมแบบ โมเอะ เป็นตัวอย่างของศิลปะ มิตาเตะเอะ เนื่องจากการใช้ทั้งศิลปะชั้นสูงและต่ำพร้อมกัน ทำให้เกิดความหมายเพิ่มเติมที่สร้างความขบขันได้ในบางครั้ง[5]

ประเภท[แก้]

สาวหูแมว หนึ่งในประเภทของ เคโมโนมิมิ ที่มีหูของแมว

สัตว์[แก้]

เคโมโนมิมิ แปลตรงตัวคือ "หูสัตว์" เป็นแนวคิดของการวาดมนุษย์และตัวละครคล้ายมนุษย์มีหูของสัตว์ และอาจมีลักษณะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หาง แฟรนไชส์ที่มีมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะและ เคโมโนมิมิ ที่โด่งดังได้แก่ เคะโมะโนะเฟรนด์ส ที่เป็นสัตว์ในรูปมานุษยรูปนิยมของเด็กหญิงและหญิงสาว และ อูมะ มูซูเมะ ปริตตี เดอร์บี ที่เป็นม้าแข่งขันในรูปของเด็กหญิง

สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมและจินตนิมิต[แก้]

ตัวอย่างแรกของประเภทนี้อยู่ในซีรีส์วิดีโอเกม โทโฮโปรเจกต์ ที่เริ่มใน ค.ศ. 1997 ซึ่งมี โยไก และสิ่งมีชีวิตในเทปกรณัมที่เป็นเด็กหญิงและสาว ๆ น่ารักและสวยงามที่มีพลังเหนือธรรมชาติ[6] แล้วเป็นที่โด่งดังจากมังงะ ชีวิตป่วนรักของสาวมอนสเตอร์ และ วันวุ่นๆ ของคุณเซนทอร์ และกลายเป็นประเภทหนึ่งของตนเอง[7]

บาวเซต มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ และแปลงเพศของบาวเซอร์จากแฟรนไชส์ มาริโอ ที่ทำให้มันดูเหมือนเจ้าหญิงพีชผ่านพลัง "ซูเปอร์คราวน์" กลายเป็นหนึ่งในอินเทอร์เน็ตมีมที่โด่งดังที่สุดใน ค.ศ. 2018[8] ซึ่งทำให้มีการแปลงศัตรูตัวอื่นของ มาริโอ ให้มีความเป็นโมเอะ ตัวที่โดดเด่นที่สุดคือบูเซต (จากคิงบู)[9]

คอมพิวเตอร์[แก้]

ถึงแม้ว่า ดิจิทัล เลดี้ (ค.ศ. 2001) และ ทอยส์ ไอแมคเกิร์ล (ค.ศ. 1998) มาก่อน มีมของการเปลี่ยนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ให้เป็น โมเอะ ไม่ได้เริ่มขึ้น จนกระทั่งชีตาเกะ-จัง (ญี่ปุ่น: しいたけちゃんโรมาจิShiitake-chan) ปุ่ม หยุด ในมานุษยรูปนิยมของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ มาใน ค.ศ. 2001 บนทูแชนแนล โดยมีแนวคิดจากผู้โพสต์ว่า เขาเห็นปุ่ม หยุด เหมือนเห็ดหอม[10] เมื่อไมโครซอฟท์เผยแพร่วินโดวส์ 7 ในประเทศญี่ปุ่น ทางบริษัทได้ทำบุคลาธิษฐานโอเอสที่มีชื่อว่า "นานามิ มาโดเบะ" ด้วยตัวอย่างเสียงจากนานะ มิซูกิ และสร้างบุคลาธิษฐานเด็กหญิงสองคนชื่อว่า "ยู มาโดเบะ" และ "ไอ มาโดเบะ" เพื่อโปรโมตวินโดวส์ 8 ในประเทศญี่ปุ่น[11][12][13]

หลังจากการสร้างโอเอสตัง ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์อื่นจึงเริ่มมีตัวละครแบบมานุษยรูปนิยมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียมี "วิกิพีตัง" ในขณะที่โมซิลลามี "โมเอะซิลลา" พลเมืองเครือข่ายจีนได้สร้าง "กรีนแดมเกิร์ล" เพื่อล้อเลียนGreen Dam Youth Escort ซอฟต์แวร์ควบคุมเนื้อหาของจีน[14] ใน ค.ศ. 2010 นักวาดภาพประกอบชาวไต้หวันที่รู้จักกันในบนพิซิฟในชื่อ "shinia" วาดบุคลาธิษฐานของไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลต์ที่มีชื่อว่า ฮิการุ ไอซาวะ ซึ่งทางไมโครซอฟท์ไต้หวันสนับสนุนตัวละครนี้[15][16]ใน ค.ศ. 2013 ไมโครซอฟท์สิงคโปร์ได้แนะนำอิโนริ ไอซาวะ ให้เป็นมาสคอตของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์.

