ชื่อบุคคลญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยามาดะ ทาโร (山田太郎) ชื่อญี่ปุ่นของผู้ถือครอง (ชาย) คู่กับ จอห์น สมิธ (John Smith) ในภาษาอังกฤษ[1] ชื่อที่คู่กับ เจน สมิธ (Jane Smith) น่าจะเป็น ยามาดะ ฮานาโกะ (山田花子).

ชื่อบุคคลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本人の氏名โรมาจิNihonjin no Shimei) ในปัจจุบันมักมีชื่อตระกูล (นามสกุล) ตามมาด้วยชื่อแรก ชื่อบุคคลญี่ปุ่นมักเขียนด้วย อักษรคันจิ ซึ่งเป็นอักษรจีนแต่สะกดด้วยภาษาญี่ปุ่น ชื่อ คันจิ อาจออกเสียงได้หลายแบบ ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่มักตั้งชื่อลูกด้วยฮิรางานะหรือคาตากานะ

ชื่อตระกูลญี่ปุ่นมีหลายแบบ ตามรายงานแล้ว มีนามสกุลกว่า 100,000 แบบที่ใช้ในปัจจุบัน[2] โดยสกุลที่ใช้มากที่สุดสามอันคือ ซาโต (佐藤), ซูซูกิ (鈴木) และทากาฮาชิ (高橋)[3] และในไม่นานมานี้ ชื่อญี่ปุ่นมักไม่ค่อยพบกับการสูญพันธุ์ของนามสกุลอย่างที่เกิดขึ้นในจีน[4]

นามสกุลมีความหลากหลายในแต่ละภูมิภาคไม่เหมือนกัน เช่น ชื่อ จิเน็ง (知念), ฮิงะ (比嘉) และชิมาบูกูโระ (島袋) พบได้ทั่วไปในโอกินาวะแต่ไม่ค่อยพบในส่วนอื่นของญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เกิดจาความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของชาวยามาโตะกับโอกินาวะ ชื่อตระกูลญี่ปุ่นหลายคนมักมาจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น อิชิกาวะ (石川) แปลว่า "แม่น้ำหิน", ยามาโมโตะ (山本) แปลว่า "ฐานภูเขา" และอิโนเอะ (井上) แปลว่า "เหนือบ่อน้ำ"

ในขณะที่ชื่อตระกูลมักตามกฏของภาษา ชื่อแรกมักมีการออกเสียงและตัวอักษรที่แตกต่างกัน ในขณะที่ชื่อทั่วไปมักสะกดและออกเสียงง่าย พ่อแม่หลายคนใช้ชื่อที่มีตัวอักษรหรือการสะกดแบบแปลก ๆ และบางชื่อไม่สามารถสะกดในแบบทั่วไปได้ โดยเป็นกระแสมาตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1990[5][6] เช่น ชื่อผู้ชายที่นิยมใช้คือ 大翔 มักสะกดเป็น "ฮิโรโตะ" แต่ไม่กี่ปีมานี้ มีการสะกดเป็น "ฮารูโตะ", "ยามาโตะ", "ไทงะ", "โซระ", "ไทโตะ", "ไดโตะ" และ "มาซาโตะ"[5]

ชื่อผู้ชายมักลงท้ายด้วย -โร ( "บุตร" หรือ "กระจ่าง, สว่าง"; เช่น "อิจิโร") -ตะ ( "ยิ่งใหญ่, หนา"; เช่น "เค็นตะ") หรือ -โอะ (男 / 雄 / 夫 "ผู้ชาย"; เช่น "เทรูโอะ" หรือ "อากิโอะ")[7] หรือมีคำว่า อิจิ ( "[บุตร]คนแรก"; เช่น "เค็นอิจิ"), คาซุ (อาจเขียนเป็น "[บุตร]คนแรก" คู่กับอักษรตัวอื่นที่เป็นไปได้; เช่น "คาซูฮิโระ"), จิ ( "[บุตร]คนที่สอง" หรือ "ต่อไป"; เช่น "จิโร") หรือ ได ( "ยิ่งใหญ่, ขนาดใหญ่"; เช่น "ไดจิ")

ชื่อผู้หญิงมักลงท้ายด้วย -โกะ ( "ลูก"; เช่น. "เคโกะ") หรือ -มิ ( "ความงาม"; เช่น "ยูมิ") ชื่ออื่นที่มีคำลงท้ายเป็นผู้หญิง ได้แก่ -กะ ( "กลิ่น, น้ำหอม" หรือ "ดอกไม้"; เช่น "เรกะ") และ -นะ ( หรือ หมายถึง "สีเขียว" หรือ "ต้นแอปเปิล"; เช่น "ฮารูนะ")

