ดาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาบญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว

ดาบ เป็นอาวุธประเภทนึงที่มีแหลมคมและใบมีด(Edged and bladed weapons) ซึ่งมีไว้สำหรับการตัดหรือแทงด้วยมือ ใบมีดของมันนั้นยาวกว่ามีดหรือดาบสั้น (Dagger) ซึ่งถูกติดด้วยด้ามจับและสามารถตั้งตรงหรือโค้งงอได้ การแทงด้วยดาบมักจะมีใบมีดที่แนวตรงและที่ปลายแหลมจะคมกว่า การฟาดฟันด้วยดาบส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่โค้งงอและมีคมที่สามารถตัดขาดได้ง่ายในด้านเดียวหรือทั้งสองด้านของใบมีด ดาบจำนวนมากได้รับการออกแบบสำหรับทั้งการแทงและฟาดฟัน คำจัดกัดความที่แม่นยำของดาบนั้นแตกต่างกันไปตามยุคประวัติศาสตร์และพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

ตามประวัติศาสตร์ ดาบได้รับการพัฒนาในยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งพัฒนามาจากดาบสั้น ตัวอย่างแรกสุดที่มีอายุประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาคือยุคเหล็ก ดาบยังคงค่อนข้างสั้นและไม่มีครอสการ์ด สปาธา(Spatha) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในกองทัพโรมันตอนปลาย ได้กลายเป็นบรรพบุรุษขของดาบยุโรปในยุคกลาง การถูกนำมาใช้ครั้งแรกเป็นดาบแห่งยุคการย้ายถิ่นฐาน และเฉพาะในยุคสมัยกลางยุครุ่งโรจน์เท่านั้น ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นดาบอาวุธคลาสสิกพร้อมกับครอสการ์ด คำว่า sword ยังคงเป็นภาษาอังกฤษแบบเก่า คำว่า sweord

การใช้ดาบซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ วิชาดาบ (swordsmanship) หรือในบริบทสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า การฟันดาบ ในยุคต้นสมัยใหม่ การออกแบบดาบตะวันตกจะถูกแบ่งออกเป็นสองรูปแบบคือ ดาบแทงและดาบโค้ง ดาบแทง เช่น ดาบเรเปียร์ และในท้ายที่สุด ดาบขนาดเล็ก(smallsword)ได้ถูกออกแบบมาให้แทงเป้าหมายอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดบาดแผลที่ถูกแทงลึก การออกแบบที่ยาวและตรงแต่มีน้ำหนักเบาและมีความสมดุลทำให้ดูคล่องแคล่วและเป็นอันตรายอย่างมากในการดวล แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ในการฟาดฟันหรือการสับ การเสียบและการแทงต่อเป้าหมายจะสามารถยุติการต่อสู้ในไม่กี่วินาทีโดยใช้เพียงจุดของดาบ นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการต่อสู้ที่ใกล้เคียงกับการฟันดาบสมัยใหม่

ดาบโค้งและใบมีดที่คล้ายกัน เช่น มีดสั้นจะถูกสร้างขึ้นที่มีน้ำหนักมากกว่าและมักถูกนำมาใช้ในการสงครามมากกว่า การสร้างขึ้นเพื่อฟาดฟันและการสับศัตรูหลายคน ซึ่งมักจะอยู่บนหลังม้า ใบมีดโค้งงอที่ดูยาวของดาบและน้ำหนักที่สมดุลไปข้างหน้าเล็กน้อย ทำให้มันดูเป็นอันตรายถึงแก่ความตายสำหรับบุคคลที่อยู่ในสนามรบ ดาบส่วนใหญ่มีคมและใบมีดคมสองด้าน ทำให้สามารถแทงทะลุทหาร ภายหลังจากการบุกทะลวงของทหารม้า ดาบโค้งงอยังคงมีให้เห็นในสนามรบจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 กองทัพเรือสหรัฐได้เก็บมีดสั้นที่ทนทานไว้จำนวนนับหมื่นเล่มในคลังแสงของพวกเขาในสงครามโลกครั้งที่สอง และมีหลายเล่มได้ถูกแจกจ่ายให้กับนาวิกโยธินในแปซิฟิกเพื่อใช้เป็นมีดพร้าป่า

อาวุธที่ไม่ใช่ของยุโรปที่ถูกจัดประเภทเป็นดาบ ได้แก่ อาวุธที่คมด้านเดียว เช่น ดาบ Scimitar ในตะวันออกกลาง เตา (ดาบจีน)ของจีน และดาบคาตานะของญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้อง คำว่า jiàn 剑 ในภาษาจีนเป็นตัวอย่างหนึ่งของดาบสองคมที่ไม่ใช่ของยุโรป เช่นเดียวกับรูปแบบของยุโรปที่ได้มาจากดาบสองคมในยุคเหล็ก

ชนิดของดาบ[แก้]

ชนิดของดาบแบ่งได้หลายประเภท โดยแบ่งตาม

  1. ลักษณะการทำคมดาบ
    1. ดาบที่มีคมสองด้าน ส่วนใหญ่พบในแถบยุโรป ตัวอย่างเช่น เคลย์มอร์ หรือ ดาบใบกว้าง
    2. ดาบที่มีคมด้านเดียว เช่น คะตะนะหรือ Katana (ดาบญี่ปุ่น) เตา (ดาบจีน) หรือ ดาบไทย ทั่วไปของไทย โดยมากมักจะเป็นดาบที่มีลักษณะโค้ง แต่ดาบที่มีคมด้านเดียวที่มีลักษณะใบดาบแบบตรงก็มี
  2. ขนาดของดาบ
    1. ดาบขนาดใหญ่ที่ต้องใช้สองมือจับถือ
    2. ดาบขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่สามารถใช้มือเดียว ในการควบคุมดาบ
  3. ลักษณะการใช้งาน
    1. ดาบจริงที่ใช้ในการรบหรือต่อสู้
    2. ดาบรำ
    3. ดาบซ้อม หรือดาบฝึกหัด เช่น ดาบไม้ ดาบไม้ไผ่ ดาบหวาย
    4. ดาบสำหรับตั้งแสดง หรือดาบโชว์
    5. ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตผู้ต้องโทษประหารชีวิตโดยวิธีการตัดหัว (ใช้ในสมัยโบราณ สำหรับไทยใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงประมาณสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)

อ้างอิง[แก้]

  • Allchin, F.R. in South Asian Archaeology 1975: Papers from the Third International Conference of the Association of South Asian Archaeologists in Western Europe, Held in Paris (December 1979) edited by J.E.van Lohuizen-de Leeuw. Brill Academic Publishers, Incorporated. 106-118. ISBN 9004059962.
  • Prasad, Prakash Chandra (2003). Foreign Trade and Commerce in Ancient India. Abhinav Publications. ISBN 8170170532.
  • Edgerton; et al. (2002). Indian and Oriental Arms and Armour. Courier Dover Publications. ISBN 0486422291.
  • Withers, Harvey J S; World Swords 1400 - 1945, Studio Jupiter Military Publishing (2006). ISBN 095491011.
  • Kao Ch'ü-hsün (1959/60). "ป่าซางโฆษณาของคุณมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนTHE CHING LU SHRINES OF HAN SWORD WORSHIP IN HSIUNG NU RELIGION." Central Asiatic Journal 5, 1959–60, pp. 221–232.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]