ซีรีส์มังงะและอนิเมะ World War Blue มีตัวละครที่เป็นบุคลาธิษฐานของเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมที่มีตัวละครตามประเภทนี้ ได้แก่ โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก, มาริโอ และ เตตริส เซกาฮาร์ดเกิร์ลส มีบุคลาธิษฐานของฮาร์ดแวร์วิดีโอเกมของเซกา[17]

กฎหมายและการเมือง[แก้]

ไอซิส-จัง เป็นมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ ของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[18]

องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นถูกบุคลาธิษฐานเป็นสาวโมเอะ เช่น มาตรา 9 ที่ห้ามญี่ปุ่นก่อสงคราม "ถูกวาดเป็นเด็กหญิงผู้รักสันติภาพ"[19]

ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มผู้ใช้บนทูแชนแนลได้สร้างฮิโนโมโตะ โอนิโกะเป็นบุคลาธิษฐานของคำเหยียดชาวญี่ปุ่นของชาวจีนว่า รีเปินกุยซือ (日本鬼子; Riben guizi) แปลตรงตัวคือ "ปีศาจญี่ปุ่น" และกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในประเทศญี่ปุ่น ในภาษาญี่ปุ่น การอ่านแบบคุงโยมิของอักษรคันจิเป็นชื่อเพศหญิง ดังนั้น ตัวละครจึงถูกวาดเป็นหญิงสาวที่ใส่กิโมโนคู่กับเขาปีศาจกับคาตานะ[20]

ใน ค.ศ. 2015 ผู้ใช้ในอินเทอร์เน็ตได้สร้าง "ไอซิส-จัง" บุคลาธิษฐานแบบโมเอะ ของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งทางอะนอนิมัสได้นำไปใช้ เพื่อทำให้โฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ของรัฐอิสลามเบาบางลง[18][21]

อื่น ๆ[แก้]

รถรางฮ่องกงที่มีตัวละครบุคลาธิษฐานแบบโมเอะ ของตราซอสถั่วเหลืองท้องถิ่น

มีบางสิ่งที่ใส่ความเป็น โมเอะ ได้ เช่น:

ประเทศ
เหมือนกับบุคลาธิษฐานของชาติ มีหลายประเทศที่มีการแสดงแบบโมเอะ เช่น ญี่ปุ่นคือนิฮง-จัง,[22] อัฟกานิสถานคืออัฟกานิสตัง[23]—ทั้งคู่มีเว็บคอมมิกในญี่ปุ่นเป็นของตนเอง นอกเหนือไปจากนี้คือประเทศจากพลังอักษะ เฮตาเลีย โดยฮิเดกัซ ฮิมารูยะ[24][25]
โรค
ในช่วงการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ค.ศ. 2014 ผู้ใช้จากเว็บไซต์โฟร์แชน วาดภาพแบบโมเอะของอีโบลาขึ้น[26] ในระหว่างการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ก็มีการสร้างโคโรนา-จังจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ขึ้น[27]
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีบุคลาธิษฐานของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์[28][29]

อ้างอิง[แก้]

