มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4
George IV State Diadem

สมเด็จพระราชินีนาถทรงมงกุฎองค์นี้ปรากฏอยู่บนแสตมป์แห่งไอร์แลนด์เหนือ
รายละเอียด
สำหรับ สหราชอาณาจักร
ผลิตเมื่อค.ศ. 1820
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
วัตถุดิบหลักเงิน และทองคำ
วัสดุซับในไม่มี
อัญมณีสำคัญเพชร 1,333 เม็ด (รวม 325.75 กะรัต), ไข่มุก รวม 169 เม็ด


มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4 (อังกฤษ: George IV State Diadem) เป็นมงกุฎเพชรที่ไม่มีส่วนโค้งด้านบน เรียกว่า "เดียเด็ม" (Diadem) ซึ่งจัดเป็นประเภทหนึ่งของมงกุฎ สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในปีค.ศ. 1820 เพื่อใช้เป็นหนึ่งในมงกุฎสำคัญของพระองค์ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั้งในธนบัตร เหรียญกษาปน์ และแสตมป์ต่างๆ ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งนอกจากความสวยงามของมันแล้ว ยังมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลน์อีกด้วย ดังนั้นมงกุฎองค์นี้จะเป็นองค์ที่สมเด็จพระราชินีนาถฯ จะทรงค่อนข้างบ่อย และพบเห็นได้บ่อยที่สุดองค์หนึ่ง

การออกแบบ[แก้]

โครงทำจากเงินตกแต่งขอบด้วยทองคำ และตกแต่งด้วยเพชรเม็ดแวววาว โดยฐานมงกุฎจะมีความแคบกว่ามงกุฎทั่วไป ประดับเพชรและขนาบบนล่างด้วยไข่มุก ถัดขึ้นไปจากฐาน เป็นกางเขนแพตตี สลับกับเฟลอร์ เดอ ลีส (อีกแล้ว) จำนวนอย่างละ 4 ดอก ซึ่งบริเวณดอกหน้านั้นประดับด้วยเพชรสีเหลืองส่องสว่าง จะสังเกตว่าเฟลอร์เดอลีสของมงกุฎนี้มีลักษณะสำคัญคือ ประกอบด้วยดอกและใบไม้รวมทั้งหมดสามชนิด ซึ่งหมายความถึงสัญลักษณ์ประจำชาติของอังกฤษ (กุหลาบ) สกอตแลนด์ (ดอกธิสเทิล) และไอร์แลนด์ (ใบโคลเวอร์สามแฉก หรือแชมร็อค)

มงกุฎองค์นี้ ประกอบด้วยเพชรถึง 1,333 เม็ด (ทั้งหมด 325.75 กะรัต) รวมถึงเพชรสีเหลืองขนาดสี่กะรัตด้านหน้ากางเขนกลาง และไข่มุกทั้งหมด 169 เม็ด มงกุฎองค์นี้ถูกทรง (และปรับเปลี่ยนตามพระราชวินิจฉัยอยู่เนืองๆ) โดยสมเด็จพระราชินี (มเหสี) และสมเด็จพระราชินีนาถ (กษัตริย์) ในอดีตหลายพระองค์ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีอเดลเลดเป็นต้นมา

โดยลักษณะอันอรชรสวยงามของมงกุฎองค์นี้ขัดกับที่มานัก เนื่องจากถูกสร้างขึ้นสำหรับบุรษ คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1821 ซึ่งในครั้งนั้น พระองค์ทรงมงกุฎองค์นี้ทับลงบนหมวกปีกแบบสเปนทำจากกำมะหยี่ขนาดใหญ่ ในระหว่างพิธีที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปยังมหาวิหารเวสมินสเตอร์[1]

ประวัติ[แก้]

มงกุฎองค์นี้ทำขึ้นโดย ห้างรันเดลส์ แอนด์ บริดจ์ ในปีค.ศ. 1820 และเสร็จในปีเดียวกันนั้น ออกแบบโดยหัวหน้าผู้ออกแบบ ฟิลิปป์ ลีบาร์ท ซึ่งมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์ที่จะทรงไม่ใช้ มงกุฎอิมพิเรียลสเตต ในพระราชพิธี แต่จะเปลี่ยนเป็นอีกแบบหนึ่งที่มีสัญลักษณ์สำคัญของประเทศ นั่นคือ เฟลอร์เดอลิสแบบพิเศษ

มงกุฎองค์นี้ถูกทรงโดยสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา (ประทับนั่ง) พระบรมราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ (ประทับยืน)

ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการทำมงกุฎนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 8,216 ปอนด์ รวมถึงค่าเช่าเพชร 800 ปอนด์ ซึ่งในอดีตนิยมกระทำกันจนกระทั่งปีค.ศ. 1837 โดยจะคิดค่าเช่าจากมูลค่ารวมทั้งหมดของเพชรที่ใช้ และเมื่อในครั้งนั้นงานพระราชพิธีได้ถูกยืดออกไปหนึ่งปีเนื่องจากติดพันกับคดีความเกี่ยวกับสมเด็จพระราชินีแคโรไลน์ ทำให้ค่าเช่านั้นสูงขึ้นไปอีกมาก ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังจากเสร็จพิธีลง จะต้องส่งเพชรคืนให้กับห้างรันเดลส์ แต่ในครั้งนั้นไม่พบการขนส่งใดๆคืนให้กับห้าง จึงได้สันนิษฐานกันว่า ด้วยความสวยและสง่างามของมงกุฎองค์นี้ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4ได้ทรงต่อรองซื้อไว้ โดยจ่ายเป็นเงินส่วนหนึ่ง และจ่ายเป็นการแลกกับเพชรส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง เพื่อเก็บรักษามงกุฎองค์นี้ไว้ เพียงแต่ยังไม่พบหลักฐานการซื้อใดๆจากห้าง[2]

ในอดีต มงกุฎองค์นี้ทรงใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับจากมหาวิหารเวสมินส์เตอร์ และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระราชินีอีกหลายพระองค์

ในปัจจุบัน มงกุฎองค์นี้จะทรงโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปและกลับจากรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]