ลำดับชื่อและนามสกุล[แก้]

การเขียนชื่อบุคคลญี่ปุ่นในภาษาอื่นมักจะมีปัญหาที่พบบ่อยกันคือ ลำดับของชื่อและนามสกุล

ลำดับของการวางตำแหน่งชื่อและนามสกุลแตกต่างกันของระบบของญี่ปุ่นที่นำ นามสกุลนำหน้าชื่อ ในขณะที่ในรูปแบบอื่นเกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้ชื่อนำหน้านามสกุล ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อนามสกุลเขียนในลักษณะตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น Akira TORIYAMA หรือ TORIYAMA Akira เพื่อบอกให้รู้ว่านามสกุลคือ Toriyama (โทริยามะ) บุคคลที่อาศัยและทำงานอยู่นอกประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ชื่อนำหน้านามสกุลเช่น โยโกะ โอโนะ ภรรยาของจอห์น เลนนอน หรือ โยชิทากะ อามาโนะศิลปินชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ในข่าวนอกประเทศญี่ปุ่นที่มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับ นักการเมือง นักธุรกิจ นักแสดง และนักกีฬา นิยมเขียนลำดับชื่อนำหน้านามสกุล เช่น จุนอิจิโร โคอิซูมิ หรือ ทาคูยะ คิมูระ

อย่างไรก็ตามการเขียนตามตัวอักษรคันจิ ไม่มีการสลับตำแหน่งของชื่อนามสกุล ยังคงไว้ให้นามสกุลนำหน้าชื่อเสมอ

หนังสือการ์ตูนของประเทศไทยนิยมใช้นามสกุลนำหน้าชื่อ แม้ว่าสำหรับคนไทยแล้วมาตรฐานในการเรียกชื่อญี่ปุ่นจะนำหน้าด้วยชื่อและต่อด้วยนามสกุลเหมือนยุโรป

คำลงท้ายชื่อ[แก้]

-ซัง[แก้]

-ซัง (-さん, -san) ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อบุคคลเปรียบเหมือนคำว่า "คุณ-" ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ปัจจัยคำว่า -ซัง สามารถใช้ร่วมกับคำนามอื่นชื่อ นิคุยะซัง หมายถึงเจ้าของร้านขายเนื้อ (นิคุยะ แปลว่า ร้านขายเนื้อ)

คำว่า -ซัง -ซะมะ และ -ชิ เป็นคำลงท้ายที่ใช้สำหรับการอ้างถึงบุคคลอื่นอย่างสุภาพและทางการ

-คุง[แก้]

-คุง (-君, -くん, -kun) ใช้ลงท้ายชื่อผู้ชาย (และผู้หญิงในบางโอกาส) สำหรับการใช้สำหรับคนใกล้ชิด ใช้สำหรับบุคคลที่อายุมากกว่าเรียกคนที่อายุน้อยกว่า หรือในบางครั้งใช้เรียกบุคคลที่มีอายุไล่เลี่ยกัน และนิยมใช้เป็นคำลงท้ายสำหรับชื่อเด็กผู้ชาย ในบางครั้งจะมีการใช้เรียก -คุง สำหรับสาวออฟฟิศ โดยหัวหน้างานที่เป็นผู้ชาย เช่น ปังคุง

อาจารย์มักจะเรียกลูกศิษย์ลงท้ายโดยคำว่า "-คุง" สำหรับเด็กผู้ชายเรียก , "-ซัง" หรือ "-จัง" สำหรับเด็กผู้หญิง

-จัง[แก้]

-จัง (-ちゃん, -chan) ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อคนใกล้ชิดเพศหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้หญิง และคนรัก หรือเพื่อนที่สนิทกันมาก ๆ ผู้หญิงบางคนนิยมเรียกชื่อตัวเองลงท้ายด้วย -จัง ในบางครั้งใช้เรียกชื่อสัตว์เลี้ยงตัวเองลงท้ายด้วยคำว่า "-จัง"

ในบางครั้งจะมีใช้สำหรับเรียกชื่อดารา หรือบุคคลที่ชื่นชอบ เช่น ชุวะจัง เนเน่จัง

เซ็มไป และ โคไฮ[แก้]

