ฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขา
ผู้เล่นทีมชาติเฮติแข่งขันกับทีมซาร์แย็ง (Zaryen), ปอร์โตแปรงซ์ (9 มกราคม 2011)
สมาพันธ์สูงสุดWorld Amputee Football Federation
ลักษณะเฉพาะ
ผู้เล่นในทีม7 คน
หมวดหมู่กีฬากลางแจ้ง, ประเภททีม
อุปกรณ์ลูกฟุตบอล
ฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2017 นัดชิงชนะเลิศ (9 ตุลาคม 2017) ระหว่างตุรกี (แดง/ดำ) กับอังกฤษ (น้ำเงิน)

ฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขา (อังกฤษ: amputee football) เป็นกีฬาฟุตบอลสำหรับผู้พิการโดยมีผู้เล่นฝ่ายละเจ็ดคน (ผู้เล่นในสนามหกคนและผู้รักษาประตูหนึ่งคน) โดยผู้เล่นในสนามเป็นผู้ถูกตัดขาส่วนล่างหนึ่งข้าง และผู้รักษาประตูเป็นผู้ถูกตัดแขนส่วนล่างหนึ่งข้าง ผู้เล่นในสนามจะใช้ไม้ค้ำยัน (สวมปลายแขน) และเล่นโดยไม่ใช้ขาเทียม

ประวัติ[แก้]

เกมนี้ถูกสร้างโดยดอน เบ็นเนตต์ (Don Bennett) ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1982 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเตะลูกบาสเก็ตบอลโดยไม่ได้ตั้งใจขณะที่เขาใช้ไม้ค้ำยัน[1] ต่อมากีฬานี้ได้พัฒนาเป็นเกมระดับนานาชาติโดยได้รับความช่วยเหลือจากบิล แบร์รี ผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลในปี 1985[1]

ใน ค.ศ. 2023 มาร์ชิน ออแลกซือ (Marcin Oleksy) ชาวโปแลนด์กลายเป็นนักฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาคนแรกที่ได้รับรางวัลปุชกาชของฟีฟ่า (FIFA Puskás Award) สำหรับ "ประตูที่สวยที่สุดแห่งปี" ในพิธีมอบรางวัลฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่า 2022[2]

ทั่วโลก[แก้]

มีสมาคมฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาหลายแห่งทั่วโลก ตัวอย่างเช่น สมาคมผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาแห่งอังกฤษและสมาคมฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาแห่งไอร์แลนด์[3] แต่ละองค์กรส่งเสริมความก้าวหน้าของกีฬาและเพิ่มการยอมรับของสังคม สมาคมฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาแห่งอังกฤษระบุอุดมการณ์หลักบนเว็บไซต์ของสมาคมว่า: "เป้าหมายของสมาคมฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาแห่งอังกฤษคือสนับสนุนผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาทุกคน รวมถึงผู้พิการขาขาดแต่กำเนิดและบุคคลที่สามารถใช้แขน-ขาได้จำกัด ได้มีโอกาสเล่นฟุตบอลในระดับท้องถิ่น, ระดับประเทศ จนถึงในระดับสากล"[4]

การแข่งขันหลัก[แก้]

ฟุตบอลโลกผู้พิการถูกตัดแขนหรือขา[แก้]

ดูบทความหลักที่: Amputee Football World Cup [en]

ค.ศ. เจ้าภาพ ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3
1998 แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ) ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ธงของประเทศบราซิล บราซิล
2000 ซีแอตเทิล (สหรัฐ) ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
2001 รีโอเดจาเนโร (บราซิล) ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย  อังกฤษ
2002 โซชี (รัสเซีย) ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน
2003 ทาชเคนต์ (อุซเบกิสถาน) ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศยูเครน ยูเครน ธงของประเทศบราซิล บราซิล
2005 รีโอเดจาเนโร (บราซิล) ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย  อังกฤษ
2007 อันทัลยา (ตุรกี) ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
2010 เกรสโป (อาร์เจนตินา) ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
2012 คาลีนินกราด (รัสเซีย) ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
2014 กูเลียกัน (เม็กซิโก) ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศแองโกลา แองโกลา ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
2018 ซานฮวนเดโลสลาโกส (เม็กซิโก) ธงของประเทศแองโกลา แองโกลา ธงของประเทศตุรกี ตุรกี ธงของประเทศบราซิล บราซิล
2022 อิสตันบูล (ตุรกี) ธงของประเทศตุรกี ตุรกี ธงของประเทศแองโกลา แองโกลา ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน

ฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขาชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป[แก้]

ดูบทความหลักที่: European Amputee Football Championship [en]