  1. Maciamo (2004). "How to Use Japanese Suffixes". Jref.com.
  2. Galbraith, Patrick W. "Moe". Japanese Media and Popular Culture: An Open-Access Digital Initiative of the University of Tokyo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
  3. Ashcraft, Brian (March 30, 2010). "Gundam As Girls". Kotaku. สืบค้นเมื่อ May 5, 2019.
  4. Sone, Yuji (2014-08-07). "Canted Desire: Otaku Performance in Japanese Popular Culture". Cultural Studies Review (ภาษาอังกฤษ). 20 (2): 196–222. doi:10.5130/csr.v20i2.3700. ISSN 1837-8692.
  5. Tamaki, Saitō (2011). キャラクター精神分析 ─マンガ・文学・日本人 [Character psychoanalysis ─ manga · literature · Japanese] (ภาษาญี่ปุ่น). Tōkyō: Chikuma Shobō. p. 179. ISBN 9784480842954. OCLC 709665062.
  6. "An introduction to Touhou Project: Japan's biggest indie series". PC Gamer. April 21, 2015. สืบค้นเมื่อ September 24, 2020.
  7. "The List - 7 Manga for Monster Girl Lovers". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2018-02-22.
  8. EST, Steven Asarch On 12/20/18 at 1:45 PM (2018-12-20). "KnowYourMeme and Newsweek have compiled a list of the Top 10 Video Game Memes of 2018". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
  9. "After Bowsette, Fans Go Wild For Boosette". Kotaku (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
  10. ""I'm Worried that the Stop Button on IE Looks Like a Shiitake" on a 2ch archive" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-06.
  11. 週刊アスキー. "窓辺ファミリー全員集結!! DSP版限定ウィンドウズ8.1が10月4日予約開始【追記あり】". 週刊アスキー. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
  12. 株式会社インプレス (4 October 2013). "DSP版Windows 8.1の予約受付け開始、限定版は一部でもう完売 限定版は3種類". impress.co.jp. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
  13. "「Windows 8.1 発売記念パック 窓辺ファミリーバージョン」の予約が瞬殺! マウス付きも数少なめ - アキバ総研". akiba-souken.com. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
  14. "China clarifies web filter plans". BBC News. 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-20.
  15. "Microsoft - Silverlight 第二彈 進化再生" (ภาษาจีน). Microsoft. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
  16. "ねとらぼ:台湾MSの萌えるSilverlight「藍澤光」が日本上陸 pixivで公認イラストイベント" (ภาษาญี่ปุ่น). ITmedia. January 25, 2011. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
  17. "Sega Hard Girls CG TV Anime's High School Story, Staff, Date Unveiled". Anime News Network. June 10, 2014. สืบค้นเมื่อ August 29, 2014.
  18. 18.0 18.1 "Anonymous targets IS sympathisers on Twitter". BBC. July 21, 2015. สืบค้นเมื่อ July 21, 2015.
  19. "Constitution Girls Book Turns Law Into Moe Girls". Anime News Network. June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
  20. 萌系日本鬼子 反攻中國 (ภาษาจีน). The Liberty Times. November 2, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010. สืบค้นเมื่อ November 5, 2010.
  21. Johansson, Anna (2018-01-02). "ISIS-chan – the meanings of the Manga girl in image warfare against the Islamic State". Critical Studies on Terrorism (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 1–25. doi:10.1080/17539153.2017.1348889. ISSN 1753-9153. S2CID 149119529.
  22. "Nihon-chan a la carte" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  23. Cornevin, Vanessa; Forceville, Charles (2017-11-20). "From metaphor to allegory: The Japanese manga Afuganisu-tan" (PDF). Metaphor and the Social World (ภาษาอังกฤษ). 7 (2): 235–251. doi:10.1075/msw.7.2.04cor. ISSN 2210-4070.
  24. Hidekaz Himaruya. "Axis Powers Hetalia". www.geocities.jp/himaruya (ภาษาญี่ปุ่น). Geocities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
  25. "ejcjs - Moe and the Potential of Fantasy in Post-Millennial Japan". Japanesestudies.org.uk. 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  26. Dewey, Catilin (September 22, 2014). "4Chan's latest, terrible 'prank': Convincing West Africans that Ebola doctors actually worship the disease". Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  27. Cole, Samantha (March 18, 2020). "As Coronavirus Spreads, Artists Are Coping With Waifus and Fursona Art". Vice. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  28. 日本史愛好倶楽部 [Nihonshi Alkō Kurabu] (2009). Nihonshi nenpyō: Moete oboeru shakai 日本史年表: 萌えて覚える社会の常識 [Chronology of Japanese history: Learn society's common knowledge obsession] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: PHP研究所 [PHP Institute]. ISBN 978-4569772998.
  29. Occhi, Debra J. (2012). "Wobbly Aesthetics, Performance, and Message: Comparing Japanese Kyara with their Anthropomorphic Forebears". Asian Ethnology. 71 (1): 119. JSTOR 41551385. For instance, an almanac of Japanese history by the Japanese History Aficionado's Club that spans the second-century Yamataikoku to the Russo-Japanese war (1904) introduces time periods and notable events, with each topic represented by its own moe-style anthropomorphism

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]