เซ็มไป (先輩, senpai) แปลว่า รุ่นพี่ ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อสำหรับบุคคลที่อาวุโสกว่าในกลุ่มของตัวเอง เช่น รุ่นน้องเรียกรุ่นพี่ที่โรงเรียน นักกีฬาใหม่เรียกนักกีฬาที่มาก่อน หรือในธุรกิจใช้เรียกตำแหน่งผู้อาวุโสกว่าว่า เซ็มไป

โคไฮ (後輩, kōhai) แปลว่า รุ่นน้อง ใช้เรียกในทางกลับกัน

เซ็นเซ[แก้]

เซ็นเซ (先生, せんせい, sensei) ใช้ลงท้ายเรียกชื่อบุคคลที่เป็นอาจารย์ หมอ หรือ ทนาย แสดงถึงการเคารพ

-ซามะ[แก้]

-ซามะ (-様, -さま, -sama) ใช้ลงท้ายชื่อบุคคล มีความหมายเหมือนกับคำว่า "ท่าน-" ในภาษาไทยโดยการใช้จะมีความหมายเป็นทางการมากกว่าคำว่า "-ซัง" ในทางธุรกิจ คำว่า "-ซามะ" นิยมใช้ในสำหรับเรียกลูกค้า

-ชิ[แก้]

-ชิ (-氏, -し, -shi) เป็นคำลงท้ายในการเขียนจดหมาย และใช้สำหรับบุคคลที่ไม่เคยเจอตัว คำว่า -ชิ มักจะพบในเอกสารทางกฎหมาย หรือเอกสารทางวิชาการ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 山田太郎から進化を続ける「名前例」 ['Example Names' Continue to Evolve beyond Yamada Tarō]. Excite Bit (ภาษาญี่ปุ่น). Excite News. 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 6 December 2012.
  2. The Expanded Dictionary of Japanese Family Names has 290,000 entries; some of these are distinguished by differences in pronunciation of the same characters, or by rare variant characters. 日本苗字大辞典、芳文館、1996, 7月発行
  3. "Japanese name translations". Japanese-name-translation.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2006-06-24.).
  4. Du, Ruofu; Yida, Yuan; Hwang, Juliana; Mountain, Joanna L.; Cavalli-Sforza, L. Luca (1992), Chinese Surnames and the Genetic Differences between North and South China (PDF), Journal of Chinese Linguistics Monograph Series, pp. 18–22 (History of Chinese surnames and sources of data for the present research), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-20 ()
  5. 5.0 5.1 "What to call baby?". The Japan Times Online. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
  6. 佐藤 稔 『読みにくい名前はなぜ増えたか』 Minoru Sato, "Yominikui Namae wa Naze Fuetaka" ("Why We See More Hard-to-read Names"), 2007
  7. "How do Japanese names work?". www.sljfaq.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.

สารานุกรม[แก้]

  • Power, John. "Japanese names." (Archive) The Indexer. June 2008. Volume 26, Issue 2, p. C4-2-C4-8 (7 pages). ISSN 0019-4131. Accession number 502948569. Available on EBSCOHost.
  • รายละเอียดบางส่วนจาก Kodansha Encyclopedia of Japan, article on "names"
  • Hoffman, Michael. "What's in a (Japanese) name?" Japan Times. Sunday October 11, 2009.
  • "Which names are to be found where?" Japan Times. Sunday October 11, 2009.
  • Koop, Albert J., Hogitaro Inada. Japanese Names and How to Read Them 2005 ISBN 0-7103-1102-8 Kegan Paul International Ltd.
  • Nichigai Associates, Inc. (日外アソシエーツ株式会社 Nichigai Asoshiētsu Kabushiki Kaisha) 1990. Nihon seimei yomifuri jiten (日本姓名よみふり辞典 "Dictionary of readings of Japanese names in Chinese characters"), vols. Sei-no bu (family names) and Mei-no bu (given names). Tokyo: Nichigai Associates.
  • O'Neill, P.G. Japanese Names 1972 ISBN 0-8348-0225-2 Weatherhill Inc.
  • Plutschow, Herbert. Japan's Name Culture 1995 ISBN 1-873410-42-5 Routledge/Curzon
  • Poser, William J. (1990) "Evidence for Foot Structure in Japanese," Language 66.1.78-105. (Describes hypochoristic formation and some other types of derived names.)
  • Throndardottir, Solveig. Name Construction in Medieval Japan 2004 [1] ISBN 0-939329-02-6 Potboiler Press
  • Society of Writers, Editors and Translators. Japan Style Sheet 1998 ISBN 1-880656-30-2 Stone Bridge Press

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]