ค.ศ. เจ้าภาพ ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3
1999 เคียฟ (ยูเครน) ธงของประเทศบราซิล บราซิล ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน
2008 อิสตันบูล (ตุรกี) ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย ธงของประเทศตุรกี ตุรกี  อังกฤษ
2017 อิสตันบูล (ตุรกี) ธงของประเทศตุรกี ตุรกี  อังกฤษ ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
2021 กรากุฟ (โปแลนด์) ธงของประเทศตุรกี ตุรกี ธงของประเทศสเปน สเปน ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์

การแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติรายการอื่น[แก้]

ค.ศ. รายการแข่งขัน เจ้าภาพ วันที่ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3
2006 Volgograd Open Championships รัสเซีย วอลโกกราด 24–30 กันยายน  รัสเซีย  อังกฤษ  อุซเบกิสถาน
2007 1st All-Africa Amputee Soccer Tournament เซียร์ราลีโอน ฟรีทาวน์ กุมภาพันธ์  กานา  ไลบีเรีย  เซียร์ราลีโอน
2017 6th Amp Futbol Cup โปแลนด์ วอร์ซอ 24–25 มิถุนายน  อังกฤษ  โปแลนด์  ญี่ปุ่น

กติกา[แก้]

กติกาอย่างเป็นทางการของฟีฟ่าคือ:[5]

  • ผู้พิการหมายถึงบุคคลที่ 'ถูกตัด' ที่หรือใกล้กับบริเวณข้อเท้าหรือข้อมือ
  • ผู้เล่นในสนามอาจมีสองมือแต่มีขาเดียว ในขณะที่ผู้รักษาประตูอาจมีสองเท้าแต่มีมือเดียว
  • เกมนี้เล่นโดยใช้ไม้ค้ำโลหะและไม่ใส่ขาเทียม ข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือผู้พิการขาขาดทั้งสองข้างอาจเล่นโดยใส่ขาเทียมข้างหนึ่งได้
  • ผู้เล่นไม่สามารถใช้ไม้ค้ำเพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า ควบคุม หรือปิดกั้นลูกบอล การกระทำดังกล่าวจะถูกลงโทษในลักษณะเดียวกับการทำแฮนด์บอล อย่างไรก็ตาม การสัมผัสโดยไม่ตั้งใจระหว่างไม้ค้ำกับลูกบอลสามารถทำได้
  • ผู้เล่นต้องไม่ใช้แขนขาที่เหลืออยู่ของข้างที่พิการเพื่อเล่น ควบคุม หรือปิดกั้นลูกบอลโดยสมัครใจ การกระทำดังกล่าวจะถูกลงโทษในลักษณะเดียวกับการทำแฮนด์บอล อย่างไรก็ตาม สามารถสัมผัสโดยบังเอิญระหว่างส่วนปลายแขนขาข้างที่ขาดและลูกบอลได้
  • ต้องใส่สนับแข้ง
  • การใช้ไม้ค้ำกระทำกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะถูกไล่ออกจากเกมและให้เป็นลูกโทษสำหรับทีมตรงข้าม
  • ขนาดของสนามแข่งขันสูงสุดคือ 70 x 60 เมตร
  • ขนาดของประตูสูงสุดคือ สูง 2.2 เมตร x กว้าง 5 เมตร x ลึก 1 เมตร
  • ใช้ลูกฟุตบอลมาตรฐานฟีฟ่า
  • เกมประกอบด้วยสองครึ่งเวลา ครึ่งละ 25 นาที (แปรผันตามทัวร์นาเมนต์) โดยมีช่วงพักระหว่างกลาง 10 นาที
  • ทั้งสองทีมสามารถขอเวลานอกได้ 2 นาทีต่อเกม
  • กฎการล้ำหน้าใช้ไม่ได้กับฟุตบอลผู้พิการถูกตัดแขนหรือขา
  • กติกาสากลกำหนดให้ทีมประกอบด้วยผู้เล่นในสนามหกคนและผู้รักษาประตูหนึ่งคน อย่างไรก็ตามบางทัวร์นาเมนต์ต้องการทีมที่มีผู้เล่นในสนามสี่คน และผู้รักษาประตูหนึ่งคน เช่นกรณีในประเทศเซียร์ราลีโอน
  • ผู้รักษาประตูไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่ของตน หากกรณีนี้เกิดขึ้นโดยจงใจ ผู้รักษาประตูจะถูกไล่ออกจากเกมและทีมตรงข้ามได้เตะลูกโทษ
  • สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดจำนวน ณ เวลาใดก็ได้ระหว่างเกม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "History of the Game". World Amputee Football Federation.
  2. Summerscales, Robert (12 กุมภาพันธ์ 2023). "Polish Amputee Marcin Oleksy Wins 2022 FIFA Puskas Award". FanNation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2023.
  3. "Irish Amputee Football Association". IAFA. 7 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
  4. "England Amputee Football Association". Theeafa.co.uk. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
  5. "Amputee football – The Rules of the Game". FIFA.com. 4 กุมภาพันธ์ 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]